“การ์มิน” เผยข้อมูลด้านสุขภาพปี 2564 พร้อมจับมือ “หมอผิง ธิดากานต์” สานต่อ “เฮลท์ แคมเปญ” ชี้ “สุขภาพที่ดีเริ่มต้นที่ระบบเผาผลาญ”

การ์มิน ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์จีพีเอสสมาร์ทวอทช์ระดับโลก ภายใต้ Every Beat of Life นวัตกรรมที่ก้าวทันทุกจังหวะของชีวิต เผยข้อมูลด้านสุขภาพปี 2564 ระบุคนไทยมีอัตราการเผาผลาญเฉลี่ยขณะพักอยู่ในอันดับรั้งท้าย จึงเดินหน้าสานต่อ “เฮลท์ แคมเปญ” จับมือ พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ หมอผิง ร่วมปลุกกระแสเฮลท์ตี้ ด้วย 8 เทคโนโลยีด้านสุขภาพในสมาร์ทวอทช์จากการ์มินตัวช่วยเฝ้าระวังความผิดปกติแบบต่อเนื่อง ได้แก่ การติดตามการเผาผลาญขณะพัก (Resting Calories) การวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Ox Blood Sensor) การติดตามการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Function) การติดตามระดับความเครียด (Stress Tracking) การฝึกความแข็งแรง (Strength Training) การวัดอายุของสุขภาพ (Fitness Age) การติดตามการนอนหลับ (Sleep Monitoring) และ การติดตามการดื่มน้ำ (Hydration Tracking) พร้อมชูไฮไลท์ฟีเจอร์ติดตามการออกกำลังกาย ตัวช่วยสร้างนิสัยดูแลสุขภาพ ให้คนไทยก้าวข้ามทุกข้อจำกัดของการออกกำลังกาย ตอกย้ำการสร้างค่านิยมดูแลสุขภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พร้อมส่งต่อเทรนด์การใช้ชีวิตแบบ “แอคทีฟไลฟ์สไตล์” ในกลุ่มคนไทยทุกเพศทุกวัย

มร. สกาย เชน ผู้อำนวยการ การ์มิน ประเทศไทย กล่าวว่า “จากรายงานข้อมูลสุขภาพของผู้ใช้งานการ์มินชาวเอเชียในปี 2564 พบว่า คนไทยมีอัตราการเผาผลาญขณะพัก (Resting Calories) เฉลี่ยอยู่อันดับสุดท้ายเมื่อเทียบกับ 12 ประเทศในเอเชีย และมีระดับความเข้มข้นเฉลี่ยในการออกกำลังกาย (Intensity Minute) ต่อสัปดาห์เป็นที่ 2 จากสุดท้าย ในขณะที่แนวโน้มของข้อมูลยังชี้ให้เห็นว่าผู้ใช้การ์มินที่มีระดับนาทีความเข้มข้นในการออกกำลังกาย (Intensity Minute) เฉลี่ยต่อสัปดาห์มาก จะมีความสามารถในการเบิร์นแคลอรีได้มาก ซึ่งรวมถึงแคลอรีขณะแอคทีฟ (Active Calories) และแคลอรีขณะพัก (Resting Calories) จึงสามารถสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกาย (Intensity Minute) เฉลี่ยต่อสัปดาห์  และแคลอรีขณะพัก (Resting Calories) สามารถบ่งบอกถึงระดับการเผาผลาญที่ดีได้ นอกจากนี้ รายงานยังระบุถึงอัตราเผาผลาญแคลอรีขณะพัก (Resting Calories) ของผู้ใช้การ์มินที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ผู้ใช้กลุ่มนี้มีการออกกำลังกายมากกว่าเมื่อเทียบกับข้อมูลของกลุ่มคนหนุ่มสาว ซึ่งชี้ให้เห็นได้ว่าผู้ใช้งานจะใส่ใจสุขภาพมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และให้ความสำคัญกับการมีไลฟ์สไตล์ที่แอคทีฟ”

การ์มินพบว่าคนไทยมีอัตราการเผาผลาญขณะพักเฉลี่ยอยู่อันดับสุดท้าย (2,207 แคลอรี) ในปี 2564”

คนไทยยังมีระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกายเฉลี่ยอยู่อันดับรองสุดท้าย (36 นาที) ซึ่งมีความแตกต่างอย่างชัดเจนในผู้ชายและผู้หญิง

คนไทยอยู่ในอันดับสุดท้ายในด้านอัตราการเผาผลาญขณะแอคทีฟ ซึ่งลดลงจากปี 2563”

เพราะกลุ่มคนหนุ่มสาวมักจะมีข้ออ้างเสมอเมื่อถึงเวลาที่ต้องออกกำลังกาย แต่หากถามว่าทุกคนอยากเป็นเจ้าของสุขภาพที่ดีไหม คงต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ใช่ และเมื่อทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน คือ การครอบครองสุขภาพที่ดี จึงเป็นที่มาของการสานต่อ เฮลท์ แคมเปญ’ ด้วยความตั้งใจในการนำเสนอวิถีการดูแลสุขภาพในแบบฉบับ สุขภาพคือสิ่งที่คุณเลือกได้’ (Health is a choice) ผ่านการใช้ เทคโนโลยีด้านสุขภาพในสมาร์ทวอทช์ของการ์มินเพื่อติดตามสุขภาพแบบต่อเนื่อง นอกจากนี้เรายังพบว่าในขณะที่สภาพร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน แต่สิ่งเดียวที่เหมือนกัน คืออัตราการเผาผลาญของเรามีแนวโน้มที่จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น หากต้องการรักษารูปร่างหรือใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดี ระบบเผาผลาญ คือ หนึ่งในกุญแจสำคัญเพื่อให้คุณได้ครอบครองการมีสุขภาพที่ดี” มรสกาย กล่าวเสริม

8 เทคโนโลยีด้านสุขภาพในสมาร์ทวอทช์ของการ์มินเพื่อติดตามสุขภาพ ได้แก่

1)     การติดตามการเผาผลาญขณะพัก (Resting Calories) การเผาผลาญขณะพัก หรือที่เรียกว่า Resting Metabolic Rate (RMR) เป็นแคลอรีที่ร่างกายเผาผลาญอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าร่างกายจะอยู่ในสภาวะที่ไม่เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะนอน หรือ นั่ง การเผาผลาญขณะพักประกอบด้วยแคลอรีขั้นต่ำที่จำเป็นต่อความต้องการทางสรีรวิทยาพื้นฐานของร่างกาย ขึ้นอยู่กับ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก และเพศของแต่ละคน ประกอบกับค่าประมาณแคลอรีที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมต่างๆ เช่น การย่อยอาหาร และการใช้ชีวิตประจำวัน สมาร์ทวอทช์จากการ์มินที่มาพร้อมฟีเจอร์ติดตามการเต้นของหัวใจจะพิจารณาอัตราการเต้นของหัวใจและค่า VO2 Max ของผู้ใช้เพื่อช่วยในการวัดหาค่าการเผาผลาญขณะพักได้แม่นยำยิ่งขึ้น การทราบจำนวนแคลอรีที่ร่างกายต้องใช้ในแต่ละวันจะสามารถช่วยให้ผู้ใช้เลือกทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อรองรับความต้องการในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้

2)     การวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Ox Blood Sensor) การมีระดับออกซิเจนต่ำในระยะยาวอาจมีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคอ้วนและอัตราการเผาผลาญที่ลดลง ร่างกายจะรู้สึกอ่อนแรงเหมือนมี “พลังงานเหลือน้อย” ส่งผลให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ฉะนั้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกและปรับวิธีการหายใจ การมีอุปกรณ์สวมใส่ที่เชื่อถือได้ในการวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) ตลอดวัน จะช่วยให้สามารถดูแลสุขภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น

3)     การติดตามการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Function) ผ่านฟีเจอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate) การฝึกการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดจะสามารถพัฒนาอัตราการเผาผลาญของร่างกายและรักษาสมรรถภาพการทำงานของหัวใจและปอดให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ขณะที่ออกกำลังกาย อัตราการเต้นของหัวใจที่ต่างกันจะมีผลกับร่างกายของแต่ละคนต่างกัน การใช้ช่วงอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อวัดความเข้มข้นของการออกกำลังกายนั้น จะช่วยรักษาสมรรถภาพหัวใจและหลอดเลือดให้ดีขึ้นได้ นอกจากนี้ เมื่ออัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอยู่ระหว่างช่วง 65% ถึง 79% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญไขมันในร่างกายได้

4)     การติดตามระดับความเครียด (Stress Tracking) ความเครียดที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดความกังวลเรื่องสุขภาพที่ซ่อนอยู่และอาจส่งผลต่อระบบเผาผลาญ สมาร์ทวอทช์จากการ์มินสามารถประเมินระดับความเครียดโดยรวมของร่างกายได้ด้วยการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อเปิดใช้งาน ตัววัดระดับความเครียดจะกระตุ้นให้หยุดพักเพื่อผ่อนคลายหากพบว่ามีความเครียดสูง

5)     การฝึกความแข็งแรง (Strength Training) การเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อจะช่วยพัฒนาอัตราการทำงานของระบบเผาผลาญ กล้ามเนื้อจะช่วยเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนหลังการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายสามารถคงสภาวะที่ดีไว้ได้ สมาร์ทวอทช์จากการ์มินมาพร้อมโหมดการออกกำลังกายในตัวรวมถึงการออกกำลังกายแบบเข้มข้น (HIIT) การฝึกความแข็งแรง ฯลฯ โดยผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดแผนการออกกำลังกายไว้ในสมาร์ทวอทช์ได้ผ่านแอปพลิเคชัน Garmin Connect และฝึกฝนตามแอนิเมชันจากหน้าปัดนาฬิกาบนข้อมือ

6)     การวัดอายุของสุขภาพ (Fitness Age) เป็นค่าประมาณของระดับความฟิตของร่างกายเมื่อเทียบกับอายุจริง โดยการปรับปรุงการทำงานของการเผาผลาญด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสม สามารถทำให้ร่างกายมีอายุสุขภาพน้อยกว่าอายุจริงได้ ฟีเจอร์นี้สามารถคำนวณได้จากอายุจริง กิจกรรมที่ออกกำลังกายในแต่ละสัปดาห์ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก และดัชนีมวลกายหรือเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย เพื่อประเมินว่าร่างกายของผู้ใช้มีอายุสุขภาพน้อยกว่าหรือแก่กว่าอายุจริง นอกจากนี้ Garmin Connect ยังช่วยตั้งเป้าหมายอายุสุขภาพที่ร่างกายสามารถบรรลุได้ พร้อมเคล็ดลับการออกกำลังกายเพื่อลดอายุสุขภาพ

7)     การติดตามการนอนหลับ (Sleep Monitoring) การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอหรือคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ได้คุณภาพอาจส่งผลต่อการเผาผลาญของร่างกาย และอาจส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกด้วย การติดตามการนอนหลับเป็นการวิเคราะห์อัตราการเต้นของหัวใจ ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด อัตราการหายใจ และข้อมูลกิจกรรม ตั้งแต่เวลาที่เข้านอน ร่างกายจะผ่านวงจรการนอนหลับตั้งแต่ การนอนหลับ การนอนหลับลึก ตลอดจนการเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างรวดเร็ว (REM) และกระบวนการนอนทั้งหมดจะผ่านวงจรเหล่านี้หลายครั้ง นอกจากนี้ยังสามารถตรวจจับคุณภาพการนอนหลับของผู้ใช้ในแต่ละขั้นตอนและคำนวณค่าทางสรีรวิทยาเพื่อให้คะแนนคุณภาพการนอนหลับ และคำแนะนำแก่ผู้ใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพการนอนให้ดีขึ้นได้

8)     การติดตามการดื่มน้ำ (Hydration Tracking) ระบบเผาผลาญของร่างกายจะสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นเมื่อได้รับน้ำที่เพียงพอ และการดื่มน้ำให้เพียงพอสามารถช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญได้ สมาร์ทวอทช์จากการ์มิน ช่วยเก็บบันทึกการดื่มน้ำในแต่ละวันและเตือนให้ผู้ใช้ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน และยังสามารถตั้งค่าให้มีการปรับเป้าหมายการดื่มน้ำแบบอัตโนมัติตามปริมาณการเสียเหงื่อของร่างกายในระหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ

พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล แพทย์วุฒิบัตรเวชศาสตร์ชะลอวัย (สหรัฐอเมริกา) กล่าวว่า “ระบบเผาผลาญ หรือ เมแทบอลิซึม คือ หนึ่งในกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี ซึ่งระบบเผาผลาญนี้ คือ กระบวนการที่ร่างกายนำอาหารที่รับประทานเข้าไป เปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อใช้ดำรงชีวิต และทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ และถึงแม้ว่าร่างกายของทุกคนจะมีความแตกต่างกัน แต่เมื่อมีอายุที่มากขึ้น ร่างกายของคนส่วนใหญ่จะมีมวลกล้ามเนื้อที่ลดลง ผนวกกับฮอร์โมนที่สำคัญต่อร่างกายที่ลดลง อย่างโกรทฮอร์โมน ส่งผลให้ระบบเผาผลาญของเราจะทำงานได้น้อยลง ซึ่งสามารถส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น จนเกิดเป็นภาวะอ้วนลงพุง อีกทั้งยังทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ ฯลฯ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมระบบเผาผลาญถึงสำคัญ”

“การดูแลรักษาและช่วยชะลออัตราการเผาผลาญที่ลดลง สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มอัตราการเคลื่อนไหวระหว่างวันให้มากขึ้น การพักผ่อนให้เพียงพอ การดื่มน้ำในปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน การกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสม การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะนอกจากที่การออกกำลังกายจะช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญแล้ว การออกกำลังกายยังไปกระตุ้นให้เกิดการทำงานของระบบเผาผลาญส่วนที่มาจากการออกกำลังกายอีกด้วย โดยการออกกำลังกายที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ การออกกำลังกายแบบคาดิโอ เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน การกระโดดเชือก เป็นอย่างน้อย 150 – 300 นาทีต่อสัปดาห์ และการออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ เช่น บอดี้เวท ฟรีเวท โยคะ เป็นอย่างน้อย 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์”

“อุปกรณ์ของการ์มินที่สามารถติดตามสุขภาพและการออกกำลังกายได้แบบ 24 ชั่วโมงทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ การติดตามการเผาผลาญขณะพัก (Resting Calories) การวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Ox Blood Sensor) การติดตามการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Function) การติดตามระดับความเครียด (Stress Tracking) การฝึกความแข็งแรง (Strength Training) การวัดอายุของสุขภาพ (Fitness Age) การติดตามการนอนหลับ (Sleep Monitoring) และการติดตามการดื่มน้ำ (Hydration Tracking) จึงเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับมือใหม่หัดดูแลสุขภาพ เพราะเมื่อเรารู้สถานะสุขภาพที่แท้จริงของเราแล้ว การวางแผนดูแลสุขภาพจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป” พญ. ธิดากานต์ กล่าว

เริ่มต้นการดูแลสุขภาพและเอาชนะใจตัวเองตั้งแต่วันนี้ พร้อมติดตามสุขภาพและออกกำลังกายแบบครบวงจรด้วยสมาร์ทวอทช์จากการ์มิน[1] ไม่ว่าจะเป็น สินค้าซีรีย์ VENU 2 สินค้าซีรีส์ VENU SQ สินค้ารุ่น LILY สินค้าซีรีส์ VÍVOACTIVE สินค้าซีรีส์ VÍVOMOVE และสินค้ารุ่น INDEX S2 เครื่องชั่งน้ำหนักอัจฉริยะ ติดตามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3bm75Gq ติดตามข่าวสารและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊กแฟนเพจ Garmin Thailand และอินสตาแกรม Garmin Thailand


[1] อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะและอุปกรณ์เสริมของ Garmin ไม่ใช่อุปกรณ์ทางการแพทย์ และมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ควรใช้เพื่อวินิจฉัย บำบัด รักษา หรือป้องกันโรคใด