ยูโอบี แนะแนวทางต่อยอดพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจให้ไปต่อได้ในยุคดิจิทัล

มีการพูดถึงแนวคิดเรื่องระบบนิเวศทางธุรกิจครั้งแรกในปีค.ศ.1993 โดยนักวางกลยุทธทางธุรกิจชื่อเจมส์ มัวร์ ในวารสาร Harvard Business Review เกิดจากการที่เขาเฝ้าสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงและการเชื่อมโยงถึงกันที่มีมากขึ้นในโลกการค้า ซึ่งมัวร์ได้ให้ความเห็นว่า “ธุรกิจต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จคือบรรดาธุรกิจที่มีการพัฒนาได้เร็วและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทว่าธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ก็ไม่สามารถวิวัฒน์ขึ้นมาได้เองจากความเป็นสูญญากาศ หากแต่ต้องดึงดูดทรัพยากรที่จำเป็น ทั้งเงินทุน คู่ค้า ซัพพลายเออร์และลูกค้า เพื่อที่จะสร้างเครือข่ายต่างๆ ให้สามารถสร้างความร่วมมือระหว่างกันได้ ”

ปัจจุบันเครือข่ายแห่งความร่วมมือที่ว่านี้เรียกว่า “ระบบนิเวศทางธุรกิจ” หรือ “business ecosystems” มีข้อดีมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจขนาดเล็ก หรือ SMEs ซึ่งมักมีทรัพยากรจำกัดและอาจขาดอำนาจต่อรอง ทำให้อาจพลาดข้อได้เปรียบต่างๆ เฉกเช่นเดียวกันกับที่ธุรกิจขนาดใหญ่พึงได้รับ

คุณสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “SMEs จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของ business ecosystems  เพื่อที่จะได้เข้าถึงความรู้ ความสามารถและทรัพยากรอันจำเป็นต่อการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจขนาดเล็กจะสามารถเข้าถึงการสนับสนุนทางการเงิน การพัฒนาสินค้าและความสามารถต่างๆ ได้เร็วมากยิ่งขึ้น หากรู้จักใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของพันธมิตรใน ecosystems มากกว่าจะไปพยายามคิดค้นหรือเริ่มต้นใหม่”

ต่อยอดพาร์ทเนอร์ด้านอี-คอมเมิร์ซ

“จากประสบการณ์ในการช่วยเหลือธุรกิจ SMEs มาโดยตลอดของยูโอบี ทำให้เรารู้ว่าพวกเขาต้องการใช้โซลูชันด้านอีคอมเมิร์ซเข้ามาปรับปรุงการทำการตลาดออนไลน์ พร้อมกับใช้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้ามาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า” คุณสยุมรัตน์ กล่าว

เห็นได้ชัดถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่จับจ่ายออนไลน์มากขึ้นในระหว่างที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในบ้านเพื่อให้ ปลอดภัยจากโควิด-19 โดยผลสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของธนาคารยูโอบีพบว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคคนไทยนั้นหันมาใช้ระบบออนไลน์ในการสั่งอาหาร (ร้อยละ 57) และซื้อของกินของใช้ภายในบ้าน (ร้อยละ 50) เป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่เกิดการระบาดในปีที่ผ่านมา ซึ่งยังคงเห็นแนวโน้มนี้เกิดขึ้นต่อเนื่องในอนาคต เพราะลูกค้าเห็นถึงความสำคัญของการซื้อของออนไลน์ตรงที่ง่าย สะดวกและปลอดภัยนั่นเอง

แต่ด้วยทรัพยากรอันจำกัดทำให้หลายๆ SMEs อาจขาดความเชี่ยวชาญและกำลังคนทำงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อีกทั้งยังมีผู้ให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซมากมายในตลาด ทำให้การเฟ้นหาผู้ให้บริการที่ตอบโจทย์ธุรกิจเป็นหนึ่งความท้าทาย แต่สิ่งที่ SMEs ต้องรู้คือ ปัจจุบันนี้มีพันธมิตรอยู่หลายรายที่เข้าใจดีถึงอุปสรรคต่างๆ ที่ SMEs ต้องเผชิญโดยเฉพาะเรื่องการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และพร้อมที่จะช่วยสนับสนุนการนำดิจิทัลไปใช้ให้ตรงเป้าหมายทางธุรกิจ โดยพันธมิตรเหล่านี้สามารถช่วยวิเคราะห์โมเดลทางธุรกิจของSMEsและแนะนำดิจิตัลโซลูชันที่ดีที่สุดให้ได้ เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ SMEsและช่วยเพิ่มยอดขายทางออนไลน์

Rin&Rin Jewelry หนึ่งในลูกค้า SMEs ของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้ต่อยอดพันธมิตรของธนาคารมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านอีคอมเมิร์ซอย่างประสบความสำเร็จ โดยคุณวรุตม์ รินธนาเลิศ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Rin&Rin Jewelry เล่าว่า  “ตอนเริ่มเข้าสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เราเจออุปสรรคหลายอย่างเสียเวลาและทรัพยากรไปมากในการจัดการการขายจากอี-มาร์เกตเพลสต่างๆ การบริหารสินค้าในคลังตลอดจนการจัดส่ง เราจึงมองหาโซลูชันครบวงจรและได้ ขอความช่วยเหลือจากทางยูโอบีที่เป็นพันธมิตรด้านการธนาคารของเราอยู่แล้ว เพื่อช่วยให้เราหาโซลูชันด้าน  อีคอมเมิร์ซ ที่เหมาะสมในการรวบรวมการดำเนินงานของเราทั้งหมด ตั้งแต่การจัดการด้านการจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การทำการตลาด การบริหารจัดการสินค้าคงคลังและการจัดส่งมาไว้ด้วยกัน และด้วยเครือข่ายของยูโอบี เราก็ได้นำเอา BentoWeb ซึ่งเป็นโซลูชันด้านอีคอมเมิร์ซที่รวมทุกอย่างมาไว้ในที่เดียวมาใช้ ช่วยให้เราจัดการการขายทางออนไลน์พร้อมๆ กับการดูแลกระบวนการอีคอมเมิร์ซหลังบ้านได้แบบจบในแพลตฟอร์มเดียว และยังทำให้เราสามารถจัดการการโพสต์และรายการสินค้าในอีคอมเมิร์ซ มาร์เกตเพลสและเวปไซต์โซเชียลมีเดียทีละหลายๆ แห่งได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องคอยทำซ้ำๆ อยู่อีก”

ต่อยอดพาร์ทเนอร์ด้านแหล่งเงินทุน

นอกจากโซลูชันด้านอีคอมเมิร์ซเพื่อเพิ่มยอดขายแล้ว  SMEs ยังสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือความช่วยเหลือทางการเงินจากเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจได้  นอกจากจะมีกระแสเงินสดไว้ใช้เพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจแล้ว ยังใช้ขยายธุรกิจได้อีกด้วย

การมีเงินทุนจะช่วยให้ SMEs สามารถคว้าโอกาสใหม่ๆ และได้เปรียบเหนือบรรดาคู่แข่งในวงการ และด้วยความช่วยเหลือของพันธมิตร SMEs อาจพบว่าการขอสินเชื่อเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายและเร็วขึ้น เช่น ยูโอบีนำเสนอช่องทางใหม่ในการขอสินเชื่อสำหรับ SMEs ผ่านแอปพลิเคชัน MatchLink ดิจิทัล แพลตฟอร์ทจับคู่ธุรกิจ หนึ่งในพันธมิตรของธนาคาร ที่มุ่งสร้างความสะดวกให้ธุรกิจ SMEs ได้เข้าถึงการสนับสนุนทางการเงินที่รวดเร็ว เพื่อพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจให้เติบโตตามเป้าหมายอย่างทันท่วงที ซึ่งความร่วมมือนี้นับเป็นการพลิกมิติใหม่ให้กับวงการสินเชื่อธุรกิจในประเทศไทย ด้วยการให้บริการขอสินเชื่อธุรกิจนิติบุคคลแบบไม่มีหลักประกัน ผ่านช่องทางออนไลน์ วงเงินสูงสุด 5 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยที่แข่งขันได้ในตลาด โดยใช้เอกสารในการยื่นขอสินเชื่อน้อยลงถึง 5 เท่า เมื่อเทียบกับการขอสินเชื่อแบบเดิม สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องเสียเวลาไปธนาคาร และที่สำคัญคือใช้เวลาอนุมัติรวดเร็วเพียง 5 วันทำการ

ต่อยอดธุรกิจด้วยพันธมิตรที่ใช่

เมื่อต้องการหาพันธมิตรในการทำธุรกิจ SMEs ควรพิจารณาเลือกพันธมิตรที่มีเครือข่ายที่แข็งแกร่ง มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและมีศักยภาพในการทำธุรกิจ SMEs หลายรายอาจจะไม่รู้มาก่อนว่า ธนาคารเช่นยูโอบีนั้นมีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธมิตรด้านเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จผ่านการใช้โซลูชันด้านดิจิทัลได้ เช่นธนาคารยูโอบีได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ SAP เพื่อช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีระดับองค์กรขนาดใหญ่ได้ง่ายขึ้นและราคาที่ถูกลง ซึ่ง SMEs ที่มียูโอบีเป็นพันธมิตรจะสามารถเข้าถึงการใช้งาน SAP Business One ซึ่งเป็นโซลูชันการบริหารจัดการที่ใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ ผ่านยูโอบี บิสสมาร์ท (UOB BizSmart) โซลูชันจัดการธุรกิจครบวงจร  ในราคาที่จับต้องได้ ช่วยผู้ประกอบการลดเวลาการจัดการระบบหลังบ้าน ทำให้มีเวลาไปมุ่งสร้างกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลกำไรให้องค์กร

ด้วยยูโอบี บิสสมาร์ท เจ้าของกิจการสามารถเข้าดูข้อมูลสำคัญที่เป็นสถานะปัจจุบันได้ทันทีเช่นข้อมูลด้านการเงิน ยอดขาย ความสัมพันธ์กับลูกค้าและบริหารสินค้าคงคลังเป็นต้น ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างมีหลักการยิ่งขึ้นเพื่อการทำธุรกิจที่ดีกว่า

ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กพยายามหาทางลัดเลาะเพื่อผ่านความท้าทายต่างๆในปัจจุบันผู้ประกอบการควรตระหนักว่าพวกเขาไม่ได้กำลังสู้อยู่เพียงลำพัง แต่ยังมีความช่วยเหลือและแรงสนับสนุนจากรัฐบาล สถาบันการเงินและผู้ให้บริการต่างๆ อีกมากมาย การเชื่อมโยงเข้ากับผู้เล่นรายอื่นในระบบนิเวศนี้จะช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถข้ามผ่านความท้าทายและได้ประโยชน์ต่างๆ เพื่อสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต