กสิกรไทยตั้งเป้าหมายปี 64 สินเชื่อโต 4-6% ลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพ ยกระดับความสามารถทางการแข่งขันระยะยาวต่อเนื่อง

กสิกรไทยตอบรับนิว นอร์มอล ปรับแผนยุทธศาสตร์ มุ่งสร้างการเติบโต แบรนด์แข็งแกร่งเชื่อถือได้ และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันระยะยาว เพื่อเพิ่มอำนาจให้ทุกชีวิตและธุรกิจของลูกค้าในทุกกลุ่ม ตั้งเป้าหมายสินเชื่อโต 46% มุ่งเน้นการบริหารจัดการต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพ ท่ามกลางความท้าทายจากผลกระทบของโควิด19  

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ทั่วโลกยังเผชิญความท้าทายและความยากลำบากจากการแพร่ระบาดของโควิด19 ที่ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในทุกระดับ แม้จะเริ่มมีความหวังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 แต่ภาพรวมเศรษฐกิจโลกอาจจะค่อย ๆ ฟื้นตัว สำหรับ ธนาคารกสิกรไทยได้กำหนดเป้าหมายทางการเงินในปี 2564 ดังนี้

  • การเติบโตของเงินให้สินเชื่อ (Loan Growthตั้งเป้าที่ 46% สอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นการเติบโตสินเชื่อลูกค้าบุคคลที่ 1113จากการนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ในการปล่อยสินเชื่อ สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี ตั้งเป้าเติบโต 24และสินเชื่อบรรษัทธุรกิจ ตั้งเป้าเติบโต 13% 
  • ผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net Interest Margin:NIMตั้งเป้าที่ 3.13.3% สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย
  • การเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ (Net Fee Income Growthตั้งเป้าเติบโตเล็กน้อยที่ Low single digit จากธุรกิจบัตรเครดิต ค่าธรรมเนียมรับจากการให้สินเชื่อ และธุรกิจจัดการกองทุน
  • ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้ จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to Income Ratioตั้งเป้าที่ Mid40s ด้วยแรงกดดันด้านรายได้ที่ชะลอตัว แต่ธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการจัดการต้นทุนและการปรับปรุงผลิตภาพ (Productivityรวมถึงการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต
  • เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL Ratio (Gross)) ตั้งเป้าที่ 4.04.5% โดย       โควิด19 ส่งผลกระทบต่อคุณภาพเงินให้สินเชื่อ ทั้งนี้ ธนาคารจะมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ
  • Credit Cost ตั้งเป้าที่ Up to 160 bps ภายใต้สมมติฐานเกี่ยวกับโควิด-1รวมทั้งการที่ธนาคารยังคงใช้หลักความระมัดระวังและนโยบายทางการเงินที่รอบคอบในการพิจารณาสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 

นางสาวขัตติยา กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยได้ทบทวนแผนยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ กล่าวคือ ธนาคารยังคงดำเนินธุรกิจบนหลักการเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainabilityโดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centricityและมีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มอำนาจให้ทุกชีวิตและธุรกิจของลูกค้าในทุกๆกลุ่ม โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจที่สำคัญ ด้าน 

1พัฒนายุทธศาสตร์เพื่อการเติบโตทางธุรกิจและตอบโจทย์ลูกค้า

– เป็นผู้นำในการให้บริการชำระเงินทางดิจิทัล (Dominate Digital Paymentเพื่อเข้าถึงและให้บริการลูกค้าในสถานที่และเวลาที่ลูกค้าต้องการ รวมถึงได้ข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เหมาะสมแก่ลูกค้าต่อไป 

– ยกระดับการปล่อยสินเชื่อทั้งด้านธุรกิจและบุคคล (Reimagine Commercial & Consumer Lendingเพื่อสร้างรายได้ด้วยการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีเจาะกลุ่มลูกค้าสินเชื่อรายย่อย การนำข้อมูลธุรกรรมทางธุรกิจที่ได้จากคู่ค้าใน Value Chain มาวิเคราะห์เพื่อหาลูกค้าใหม่ รวมถึงการบริหารต้นทุนด้านความเสี่ยงและการปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

– ขยายการให้บริการลงทุนและประกันไปยังกลุ่มลูกค้ารายย่อยและกลุ่มลูกค้าที่ยังเข้าไม่ถึงการลงทุนและประกัน (Democratize Investment & Insuranceด้วยผลิตภัณฑ์ของธนาคารฯ บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน รวมถึงการให้บริการจากพันธมิตรทางธุรกิจของธนาคาร ด้วยแพลทฟอร์มการลงทุนที่ช่วยให้ลูกค้าสะดวกและมีข้อมูลในการตัดสินใจได้

– รุกตลาดภูมิภาค AEC (Penetrate Regional Marketเพื่อให้ธนาคารเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและทำธุรกิจใน AEC ที่กำลังเติบโตทั้งทางด้านประชากรและเศรษฐกิจ

– ยกระดับประสบการณ์บริการและการขาย (Strengthen Sales and Service Channel Experienceพัฒนาบริการของช่องทางต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าทำรายการได้ทุกที่ทุกเวลา รวมถึงมีรูปแบบการขายและบริการที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า

 เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อสร้างคุณค่าที่มากขึ้นจากการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพทั้งทรัพยากรบุคคล ข้อมูล การเงิน และเทคโนโลยี (Improve ValueBased Productivity)

2สร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งและเชื่อถือได้ (Strong Trusted Brand) ผ่านการสื่อสารและบริหารประสบการณ์ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดได้รับจากการทำธุรกิจกับธนาคาร

3ยกระดับความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ตามโครงการ Transformation ทั้ง โครงการ

การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในการสร้าง Ecosystem ควบคู่กับการพัฒนาช่องทางการขายและให้บริการของธนาคาร เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า (Ecosystem Partnership & Harmonized Channel)

– การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเสนอสินเชื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย (Intelligent Lending)

– บริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ และแนวทางการป้องกันในเชิงรุก (Proactive Risk & Compliance Management)

– การพัฒนาบริการรับชำระเงินระหว่างประเทศ (Regional Payment & Settlement)

– การพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Data Analytics)

– ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ (Cyber Security)

– การพัฒนาศักยภาพของพนักงานเพื่อมุ่งสู่การเป็น Agile Organization (Performing Talent and Agile Organization)

– พัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้ธนาคารเป็นผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำในระดับภูมิภาค (Modern World Class Technology Capability)

นางสาวขัตติยา กล่าวตอนท้ายว่า ด้วยแผนยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการทางการเงินอย่างรอบคอบ ควบคู่กับการเตรียมความพร้อมของบุคคลากรให้สามารถรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต จะช่วยสร้างความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาว และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ผ่านพ้นวิกฤติไปด้วยกัน