บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ ไอวีแอล บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดั
นายยาช โลเฮีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “ไอวีแอลมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นบริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ปัจจุบันเราเป็นผู้ผลิตและรีไซเคิล PET รายใหญ่ที่สุดของโลก และตระหนักถึงความสำคัญของการรีไซเคิล PET จึงสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบันเราสามารถรีไซเคิลขวด PET ทั่วโลกได้มากกว่า 6.7 หมื่นล้านขวด และนำกลับมาผลิตเป็นเส้นใย เส้นด้าย และเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิล (rPET) สามารถตอบสนองความท้าทายในการจัดการพลาสติกใช้งานแล้ว และส่งเสริมให้เกิดการดำเนินธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ได้อย่างเป็นรูปธรรม”
“ที่ผ่านมา ไอวีแอลได้นำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการรีไซเคิล มาผนวกกับความรู้เชิงวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดักจับขยะจากทางระบายน้ำ คู คลอง แม่น้ำ หรือจากแหล่งน้ำไหลอื่นๆ ตลอดจนให้การสนับสนุนถังสำหรับคัดแยกขยะ และการอบรมให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะและการรีไซเคิลแก่หน่วยงานในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้การจัดการขยะเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งต้องจัดเก็บด้วยความระมัดระวังเพื่อให้เกิดสุขอนามัยที่ดี นอกจากนี้ พลาสติกที่รีไซเคิลได้อย่างขวด PET ยังสามารถเสริมรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง” นายยาช กล่าว
ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย นำประเสริฐชัย ผู้อำนวยการสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอขอบคุณบริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส ที่สนับสนุนโครงการสำนักงานสีเขียวเป็นอย่างดีจนส่งผลให้ได้รับรางวัลสำนักงานสีเขียวตามมาตรฐานระดับประเทศ ระดับดีมาก (G เงิน) จากโครงการ G Green สำนักงานสีเขียว ประจำปี 2563 จัดโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่บริษัทให้การสนับสนุนต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยกิจกรรมแรกในปีนี้ วิทยากรของไอวีแอลได้จัดอบรมในหัวข้อ ‘Waste in COVID: ยุคโควิด ยิ่งต้องแยกขยะ’ ทำให้บุคลากรเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญของการคัดแยกและการจัดการขยะอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นทางซึ่งจะช่วยให้การดำเนินการโครงการสำนักงานสีเขียวของของสำนักบริการคอมพิวเตอร์ทำได้ดียิ่งขึ้น”
ทั้งนี้ การคัดแยกขยะที่ถูกต้องและเหมาะสม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรีไซเคิลขวด PET ลดการใช้น้ำมันดิบ ลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดปริมาณของเสียที่ถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบเพื่อกำจัด และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบสหประชาชาติ (The UN Sustainable Development Goals) ที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรและการผลิตอย่างยั่งยืน (SDG12)