หัวเว่ย พร้อมพันธมิตรในอุตสาหกรรม ได้จัดการประชุมโลกอัจฉริยะแห่งอนาคตปี พ.ศ. 2573 (Intelligent World 2030 Forum) โดยมีคุณเดวิด หวัง (David Wang) กรรมการบริหารและประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชันทางด้าน ICT ของบริษัทหัวเว่ย นำเสนอรายงานโลกอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2573 พร้อมกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ สำรวจโลกอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2573 (Exploring the Intelligent World 2030) นับเป็นครั้งแรกที่หัวเว่ยได้ใช้วิธีการทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเพื่ออธิบายถึงโลกอัจฉริยะทศวรรษหน้าและคาดการณ์ทิศทางอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ ช่วยให้อุตสาหกรรมต่างๆ สามารถเล็งเห็นถึงโอกาสใหม่ๆ และค้นพบคุณค่าใหม่
ช่วงสามปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกกับนักวิชาการ ลูกค้า และพันธมิตรในอุตสาหกรรมกว่า 1,000 ราย จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกว่า 2,000 ครั้ง รวมถึงรวบรวมข้อมูลและแนวทางจากองค์กรที่มีอำนาจต่างๆ อาทิ สหประชาชาติ สภาเศรษฐกิจโลก และองค์การอนามัยโลก หัวเว่ยยังได้นำข้อมูลเชิงลึกจากบทความทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เช่น เนเจอร์ (Nature) และไออีอีอี (IEEE) และนำข้อมูลความรู้จากสมาคมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและบริษัทที่ปรึกษาต่างๆ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภายในและภายนอกหัวเว่ย มาสู่การจัดทำรายงานโลกอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2573 นี้เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ทางด้านเทคโนโลยี ICT และแนวทางของแอปพลิเคชันต่างๆ ในทศวรรษหน้า
รายงานดังกล่าวนำเสนอทิศทางการสำรวจในระดับมหภาคข้ามสาขาวิชา (cross-disciplinary) และข้ามองค์ความรู้ (cross-domain) ใน 8 แนวทางด้วยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยี ICT สามารถแก้ปัญหาและความท้าทายสำคัญเกี่ยวกับพัฒนาการมนุษย์ได้อย่างไรบ้าง และมีโอกาสใหม่ๆ อะไรบ้างสำหรับองค์กรและบุคคลต่างๆ สำหรับในระดับอุตสาหกรรม รายงานฉบับนี้ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีอนาคต และทิศทางการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสาร ระบบคอมพิวเตอร์ พลังงานดิจิทัล และโซลูชันทางด้านยานยนต์อัจฉริยะ
คุณเดวิด หวัง กล่าวว่า “เมื่อ 30 ปีที่แล้ว เราตัดสินใจพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านระบบสื่อสาร 10 ปีที่แล้ว เราตัดสินใจเชื่อมต่อทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกันเพื่อสร้างโลกที่เชื่อมโยงกันที่ดียิ่งขึ้น และทุกวันนี้ วิสัยทัศน์และพันธกิจของเราคือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่ทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าโลกอัจฉริยะกำลังมาถึงอย่างรวดเร็ว”
แขกผู้มีเกียรติที่มีชื่อเสียงหลายท่านที่ร่วมกล่าวปาฐกถาในการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ สตีเวน จอห์นสัน นักอนาคตศาสตร์ที่มีชื่อเสียง, เฉิน จิงจวน (Chen Qingquan) ประธานผู้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งตามวาระ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าโลก (World Electric Vehicle Association), เดนิส เดอปูซ์ (Denis Depoux) ประธานร่วมคณะกรรมการบริหารทั่วโลกของโรแลนด์ เบิร์ก (Roland Berg Global Management Committee) และหวัง ซีจิน (Wang Zhiqin) รองประธานสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศจีน (China Academy of Information and Communications Technology (CAICT)) ซึ่งต่างแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับโลกอัจฉริยะ และอธิบายว่าเทคโนโลยี ICT สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นได้อย่างไร
ในฐานะที่เป็นนักเขียนเกี่ยวกับอนาคตและวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง สตีเวน จอห์นสัน กล่าวว่า เรากำลังเข้าสู่ยุคการเติบโตแบบทบทวีคูณ ทศวรรษที่กำลังจะมาถึงจะเป็นยุคทองของความร่วมมือระหว่างปัญญามนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ และชุดคำสั่งต่างๆ (algorithms) จะช่วยเพิ่มศักยภาพปัญญามนุษย์ เมื่อเทคโนโลยีเติบโตอย่างทวีคูณ สังคมของเราก็จะได้ประโยชน์จากการนี้
การประชุมโลกอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2573 นับเป็นครั้งแรกที่หัวเว่ยได้นำเสนอวิสัยทัศน์และงานวิจัยที่มีความล้ำสมัยสู่ทศวรรษหน้าอย่างเป็นระบบ การนำเสนอองค์ความรู้นี้จะนำมาซึ่งคุณค่าต่อการพัฒนาสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเศรษฐกิจดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลทั่วโลก
จินตนาการจะเป็นตัวกำหนดว่าเราจะไปได้ไกลเพียงใดในอนาคต ส่วนการกระทำจะเป็นตัวกำหนดว่า เราจะไปถึงอนาคตได้รวดเร็วเพียงใด และวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำนายอนาคตก็คือการสร้างอนาคตนั่นเอง นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายอีกมากที่ต้องฝ่าฟันระหว่างทางไปสู่โลกอัจฉริยะ ดังเช่นที่คุณเดวิด หวังได้กล่าวไว้ตอนท้ายว่า “เราเชื่อว่า ภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ย่อมพบได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน ความฝันเป็นตัวขับเคลื่อนหลักต่อความก้าวหน้าทางสังคม เพื่อก้าวไปสู่ทศวรรษหน้า เราควรมาร่วมกันสร้างโลกอัจฉริยะที่ดียิ่งขึ้นไปด้วยกัน”
ภาพรวมรายงาน:
ข้อมูลสำคัญจากงานโลกอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2573: เราจะมีชีวิตที่ดียิ่งขึ้นในปี พ.ศ. 2573 มีอาหารมากขึ้น มีพื้นที่ที่อยู่อาศัยกว้างขึ้น มีพลังงานทางเลือก บริการดิจิทัลต่างๆ และไม่มีปัญหาการจราจรติดขัดอีกต่อไป เราจะสามารถขจัดงานที่ซ้ำซากและเป็นอันตรายไปไว้ที่เครื่องจักร และเข้าถึงบริการดิจิทัลอย่างมั่นคงปลอดภัย เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เราได้กำหนดทิศทางการสำรวจในด้านต่างๆ เอาไว้ 8 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ สุขอนามัย อาหาร การดำรงชีวิต และการคมนาคม
ปี พ.ศ. 2573 เราจะสามารถคาดการณ์ปัญหาทางด้านสุขอนามัยที่อาจเกิดขึ้นได้โดยการคำนวณและสร้างแบบจำลองข้อมูลสาธารณสุขและทางการแพทย์ เปลี่ยนเป้าหมายจากการรักษาไปสู่การป้องกัน โซลูชันทางการแพทย์ที่มีความแม่นยำสูงจาก IoT และ AI จะกลายเป็นจริง
ปี พ.ศ. 2573 การเพาะปลูกในแนวตั้ง (vertical farms) ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศจะได้รับการประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งจะทำให้เราผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ (green food) ได้สำหรับทุกคน เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ (3D printing) จะทำให้เราสามารถผลิตเนื้อสัตว์สังเคราะห์ (artificial meat) เพื่อรองรับความต้องการทางโภชนาการของเราได้
บ้านและสำนักงานต่างๆ จะกลายเป็นอาคารที่มีการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (zero-carbon buildings) เทคโนโลยี IoT รุ่นต่อไปจะสร้างสภาพแวดล้อมในบ้านที่สามารถเรียนรู้และปรับแต่งได้ตามความต้องการของเรา
ยานพาหนะที่ใช้พลังงานรูปแบบใหม่จะกลายเป็น “พื้นที่ที่สาม” แบบเคลื่อนที่ อากาศยานรูปแบบใหม่จะทำให้บริการฉุกเฉินต่างๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดต้นทุนการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ และเปลี่ยนแปลงวิธีการเดินทางของเรา
นอกจากด้านสุขอนามัย อาหาร ที่อยู่อาศัย และการคมนาคมแล้ว หัวเว่ยยังได้สำรวจอนาคตของเมืองต่างๆ พลังงาน วิสาหกิจ และความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของระบบดิจิทัล (digital trust) เราหวังว่าจะได้ร่วมงานกับทุกท่านเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ที่ไร้ขอบเขตร่วมกันในปี พ.ศ. 2573
เครือข่ายการสื่อสารในปี พ.ศ. 2573: ทศวรรษหน้า เป้าหมายและขอบเขตการเชื่อมต่อเครือข่ายจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573 เมื่อเทคโนโลยีต่างๆ พัฒนาต่อไป เช่น เอ็กซ์เรย์ (XR) จอแสดงผลสามมิติด้วยตาเปล่า (naked-eye 3D display) สัมผัสทางดิจิทัล (digital touch) และกลิ่นดิจิทัล (digital smell) “ภาพดิจิทัล สัมผัสทางดิจิทัล และกลิ่นดิจิทัล” (digital vision, digital touch, and digital smell) จะสร้างประสบการณ์การมีส่วนร่วมและแตกต่างผ่านระบบเครือข่ายรุ่นใหม่ๆ ขณะเดียวกัน เมื่อระบบเครือข่ายพัฒนาจากการเชื่อมโยงผู้คนนับพันล้านไปเป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์นับร้อยพันล้านเครื่องแทน การออกแบบเครือข่ายจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมซึ่งให้ความสำคัญกับการรับรู้ของมนุษย์ไปสู่การรับรู้ของอุปกรณ์ เราจะเห็นการเกิดของโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ในหลากหลายระดับ ของอุปกรณ์นับร้อยพันล้านเครื่องและข้อมูลจำนวนมาก ตลอดจนเครือข่ายพลังงานคอมพิวเตอร์ที่รองรับความสามารถในการเชื่อมต่อ นอกจากนี้ ภาพจำลองระบบเครือข่ายอนาคตทั้งสี่ภาพจะค่อยๆ กลายเป็นจริง เป็นเครือข่ายที่จะทำให้เกิดประสบการณ์ต่อเนื่อง ทั้งที่บ้าน สำนักงาน และยานพาหนะ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ระบบดาวเทียม อินเทอร์เน็ตสำหรับอุตสาหกรรม และเครือข่ายพลังงานคอมพิวเตอร์
และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในโลกอัจฉริยะ เครือข่ายการสื่อสารในปี พ.ศ. 2573 จะพัฒนาไปสู่เครือข่ายบรอดแบนด์แบบสามมิติ (cubic broadband networks) ประสบการณ์ที่กำหนดได้เอง (deterministic experience) รองรับปัญญาประดิษฐ์ (AI-native) ระบบคลาวด์ของหัวเว่ย (HCS) มีความมั่นคงปลอดภัยและเชื่อถือได้ และเป็นเครือข่ายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ หัวเว่ยคาดการณ์ว่าจำนวนการเชื่อมต่อทั้งหมดทั่วโลกจะสูงถึง 2 แสนล้านจุดภายในปี พ.ศ. 2573 ขณะเดียวกัน การเข้าถึงเครือข่ายองค์กร การเข้าถึงเครือข่ายบรอดแบนด์ในบ้าน และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไร้สายรายบุคคลจะสูงกว่า 10 กิกะบิตต่อวินาที (Gbit/s) นับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคการเชื่อมต่อระดับ 10 กิกะบิตต่อวินาที (Gbit/s connectivity)
การประมวลผลคอมพิวเตอร์ในปี พ.ศ. 2573: ภายในปี พ.ศ. 2573 โลกดิจิทัลและโลกทางกายภาพจะเชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อ ทำให้ผู้คนและอุปกรณ์สามารถสื่อสารกันได้ทั้งทางการรับรู้และทางอารมณ์ AI จะปรากฏอยู่ทั่วทุกหนแห่ง และช่วยให้เราก้าวข้ามผ่านขีดจำกัดของมนุษย์ ทั้งยังทำหน้าที่เป็นกล้องจุลทรรศน์และกล้องส่องทางไกลสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งต่าง ๆ นับตั้งแต่อนุภาคที่มีขนาดเล็กที่สุดไปจนถึงปรากฏการณ์ด้านจักรวาลวิทยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่แล้วจะมีความได้เปรียบยิ่งขึ้นจาก AI ประสิทธิภาพทางด้านพลังงานระบบคอมพิวเตอร์จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เราเข้าใกล้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (zero-carbon computing) เทคโนโลยีดิจิทัลจะกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำหรับการบรรลุเป้าหมายทั่วโลกในการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality)
ระบบการประมวลผลคอมพิวเตอร์กำลังก้าวไปสู่ขีดจำกัดทางกายภาพ ด้วยเหตุนี้ นวัตกรรมทางด้านซอฟท์แวร์ สถาปัตยกรรม และระบบต่างๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ทั้งอุตสาหกรรมจำเป็นต้องร่วมกันสำรวจรากฐานใหม่สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ ทำลายข้อจำกัดทางกายภาพของเซมิคอนดัคเตอร์ และทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น มีความมั่นคงปลอดภัยมากขึ้น และฉลาดมากขึ้น หัวเว่ยคาดการณ์ว่า ภายในปี พ.ศ. 2573 มนุษยชาติจะเข้าสู่ยุคข้อมูลระดับยอตตะไบต์ (yottabyte) ด้วยสมรรถนะของระบบคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไปเพิ่มสูงขึ้น 10 เท่า และมีสมรรถนะของระบบคอมพิวเตอร์ปัญญาประดิษฐ์เพิ่มขึ้น 500 เท่า
พลังงานดิจิทัลปี พ.ศ. 2573: ในทศวรรษหน้า มนุษยชาติจะเข้าสู่ยุคแห่งพลังงานดิจิทัล มุ่งไปสู่การพัฒนาที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ การพัฒนาระบบไฟฟ้า และการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบอัจฉริยะ แหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ (photovoltaic) และพลังงานลม จะค่อยๆ เข้ามาแทนที่เชื้อเพลิงฟอสซิล เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีดิจิทัลจะผนวกรวมกันอย่างแนบแน่นเพื่อให้สามารถใช้ “ข้อมูลบริหารจัดการพลังงาน” (bit to manage watt) โดยตลอดระบบพลังงาน และสร้างแอพพลิเคชันส์อัจฉริยะต่างๆ บน “ระบบคลาวด์พลังงาน” (energy cloud) หัวเว่ยคาดการณ์ว่า ภายในปี พ.ศ. 2573 พลังงานแสงอาทิตย์จะกลายเป็นแหล่งพลังงานหลักแหล่งหนึ่งของเรา พลังงานทางเลือกในการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกจะมีสัดส่วนร้อยละ 50 และการแบ่งสันปันส่วนไฟฟ้าในการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายคาดว่าจะสูงกว่าร้อยละ 30 รถยนต์ไฟฟ้าซึ่งจะเป็นยานพาหนะใหม่ที่ถูกขายได้จะมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 และพลังงานทางเลือกจะสามารถป้อนพลังงานรองรับโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลได้ถึงร้อยละ 80
โซลูชันยานยนต์อัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2573: ในทศวรรษหน้า การพัฒนาระบบไฟฟ้าและระบบอัจฉริยะไม่อาจหยุดยั้งได้ และเทคโนโลยี ICT จะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งจะมีการพัฒนาระบบขับขี่อัจฉริยะ (intelligent driving) พื้นที่อัจฉริยะ (intelligent spaces) บริการอัจฉริยะ (intelligent services) และระบบปฏิบัติงานอัจฉริยะ (intelligent operations) หัวเว่ยหวังว่าจะใช้เทคโนโลยี ICT เพื่อช่วยสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์อัจฉริยะ และช่วยผู้ผลิตรถยนต์สร้างยานยนต์ที่ดีขึ้นได้
เป้าหมายสูงสุดของระบบขับขี่อัจฉริยะคือการใช้เทคโนโลยี เช่น ระบบขับขี่ไร้คนขับ (autonomous driving) เพื่อช่วยลด การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และสร้างประสบการณ์การเดินทางที่มีประสิทธิภาพและไร้รอยต่อแก่ผู้ใช้ ปัจจุบันระบบขับขี่อัจฉริยะถูกจำกัดแต่เฉพาะบนถนนปิด เช่น ถนนที่มีการใช้ความเร็วสูง และถนนภายในองค์กรหรือสถาบันต่างๆ หากแต่จะค่อยมีการใช้งานเพิ่มมากขึ้นบนถนนสาธารณะ เช่น ถนนในเขตตัวเมือง ยานพาหนะต่างๆ จะแปรสภาพเป็นพื้นที่อัจฉริยะแห่งใหม่ด้วยระบบ ICT เทคโนโลยีต่างๆ เช่น AI ระบบยืนยันตัวตนทางชีวภาพ (biometric recognition) อุปกรณ์ตรวจจับด้วยแสงในรถ (in-vehicle optical sensors) และเทคโนโลยี AR/VR จะนำมาซึ่งฟีเจอร์การใช้งานใหม่ๆ ในห้องขับขี่ ยานยนต์อัจฉริยะจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เป็นเพียงพื้นที่สำหรับการเคลื่อนที่ซึ่งมีความยืดหยุ่น (flexible mobile space) ไปเป็นพื้นที่ดำรงชีวิตแบบอัจฉริยะ (intelligent living space) ที่ผนวกรวมโลกเสมือนจริงและโลกทางกายภาพเข้าด้วยกัน หัวเว่ยคาดการณ์ว่า ภายในปี พ.ศ. 2573 ยานยนต์แบบไร้คนขับจะมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของจำนวนรถยนต์ใหม่ที่จะถูกขายได้ในประเทศจีน ส่วนยานยนต์ไฟฟ้าจะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนรถยนต์ใหม่ที่จะถูกขายได้ ซึ่งยานยนต์เหล่านี้จะติดตั้งพร้อมระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถทำงานได้มากกว่า 5,000 TOPS (TOPS – trillions of operations per second) และมีความเร็วในการส่งสัญญาณเครือข่ายในรถต่อการเชื่อมต่อสูงกว่า 100 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://www.huawei.com/en/giv