แฟลช เอ็กซ์เพรส ผู้ให้บริการขนส่งสัญชาติไทยแบบครบวงจร ขนส่งเอกชนไทยรายแรกที่ก้าวสู่ยูนิคอร์นระดับสากล จับมือกับมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำอย่างมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยสยามพร้อมด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฎจำนวน 38 แห่งทั่วประเทศ อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปภัมภ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา เป็นต้น โดยได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันเพื่อพัฒนาหลักสูตรโลจิสติกส์ไทย รองรับตลาดแรงงานในยุคที่อีคอมเมิร์ซเติบโต
(18 พฤศจิกายน 2564) : นางจรัสพักตร์ การปลื้มจิตต์ พาร์ทเนอร์กลุ่มธุรกิจแฟลช กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษา และภาคของธุรกิจว่า “แฟลช เอ็กซ์เพรส ในฐานะผู้ให้บริการขนส่งสัญชาติไทย ภายใต้กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group) ผู้ให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจร เรามุ่งดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่า และประโยชน์แก่สังคมในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ ด้วยเหตุนี้ แฟลช จึงได้นำจุดแข็งด้านเทคโนโลยี และไอทีที่ตอบโจทย์แก่ธุรกิจ E-commerce อันเป็นแกนหลักที่บริษัทเชี่ยวชาญ โดยได้ประยุกต์ใช้กับระบบหลังบ้านในการบริหารจัดการสาขากว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ ที่จะเป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติงานได้จริงสำหรับนักศึกษา เพื่อผนวกเข้ากับองค์ความรู้ทางวิชาการในหลักสูตรโลจิสติกส์ของสถาบันอุดมศึกษาไทย ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการยกระดับการศึกษาในหลักสูตรโลจิสติกส์ของระดับปริญญาตรี และ หลักสูตรประกาศนียบัตร ยังเป็นการวางรากฐานด้านการศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดแรงงาน
โดยตัวเลขภาพรวมของปี 2564 จะพบว่าสายงานด้านธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ อยู่ใน Top 3 ที่ตลาดแรงงานต้องการ ซึ่งมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 9.50 % ประกอบกับในปีนี้ แฟลช ได้เปิดตัว Business Unit ในหลายส่วนเพื่อเข้ามารองรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซทั้งในประเทศ และระดับภูมิภาค อาทิ การเปิดตัวคลังสินค้าแบบครบวงจรอย่าง Flash Fulfillment, บริษัท Flash AI ผู้ให้บริการด้านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีผ่านระบบอัจฉริยะ เป็นต้น และด้วยจุดแข็งในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีนี่เองทำให้กลุ่มธุรกิจแฟลช มองหาพันธมิตรในภาคการศึกษาที่สามารถผนวกความเป็นมืออาชีพด้านขนส่งและอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจร เข้ากับหลักสูตรการศึกษาของไทยทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อเร่งพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์แบบบูรณาการออกสู่ตลาดแรงงานได้ทันต่อความต้องการ ด้วยหลักการเหล่านี้จึงเกิดเป็นบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ อันประกอบด้วยมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำอย่างมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยสยาม รวมถึงมหาวิทยาลัยราชภัฎจำนวน 38 แห่งทั่วประเทศ แบ่งเป็นโซนภาคกลาง 14 แห่ง ภาคเหนือ 8 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 แห่ง และ ภาคใต้อีก 5 แห่ง ” นางจรัสพักตร์ กล่าวทิ้งท้าย
การลงนามครั้งนี้ เป็นการสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างบริษัท ฯ และสถาบันอุดมศึกษาไทย ซึ่งถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญในการยกระดับการเรียนรู้ในส่วนโลจิสติกส์ และ E – Commerce ของไทย ให้สามารถพัฒนาศักยภาพแรงงานให้มีทักษะสูงและมีมาตรฐาน ตลอดจนสามารถพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไปสู่รูปแบบ E-logistics เพื่อส่งให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิต การค้า การบริการ และการลงทุนในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียนได้อย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าและเข้มแข็ง พร้อมเข้าสู่การเป็น E-Commerce Ecosystem ที่ยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม