ในขณะที่ประเทศไทยกำลังพยายามที่จะฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ของโควิด-19 แต่ยังมีผู้คนจำนวนมากที่รู้สึกถึงแรงกดดันและความยากลำบากซึ่งมีสาเหตุมาจากการแพร่ระบาดดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือสุขภาพกายและใจ โดยสุขภาพจิตยังคงเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ท้าทายในประเทศไทยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้ เนื่องจากยังเป็นหัวข้อที่ผู้คนอาจยังไม่สามารถพูดถึงได้อย่างตรงไปตรงมา เพราะเกรงการถูกตีตราจากสังคม (stigma) และการขาดแคลนการตระหนักรู้และทรัพยากรในการให้ความช่วยเหลือต่างๆ
ในประเทศไทย มีผู้คนที่ประสบปัญหาทางด้านสุขภาพจิตน้อยกว่าร้อยละ 10 ที่ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เนื่องจากแนวคิดเรื่องการถูกตีตรา ไม่ยอมรับจากสังคม ที่มีมาอย่างยาวนานและแหล่งการให้ความช่วยเหลือที่มีอยู่อย่างจำกัด แม้ว่าการศึกษาจากองค์การอนามัยโลกที่ถูกตีพิมพ์ในช่วงต้นปี พ.ศ.2563 ได้เปิดเผยว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายประจำปีเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทพญ. กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ ผู้ก่อตั้งและเจ้าของแพลตฟอร์มบริการด้านสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ Ooca ซึ่งมีประสบการณ์เผชิญกับปัญหาดังกล่าวด้วยตัวเอง จากขั้นตอนในการขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญที่น่าผิดหวัง โดยจำเป็นต้องใช้เวลาเดินทาง 6 ชั่วโมงมาที่กรุงเทพฯ เพื่อลงชื่อในบัญชีรอเรียกเป็นระยะเวลาหลายเดือนก่อนที่จะได้พบกับจิตแพทย์ ซึ่งอัตราส่วนของผู้เชี่ยวชาญในการบำบัดโรคต่อจำนวนประชากรในประเทศต่อคนอยู่ที่ 1 ต่อ 80,000 คน
คุณกัญจน์ภัสสรเห็นถึงช่องว่างนี้ จึงมองหาวิธีช่วยเหลือชุมชนของเธอ และสนับสนุนให้พวกเขาเข้าถึงแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น รวมถึงส่งเสริมแนวคิดที่ว่าการดูแลสุขภาพจิตไม่ควรถูกจำกัดสำหรับผู้ที่มีอาการป่วยทางจิตเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2559 เธอจึงก่อตั้ง Ooca เพื่อเชื่อมต่อผู้คนโดยไม่ระบุชื่อเข้ากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อให้คำแนะนำผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ Ooca เป็นแอพพลิเคชั่นแรกเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตแก่คนไทย และกลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนับแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมีผู้คนราว 86,000 คนลงทะเบียนบนแพลตฟอร์ม Ooca และผู้คนกว่า 8,000 คนที่ได้รับความช่วยเหลือผ่านช่องทางออนไลน์
การนำช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ มาใช้เพื่อเข้าถึงคนไทยทั่วประเทศเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับคุณกัญจน์ภัสสรและแพลตฟอร์ม Ooca เธอเห็นว่าเทคโนโลยีสร้างโอกาสในการเติบโตและการเชื่อมต่อซึ่งกันและกันให้แก่ชุมชนออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งผู้คนเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับไลฟ์สไตล์แบบนิวนอร์มอล
Ooca ใช้ทั้ง Facebook และ Instagram เป็นช่องทางในการสื่อสารหลัก เพื่อสร้างและสนับสนุนให้คนไทยเข้าถึงความช่วยเหลือที่พวกเขาต้องการ โดยแพลตฟอร์มบริการด้านสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ดังกล่าวได้โพสต์เนื้อหาที่น่าสนใจอย่างสม่ำเสมอผ่านเพจ Facebook, Stories ทั้งบน Facebook และ Instagram รวมถึง IGTV เพื่อสร้างศูนย์กลางแหล่งทรัพยากรความรู้ที่มั่นคงแก่ผู้ใช้และผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม
ยิ่งไปกว่านั้น คุณกัญจน์ภัสสรยังมีความมุ่งมั่นในการสร้างชุมชนออนไลน์ที่ให้กำลังใจแก่ผู้คน ทั้งบนเพจ Facebook ของ Ooca และกลุ่มบน Facebook ที่มีชื่อว่า ‘เล่าเหอะอยากฟัง by ooca’ โดยเธอต้องการที่จะสร้างการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ และมอบพื้นที่ที่ปลอดภัยเพื่อให้ผู้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในเชิงสร้างสรรค์ โดยคุณกัญจน์ภัสสรได้กล่าวว่า “แอพพลิเคชั่นในเครือของ Facebook ช่วยเราในการสร้างชุมชนของเราอย่างแท้จริง โดยไม่เพียงแค่เพิ่มจำนวนผู้ติดตามให้กับเรา ซึ่งนำไปสู่การตระหนักรู้ที่มากขึ้น แต่ยังช่วยให้ผู้ติดตามของเรามีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า Ooca คืออะไร รวมถึงตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพจิตผ่านกิจกรรมเชิงให้ความรู้ต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย”
สำเร็จโครงการ Community Accelerator ของ Facebook ด้วยคะแนนสูงสุด
หลังจากการเปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการในเดือนมีนาคม ปีที่ผ่านมา Ooca ได้รับการคัดเลือกเป็นหนึ่งใน 77 ชุมชนผู้เข้าร่วมโครงการจาก 6 ภูมิภาค เป็นครั้งแรก เพื่อเข้าร่วมโครงการ Community Accelerator ที่มีระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งมีเป้าหมายในการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เข้าร่วมโครงการด้วยการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา และการสนับสนุนเงินทุนที่จำเป็นต่อการสร้างการเติบโตให้ชุมชน
ผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับการคัดเลือก ซึ่งประกอบด้วย 13 ชุมชนจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และรวมถึง 5 ชุมชนจากประเทศไทย ล้วนแสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่หลากหลาย ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมในสังคม โดยผู้เข้าร่วมโครงการเหล่านี้ใช้เวลา 3 เดือนแรกในการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ฝึกสอน และบทเรียนที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมตามความต้องการของแต่ละชุมชน เพื่อวางแผนการสร้างการเติบโตให้แก่ชุมชนและบรรลุเป้าหมายของพวกเขาได้สำเร็จ หลังจากนั้น ผู้นำชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกได้ใช้เวลาอีก 3 เดือนต่อมาในการพัฒนาและลงมือปฏิบัติตามการวางแผนของพวกเขา
โครงการดังกล่าวสิ้นสุดลงด้วยการที่ Ooca และผู้เข้าร่วมโครงการอื่นๆ สำเร็จโครงการด้วยการนำเสนอผลงานของพวกเขาในวัน Demo Day ของโครงการ Community Accelerator ของ Facebook เพื่อขอเงินทุนเพิ่มเติมแก่พันธมิตรภายนอกองค์กร และมีการประเมินจากความสามารถในการดำเนินงานของพวกเขา รวมถึงวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานขั้นต่อไป และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการใช้เงินทุนเพิ่มเติมดังกล่าว
Ooca ได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 4 ชุมชนที่ได้คะแนนสูงสุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยได้รับเงินทุนเพิ่มเติมมูลค่า 25,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อดำเนินงานตามแผนในการสร้างการเติบโต และได้รับความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจากเครือข่ายของพวกเขา รวมถึงทีมงานจากโครงการดังกล่าวของ Facebook
หลังจากโครงการสำเร็จเรียบร้อยแล้ว คุณกัญจน์ภัสสรได้กล่าวว่า “Facebook ให้การสนับสนุนความรู้ และช่องทางในการทำธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยังยืน รวมไปถึงให้ทุนสนับสนุนเพื่อให้เป้าหมายของชุมชนนั้นเกิดขึ้นจริง นอกจากนี้ยังสอนการใช้เครื่องมือของ Facebook เช่น Facebook ads, Facebook Groups, Instagram เพื่อส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนสร้างสร้างชุมชนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่าเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่ามากในชีวิตการทำงานของดิฉัน ถ้าคุณมีเป้าหมายที่อยากจะทำเพื่อส่วนรวม และอยากทำให้คนอื่นๆ ร่วมเดินทางไปพร้อมๆ กับทำฝันนั้นให้เป็นจริง ก็ควรจะต้องลองซักครั้ง ถ้าไอเดียของคุณเป็นไอเดียที่ดีและอยากหาการสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อทำให้มันสำเร็จก็มาลองสมัครโปรแกรมนี้ดูค่ะ”
สำหรับคุณกัญจน์ภัสสรและ Ooca ความสำเร็จในครั้งนี้ได้ทำให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายในการทำให้การดูแลสุขภาพจิตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คน แต่พวกเขาก็รู้สึกว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่อยากจะทำให้สำเร็จ โดยคุณกัญจน์ภัสสรต้องการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีของ Ooca อย่างต่อเรื่อง และขยายบริการเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมขอบเขตอื่นๆ ที่พวกเขามีความรู้และความเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในด้านการรักษา ซึ่งอาจหมายถึงการมีองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือในจำนวนที่เพิ่มขึ้น นอกจากการดำเนินงานหลักแล้ว Ooca ยังคาดหวังที่จะขยายการเติบโตให้แก่ช่องทางอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงโครงการ Wall of Sharing เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนชาวไทยจำนวน 7 ล้านคนที่มีความเสี่ยงสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้นและไม่มีค่าใช้จ่าย
แม้ว่าในช่วงที่สถานการณ์ดีขึ้นแล้วในประเทศไทย Ooca ก็หวังว่าการดำเนินงานของพวกเขา รวมถึงการสื่อสารผ่าน Facebook และ Instagram จะผลักดันให้เกิดความพยายามที่มากขึ้นของทุกฝ่ายในการสนับสนุนให้ผู้คนมีความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตของพวกเขามากยิ่งขึ้นและยกระดับชุมชนได้สำเร็จ
โครงการ Community Accelerator ปีที่สองนี้ เปิดรับสมัครชุมชนที่มีบทบาทอยู่ในกลุ่มบน Facebook และมีผู้นำชุมชนที่อยู่ในประเทศไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป โดยชุมชนนั้นจะต้องถูกก่อตั้งมานานกว่า 1 ปี และมีจำนวนสมาชิกอย่างน้อย 1,000 คน โดยสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ผู้นำชุมชนชาวไทยสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมและสมัครเข้าร่วมโครงการ Community Accelerator ได้ที่นี่