ชุบชีวิตอาหาร: เปลี่ยนอาหารส่วนเกินเป็นมื้ออิ่มสู่ชุมชนนางเลิ้ง กับโครงการ LINE MAN Wongnai SOS Rescue Kitchen

“ทานข้าวให้หมดจาน” วลีที่เราทุกคนถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กแต่ถึงแม้ว่าเราจะทานอาหารเกลี้ยงจานแค่ไหนตลอดเส้นทางของกระบวนการผลิตอาหารจนถึงขั้นตอนการประกอบอาหารก็ยังมีอาหารส่วนเกินหรือที่เรียกว่า Surplus Food เหลือทิ้งอยู่ดียืนยันได้ด้วยตัวเลขการสูญเสียอาหารบนโลกที่สูงถึง 1,300 ล้านตันต่อปีหรือ 30% ของปริมาณอาหารที่ผลิตเพื่อบริโภคทั้งหมด*

วันนี้เราจึงพามาพูดคุยกับตัวแทนจาก 3 องค์กรที่มีเป้าหมายเดียวกันในการลดปริมาณการทิ้งอาหารได้แก่ LINE MAN Wongnai ผู้นำแพลตฟอร์มออนดีมานด์และข้อมูลร้านอาหารของไทย, มูลนิธิ Scholars of Sustenance (Thai SOS) และผู้นำชุมชนวัดแคนางเลิ้ง ถึงเส้นทางของอาหารส่วนเกินที่ถูกส่งจากร้านอาหารและกลุ่มอุตสาหกรรม มาสู่การเป็นมื้ออิ่มให้แก่ชาวบ้านชุมชนวัดแคนางเลิ้งจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่อาหารส่วนเกินเพื่อลดปริมาณขยะอาหาร

จุดเริ่มต้นจากการเห็นความสำคัญของปัญหาใกล้ตัว

“LINE MAN Wongnai เป็นแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับอาหารและปฏิเสธไม่ได้ว่ามีส่วนร่วมที่ทำให้เกิดขยะจากการเดลิเวอรีซึ่งเราตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและมีเป้าหมายในการช่วยเหลือทั้งสิ่งแวดล้อมและสังคม”

คุณยอดชินสุภัคกุลประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai กล่าว “ทุกวันนี้เราอาจจะเคยชินกับปัญหาขยะจากอาหารจนมองว่ามันคือเรื่องปกติแต่ยิ่งปัญหาเล็กน้อยถูกละเลยมากเท่าไหร่มันจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ทันเวลา”

“เราเริ่มตั้งแต่ที่บริษัทฯปลูกฝังให้พนักงานเห็นความสำคัญของการแยกขยะ

ด้วยการมีถังขยะประเภทต่างๆแค่เริ่มด้วยการแยกขยะอาหารก็ช่วยลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นได้แล้ว”

วิธีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของ LINE MAN Wongnai จึงเลือกที่จะดำเนินไปตามหลัก Sustainable Development Goals (SDGs) หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน “สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ตอนนี้คือการลดการเกิดขยะจากอาหาร (Zero Food Waste) ด้วยการจัดกิจกรรม LINE MAN Wongnai SOS Rescue Kitchen ให้พนักงานภายในบริษัทมาร่วมกันทำอาหารเปลี่ยนอาหารส่วนเกินและวัตถุดิบต่างๆที่ได้รับบริจาคมาจากโรงแรมร้านอาหารห้างสรรพสินค้าและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆเป็นเมนูอาหารที่อร่อยถูกปากพร้อมทั้งมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนส่งมอบให้ชุมชนที่มีความต้องการและในขณะเดียวกันยังได้ช่วยเหลือสังคมด้วยการเยียวยาผ่านอาหาร (Zero Hunger) เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวงจรการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน”

“เราต้องการที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน

ด้วยการเยียวยาผ่านอาหารซึ่งเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญตลอดมา”

Thai SOS มูลนิธิรักษ์อาหารจิ๊กซอว์ที่เชื่อมอาหารส่วนเกินจากร้านอาหารไปสู่ชุมชนที่ต้องการ

“ทุกวันนี้ขยะอาหารที่คนไทยทิ้งมีปริมาณสูงถึง 5 – 6,000 ตันต่อวันถ้าคำนวนแล้วขยะอาหารที่ถูกทิ้งทั้งหมดสร้างปริมาณก๊าซเรือนกระจกถึงร้อยละ 8 ซึ่งมากกว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการบินทั่วโลกถึง 4 เท่าและยิ่งไปกว่านั้นทุกวันนี้ยังมีคนจำนวนหลายล้านคนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีวิตดังนั้นเพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น Thai SOS จึงทำหน้าที่รับบริจาคอาหารมาส่งต่อให้ชุมชนที่ต้องการเพื่อไม่ให้อาหารเหลือใช้ต้องกลายเป็นขยะ” พี่แป็กศศิวรรณใจอาสาผู้ประสานงานชุมชนมูลนิธิ Scholars of Sustenanceเล่าให้ฟังว่า “Thai SOS เราทำหน้าที่เป็นเหมือนจิ๊กซอว์ที่เชื่อมระหว่างจิ๊กซอว์ 2 ตัวโดยเราจะเลือกชุมชนที่เข้าไปแจกอาหารจากข้อมูลตามเส้นแบ่งความยากจนแล้วผู้ประสานงานชุมชนของเราก็จะลงพื้นที่ไปพูดคุยกับหัวหน้าชุมชนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนขึ้นว่าคนในพื้นที่นั้นมีผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบางผู้ป่วยติดเตียงกี่คน” การลงพื้นที่เพื่อพูดคุยจึงทำให้ทีมได้ข้อมูลที่ทำให้แบ่งกลุ่มชุมชนได้แม่นยำขึ้น

“เรากับชุมชนเป็นเหมือนเพื่อนร่วมงานที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันตลอด”

“อย่างชุมชนวัดแคนางเลิ้งเองเป็นย่านเก่าแก่ที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในกรุงเทพฯซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ไม่สามารถรับจ้างหรือค้าขายได้เหมือนเดิม” แต่ไม่ใช่เพียงปัจจัยทางสังคมเท่านั้นชุมชนเองก็จำเป็นต้องมีทีมเข้ามาบริหารจัดการอาหารด้วยเช่นกัน “จากโปรเจคต์นี้ส่วนใหญ่ที่รับมาจะเป็นผักเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 200 กิโลกรัมรวมเนื้อสัตว์ด้วยก็อีกประมาณ 30 กิโลกรัมถือว่าได้อาหารสำหรับ 300 คนพอได้มาแล้วเราก็มีทีมจากชุมชนที่ช่วยจัดระบบการทำอาหารแจกอาหาร” ซึ่งผลจากโครงการสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับชุมชนประมาณ 384 บาทต่อเดือน/คน”

เหล่าเชฟมือฉมังจากชุมชนวัดแคนางเลิ้งกับวัตถุดิบลับจาก Surplus Food (อาหารส่วนเกิน) ที่คาดไม่ถึง

“วัตถุดิบที่จะใช้ทำอาหารแจกคนในชุมชนเราจะรู้ตอนมาถึงครัวแล้วบางทีเปิดมาทุกคนก็ไม่รู้จักนะว่ามันคืออะไร” พี่แดงคุณสุวันแววพลอยงามผู้นำชุมชนวัดแคนางเลิ้งเล่าให้ฟังอย่างน่าสนใจว่า “พี่เคยเจอลูกกลมๆเหมือนฝรั่งอะไรสักอย่าง (มารู้ทีหลังว่าคือผลซาโยเต้) ตอนนั้นสมาชิกในชุมชนที่ทำอาหารเก่งๆได้รับหน้าที่เป็นเชฟก็เอามาทำส้มตำปรากฎคนบอกว่าอร่อยแล้วก็มีโปรตีนเกษตรโลนึงประมาณ 600 บาทเป็นออร์แกนิกก็เลยเอามาทำเป็นลาบ” การคิดค้นสูตรอาหารจึงเป็นเหมือนอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทำให้ชุมชนและอาสาสมัครได้มาใช้เวลาร่วมกันสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น

“พี่ว่าเราจะทำเมนูอะไรก็ได้ทำในสิ่งที่เขาเห็นว่าเรามีศักยภาพ

เพราะจริงๆแล้วพี่ว่าชุมชนเราเจ๋งมากเลย”

ท่ามกลางการพัฒนาของพื้นที่ที่เกิดขึ้นโดยรอบวิถีชีวิตย่านนางเลิ้งยังคงอยู่ “เราอยู่ในพื้นที่ของความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นความเปราะบางทางจิตใจมากทุกคนต้องพยายามหาช่องทางสร้างรายได้ตลอดเวลาแต่หลังจากโควิดมาทุกคนได้รับปัญหาหมดร้านทำผมเคยซอยผมวันนึงหลายตังค์วันนี้กลับไม่มีคนทำผมเลยทุกสิ่งทุกอย่างสูญหมด” ช่วงที่โควิดระบาดรอบแรกตอนนั้นชุมชนที่อยู่ใกล้กันมีติดโควิด 1 คนและส่งผลให้ชุมชนใกล้เคียงต้องกักตัว “ตอนนั้นทุกคนอดหมดเลยเราเลยต้องมานั่งคิดว่าจะทำยังไงต่อพอดีกับว่า Thai SOS เข้ามาซึ่งเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับชุมชนเรา” การสร้างความเข้าใจจึงเป็นเหมือนการบ้านชิ้นใหม่ที่พี่แดงต้องแสดงให้คนในชุมชนเห็น “แรกๆก็มีปัญหาตรงที่คนคิดว่าThai SOSเอาอาหารใกล้เสียแล้วมาให้กินหรือเปล่าเขาก็ไม่อยากกินเราก็ต้องอธิบายให้เข้าใจว่าอันนี้คืออาหารส่วนเกินที่ยังสภาพดีอยู่ปลอดภัยต่อการกินแล้วก็ทำอาหารให้เขาดูเลยสุดท้ายเราเปลี่ยนมุมมองคนในชุมชนได้”

“สุดท้ายพี่คิดว่าทีมงาน Thai SOS และอาสาสมัครจาก LINE MAN Wongnai ทำให้กลไกชุมชนเราเปลี่ยนไปพวกพี่ทำไปเรื่อยๆมีอาสาสมัครเข้ามาเยอะขึ้นมาเรียนรู้จากพวกพี่และพวกพี่ก็ได้พัฒนาด้วย

SOS ก็เลยกลายเป็นครัวของชุมชนโดยอัตโนมัติ”

ลูกมือคนเก่งจาก LINE MAN Wongnai กับความประทับใจที่ได้เห็นรอยยิ้มของคนในชุมชน

“เราคาดหวังว่านี่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้หลายคนตระหนักถึงปัญหาของอาหารส่วนเกินที่เกิดขึ้น” ปอปลาพนักงานจาก LINE MAN Wongnai หนึ่งในอาสาสมัครที่มาร่วมทำครัวเล่าให้ฟังว่า “การที่ LINE MAN Wongnai ได้เป็นส่วนหนึ่งในการนำอาหารมามอบให้กับชุมชนก็ทำให้พี่ป้าน้าอาในชุมชนอุ่นใจได้ว่าเขาจะมีมื้ออาหารดีๆกลับไปทานกับครอบครัวถึงแม้จะเป็นแค่หนึ่งครั้งต่อสัปดาห์แต่ก็อยากให้เป็นหนึ่งวันที่เขาได้มีเวลาไปพักผ่อนและอยู่กับครอบครัว”

“โครงการนี้เป็นคอนเซปต์ที่ค่อนข้าง sustainable อาหารที่ไม่ได้ถูกใช้จะถูกนำมาแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน
ผู้สูงอายุผู้ป่วยคนไร้บ้านทำให้วงจรการผลิตและบริโภคอาหารครบวงจรไม่มีขยะอาหารที่เหลือสูญเปล่าและได้ส่งต่อให้คนที่เขาต้องการให้อิ่มท้อง”

“ปอปลาและเพื่อนๆที่เป็นอาสาสมัครมาทำอาหารกับคุณป้าโดยมีป้าที่เป็นเหมือนเฮดเชฟคอยกำกับพวกเราก็หยิบจับตามถนัดเลย” นอกเหนือจากการได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากอาหารที่เหลือทิ้ง ว่ายิ่งใหญ่ขนาดไหนแล้ว รอยยิ้มและความสุขที่ได้ทำมื้ออิ่มให้แก่ชุมชนถือว่าเป็นของแถมที่น่ายินดี

สุดท้ายนี้ LINE MAN Wongnai หวังว่าจะได้เป็นผู้ที่เริ่มต้นสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนเห็นถึงปัญหาและช่วยกันยับยั้งปัญหาขยะที่เกิดขึ้นเรายังยืนยันที่จะให้ความสำคัญกับการจัดการ Zero Food Waste ผ่านการร่วมมือกับองค์กรต่างๆและเชิญชวนทุกคนมาร่วมมือง่ายๆไปกับพวกเราด้วยการบริจาคเงินเพียงคนละ 20 บาทให้กับมูลนิธิรักษ์อาหารประเทศไทยเพื่อเป็นค่าอาหารให้กับคนใน 107 ชุมชนภายใต้เครือข่ายของมูลนิธิฯ (เท่ากับเพียง 5 บาทต่อ 1 มื้ออาหาร) บริจาคและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิกhttps://bit.ly/2WDNolR

*อ้างอิงจากตัวเลขของทาง FAO (Food and Agriculture Organization of the United Nations),2015

**ภาพกิจกรรมนี้ถูกถ่ายเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563