IMF เเนะประเทศร่ำรวย ปรับ ‘ขึ้นภาษี’ เพื่อลดปัญหา ‘ความเหลื่อมล้ำ’ จากวิกฤต COVID-19

Photo : Shutterstock
IMF เเนะประเทศร่ำรวยขึ้นภาษี’ นำงบมาพัฒนาสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ’ ที่รุนเเรงขึ้นจากวิกฤต COVID-19

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุถึงรายงานของ Fiscal Monitor เผยเเพร่ในเดือนเมษายน 2021 ที่ชี้ให้เห็นว่า การเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ลุกลามไปทั่วโลกนั้น ทำให้ความไม่เท่าเทียมในสังคม ทวีความรุนเเรงขึ้น

โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการดูเเลสุขภาพ การศึกษา เเละโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างรายได้ ที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ส่งต่อไปยังรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นรัฐบาลในประเทศต่างๆ จึงต้องจัดสรรงบประมาณ เพื่อนำมาพัฒนาในด้านต่างๆ เหล่านี้ หลังผ่านพ้นวิกฤตไปเเล้ว

IMF เเนะนำว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือประเทศร่ำรวย อาจจะต้องใช้มาตรการปรับเพิ่มอัตราภาษีก้าวหน้าของเงินได้เพิ่มการเก็บภาษีมรดกให้สูงขึ้นรวมถึงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วย

ส่วนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาหรือตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) นั้น ควรเพิ่มงบประมาณในการพัฒนาด้านสังคม เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้ประชาชนมีความสามารถจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น

Photo : Getty Images

ด้านมูลนิธิ Oxfam ระบุว่า ในช่วงเดือนมี.. – .. 2020 มหาเศรษฐีทั่วโลกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นถึง 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่คนจนมีรายได้ลดลงต่อเนื่อง สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำที่ขยายตัวขึ้น

โดยเมื่อนำสินทรัพย์ของเหล่ามหาเศรษฐีรวยที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ COVID-19 เริ่มระบาดมารวมกัน จะพบว่ามีมูลค่าสูงกว่าประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะมีระบบเศรษฐกิจเอื้อให้กลุ่มคนร่ำรวย สามารถรักษาความร่ำรวยไว้ได้ ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางอันเลวร้าย

อ่านเพิ่มเติม : COVID-19 เร่ง ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ให้ร้าวลึก เศรษฐีรวยเเล้วรวยอีก คนจนยิ่งจนลง

ขณะที่กลุ่มมหาเศรษฐี 1,000 อันดับเเรกของโลก กลับมามีสภาพคล่องทางการเงินเทียบเท่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาดได้ (Pre-pandemic) เร็วภายใน 9 เดือน ส่วนคนยากจนต้องใช้เวลามากกว่านั้นถึง 14 เท่า หรือคิดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยกลุ่มคนที่มีฐานะร่ำรวยจำนวนนี้ ที่เป็นผู้ชายผิวขาว (White Male) จะกลับมาฟื้นตัวทางการเงินได้เร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ ด้วย

Oxfam ให้ความเห็นว่า ทั้ง IMF และรัฐบาลประเทศต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงดำเนินนโยบายทางการเงินที่จะซ้ำรอยกับวิกฤตการเงินปี 2008-2009 ด้วยการผลักภาระภาษีจากคนรวยและบริษัทยักษ์ใหญ่ไปสู่ครัวเรือน

 

ที่มา : Reuters , IMF