นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” มองโครงสร้างอุตสาหกรรมการเลี้ ยงสุกรเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต จะยั่งยืนได้ต้องมีการวิจั ยและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมตั้งแต่บริหารต้นทุนให้ ลดลง จากการสรรหาวัตถุดิบ การพัฒนาสายพันธุ์ให้ได้มาซึ่ งพันธุ์ที่แข็งแรง และการเลี้ยงสุกรที่ต้องมี มาตรฐานอาชีวอนามัยเพื่อป้องกั นโรคระบาด นอกเหนือไปจากการมีฟาร์ มและการจัดการการเลี้ยงที่เป็ นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมแหล่งน้ำในการผลิตที่เพี ยงพอ
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ โรคระบาดในอุตสาหกรรมการเลี้ ยงสุกรยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ทั้งโรคเพิร์ส (PRRS) และโดยเฉพาะโรคแอฟริกันสไวน์ฟี เวอร์ (ASF) ที่ทำให้การเลี้ยงสุ กรในประเทศจีนและเวียดนามเสี ยหาย ส่งผลให้เกิดภาวะสุกรขาดตลาดอย่ างมาก การพยายามกลับมาเลี้ยงใหม่ก็ อาจจะยังประสบความเสียหายได้ หากระบบการเลี้ยงไม่มีมาตรการป้ องกันด้านชีวอนามัยที่เคร่งครัด ซีพีเอฟจึงมุ่งมั่นในการวิจั ยและพัฒนามาตรฐานการเลี้ยงที่มี มาตรฐานชีวอนามัยที่สูง ประกอบกับการพัฒนาพันธุ์สุกรให้ แข็งแรง มีความต้านทานโรคสูงอย่างต่อเนื่ อง
นายประสิทธิ์ กล่าวว่า การที่โรค ASF ทำให้สุกรขาดตลาดในประเทศจีน เวียดนามและประเทศเพื่อนบ้ านของไทยส่งผลให้มีการนำเข้าสุ กรจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่ างมาก และความต้องการยังมีมาต่อเนื่อง ทำให้ราคาสุกรในไทยปรับตัวสูงขึ้ นในช่วงนี้ การจะเร่งเลี้ยงสุ กรในหลายประเทศให้มีผลผลิตเท่ าก่อนมีโรค ASF ในภูมิภาคนี้อาจใช้เวลาอี กประมาณ 2-3 ปี และสุกรอาจไม่ใช่สินค้าโภคภัณฑ์ พื้นฐานอีกต่อไป ความสามารถในการเลี้ยงให้ ปลอดโรคและมีต้นทุนที่มีประสิ ทธิภาพ จะเป็นปัจจัยหลักสำหรั บความสำเร็จของธุรกิจสุกร จึงมองว่าในภูมิภาคนี้ราคาสุ กรใน 1-2 ปีข้างหน้าจะยังคงอยู่ในระดับสู งจากภาวะสุกรขาดตลาด