GapMaps แมปปิ้งซอฟต์แวร์จากออสเตรเลียเติบโตในไทย จากภาคธุรกิจค้าปลีกและอาหารจานด่วนที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก

GapMaps ผู้เชี่ยวชาญด้านแมปปิ้งซอฟต์แวร์บนคลาวด์จากออสเตรเลีย ที่เปรียบเสมือนเครื่องมือช่วยเหลือองค์กรธุรกิจด้วยกลยุทธ์การใช้แผนด้านเครือข่ายและการวางแผนด้วยข้อมูลทำเลที่ตั้งในแต่ละพื้นที่ได้อย่างชาญฉลาด ปัจจุบัน GapMaps กำลังขยายธุรกิจไปทั่วโลกโดยตั้งเป้าหมายขยายไปยัง 21 ประเทศรวมถึงประเทศไทย

แม้ว่าจะอยู่ในช่วงของโควิด-19 กลุ่มธุรกิจค้าปลีกก็ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบความต้องการใหม่ๆ ของลูกค้า รวมถึงมีการสร้างช่องทางการตลาดใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น สำหรับประเทศไทย GapMaps เติบโตอย่างแข็งแกร่งในส่วนของธุรกิจจัดส่งอาหารจานด่วน ซึ่งธุรกิจกลุ่มนี้โดยปกติมีความต้องการข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลเชิงลึกในการช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถวางแผน และมองเห็นศักยภาพของตลาดที่กำลังเติบโตได้ดียิ่งขึ้น

แอนโธนี่ วิลลันธี ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ GapMaps กล่าวว่า “นับตั้งแต่ปี 2551 เรารุกเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้นถึง 5 แหล่งในแต่ละปี สร้างรายได้ที่เติบโตในระดับตัวเลขสองหลักเมื่อเปรียบเทียบกันแบบปีต่อปี การเติบโตดังกล่าว เพราะซอฟต์แวร์ของ GapMaps ใช้งานง่าย และสามารถสร้างแผนที่ที่มีรายละเอียดและซับซ้อนมากได้ โดยมีข้อมูลเชิงประชากร รวมถึงข้อมูลของภาครัฐและอุตสาหกรรมล่าสุด ในการช่วยลูกค้าเลือกสถานที่ตั้งทำเลที่เหมาะสมกับความต้องการทางธุรกิจโดยเฉพาะ”

แอนโธนี่ กล่าวเสริมว่า “วันนี้ เรามีแบรนด์ต่างๆ ที่นำเอา GapMaps มาใช้งานประมาณ 500 แบรนด์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเลือกทำเลที่ตั้ง เช่น ฟิตเนส สถานีบริการน้ำมัน ร้านขายของชำ ร้านอาหารจานด่วน ศูนย์การค้า และร้านสะดวกซื้อ”

ทิม ชอว์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนการตลาด ของ GapMaps กล่าวว่า “ลูกค้าชาวออสเตรเลียของเราหลายราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบรนด์ระดับโลก ได้สนับสนุนให้ GapMaps เปิดตลาดใหม่ๆ เพื่อให้กลุ่มธุรกิจสามารถใช้ GapMaps ในต่างประเทศได้ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เราตัดสินใจว่าจะขยายธุรกิจไปที่ประเทศใดบ้าง”

ส่วนในประเทศไทย ที่กำลังจะผ่านพ้นช่วงของการกักกันจากการระบาดของเชื้อ โควิด-19 GapMaps เฝ้าสังเกตและติดตามสถานการณ์พฤติกรรมของผู้บริโภคใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นในพื้นที่ภาคกลาง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า และย่านค้าปลีกอื่นๆ

“สิ่งที่ยังคงน่าสนใจก็คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลังจาก โควิด-19 ยังคงมีความไม่แน่นอน” ชอว์กล่าวเสริมว่า “และสิ่งที่เราคาดไว้ก็คือ ความไม่แน่นอนที่เกิดในประเทศต่างๆ เนื่องจากความแตกต่างในข้อกำหนดในการล็อคดาวน์หรือแม้กระทั่งการคลายและยกเลิกข้อกำหนด อย่างไรก็ตาม เราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในจังหวะการฟื้นตัวระหว่างห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และขนาดเล็กในเขตภาคกลาง ซึ่งพบเห็นความไม่สอดคล้องกันระหว่างพื้นที่ใจกลางเมืองขนาดใหญ่เปรียบเทียบกับใจกลางเมืองขนาดเล็กกว่าและหัวเมืองของแต่ละภูมิภาค”

“เมื่อแบรนด์มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ หมายความว่าแบรนด์สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการจัดการวางแผนฟื้นฟูสาขาร้านค้าเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายใต้ “วิถีใหม่” ที่เกิดขึ้นทั่วโลกภายหลังการระบาดของเชื้อโควิด-19 ครั้งนี้”

ลูกค้าของ GapMap ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นแบรนด์ต่างๆ เช่น Domino’s, KFC, Starbucks, Burger King, Subway และ McDonalds Eat’n’Go แฟรนไชส์ของ Domino’s, Cold Stone และ Pinkberry ในเคนยาและไนจีเรีย ล้วนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกที่ GapMaps มอบให้

แพท แมคไมเคิล กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Eat’n’Go กล่าวว่า “GapMaps มีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการสร้างข้อมูลตำแหน่งและข้อมูลเชิงลึกคุณภาพสูงในประเทศที่การจัดการข้อมูลมีความท้าทายเป็นอย่างมากได้ ทั้งนี้ คุณภาพของข้อมูลและแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่ายของ GapMaps ช่วยให้เราสามารถขยายสู่ตลาดโลกและช่วยให้กระบวนการวางแผนขยายเครือข่ายที่ก่อนหน้านั้นทำได้ยากสามารถจัดการได้อย่างง่ายมากขึ้น”

กลยุทธสร้างการเติบโต

ชอว์ กล่าวเสริมว่า “นอกจากนี้ GapMaps ยังมองเห็นโอกาสในการเติบโตที่สำคัญ เราเดินหน้าและทำตลาดเชิงรุกและสร้างฐานลูกค้าในท้องถิ่น การมีข้อมูลจาก GapMaps และการทำตลาดเชิงรุก เป็นปัจจัยผสมผสานที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นกลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตที่ดีให้กับธุรกิจ”

“ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร้านอาหารจานด่วนเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่เติบโตเร็วที่สุด แม้ว่าการเติบโตของประชากรจะชะลอตัวลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่การเติบโตของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นถึงสี่เท่า ซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการลงทุนของร้านค้าและแหล่งช้อปปิ้งจากแบรนด์ระดับโลก”

การเข้าถึงข้อมูลประชากรในบางประเทศนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะข้อมูลสำมะโนประชากรที่มีอยู่มีอายุมากกว่าหนึ่งทศวรรษ และข้อมูลนั้นมักจะกว้างเกินไปและไม่สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการทำเลที่ตั้งในแต่ละท้องถิ่นได้

ชอว์ กล่าวเสริมว่า “GapMaps มีคุณสมบัติที่ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลประชากร ข้อมูลอุตสาหกรรม และข้อมูลภาครัฐในแต่ละประเทศ เพื่อให้มีข้อมูลเชิงลึกและละเอียดมากพอ สามารถเจาะลึกลงพื้นที่ระยะทาง 100 – 250 เมตร เพื่อระบุพื้นที่ในการตั้งหน้าร้านที่เหมาะสม คุณสมบัติเหล่านี้ ช่วยให้ลูกค้ามีกระบวนการวางแผนการตลาดและสร้างประสบการณ์แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในออสเตรเลีย”

ภาคธุรกิจวางแผนขยายตัว

ชอว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกเหนือจากภาคธุรกิจค้าปลีกแล้ว GapMaps วางแผนขยายไปสู่ภาคอุตสาหกรรมสำคัญอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในออสเตรเลีย เช่น กลุ่มการดูแลผู้สูงอายุ การแพทย์ และสุขภาพ เนื่องจากข้อมูลในประเทศเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น สำหรับการทำตลาดในประเทศไทย เรามุ่งเน้นที่ภาคธุรกิจค้าปลีกและจัดส่งอาหาร ซึ่ง GapMaps สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าได้ทันที”

“แม้ว่าการแพร่ระบาดจะส่งผลกระทบต่อหมวดค้าปลีก เช่น อาหารและการดูแลสุขภาพ แต่อย่างไรก็ดี สถานการณ์ดังกล่าวได้ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่แบรนด์ระดับโลกและแบรนด์ท้องถิ่นได้ใช้เวลาในการเริ่มต้นใหม่ คิดตริตรองและประเมินกลยุทธ์ใหม่ ในการวางแผนเครือข่ายและการตัดสินใจเกี่ยวกับการวางทำเลที่ตั้ง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับช่วงเวลาหลังล็อกดาวน์”

GapMaps จัดตั้งทีมที่ปรึกษาเพื่อดูแลลูกค้าในทุกตลาด ทีมงานนี้ เป็นทีมเดียวกันกับที่สร้างแพลตฟอร์ม GapMaps และให้บริการคำปรึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและการวิจัยเพื่อช่วยเหลือลูกค้าด้วยข้อมูลเชิงลึก กลยุทธ์ และแผนธุรกิจใหม่ๆ

เกี่ยวกับ GapMaps

GapMaps ก่อตั้งขึ้นในปี 2556 โดยผู้ก่อตั้งชาวออสเตรเลียและสร้างบริษัทให้มีศักยภาพขยายสู่ตลาดโลก ด้วยคุณสมบัติของ GapMaps ที่ทำให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถปรับแต่งกลยุทธ์เครือข่ายของตนด้วยระบบข้อมูลตำแหน่งที่ตั้ง และข้อมูลประชากร โดยมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายสามารถปรับให้เข้ากับตลาดหรืออุตสาหกรรมใดๆ ได้ง่าย ปัจจุบันมีแบรนด์มากกว่า 500 แบรนด์ใช้งาน GapMaps ได้อย่างมีประสิทธิภาพในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ซึ่งให้ข้อมูลอัจฉริยะด้านตำแหน่งที่ตั้ง ที่เอื้อต่อการตัดสินใจทางธุรกิจที่แม่นยำยิ่งขึ้น