กูรูจักรวาล Metaverse ระดับโลกชี้ Metaverse มีศักยภาพไร้ขีดจำกัด พร้อมนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่โลกในทุกมิติ

ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเห็นพ้อง Metaverse เทคโนโลยีโลกเสมือนสุดล้ำมีศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัดทั่วโลกมุ่งวิจัยต่อยอดการสร้างอาณาจักรใหม่ เน้นนำมาเชื่อมโยงกับโลกแห่งความจริงให้พัฒนาไปสู่ความสุขที่ยั่งยืนได้จริงในทุกมิติ

·         งานฟอรั่ม Metaverse Unlimited เปิดมิติใหม่แห่งองค์ความรู้ ร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนเข้าร่วม Translucia Metaverse

·         กูรู Metaverse ชั้นแนวหน้าจากทั่วโลกชี้แนวโน้ม Metaverse สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ Translucia ที่เน้น เชื่อมต่อโลกแห่งความจริงและโลกเสมือน เพื่อสร้างความสุข สมดุลอันยั่งยืนให้กับทุกคน

·         เมกาเทรนด์ Metaverse ปรากฏการณ์ใหม่ กำลังมาเปลี่ยนแปลงโลกในทุกมิติ เพื่อคุณภาพชีวิต สังคม เศรษฐกิจและการศึกษาที่ดีขึ้น

·         ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเรียกร้องทุกภาคส่วนให้ร่วมพัฒนากฎกติกาให้ทุกคนใช้งาน Metaverse อย่างมีความรับผิดชอบ

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (Metaverse) ชั้นแนวหน้าจากนานาชาติ ระบุว่า Metaverse มีศักยภาพไร้ขีดจำกัด สามารถนำมาช่วยเปลี่ยนแปลงโลกในทุกมิติ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต แก้ปัญหาเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา สาธารณสุข ไปจนถึงสร้างสันติภาพให้กับมวลมนุษยชาติในบริบทโลกแห่งความจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เหล่ากูรูระดับโลกมารวมตัวกันในงาน ‘Metaverse Unlimited’ ฟอรั่มออนไลน์ด้าน Metaverse ระดับโลกครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 15-16 ธันวาคม ที่ผ่านมา จัดโดย Translucia Metaverse บริษัททีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด ในงานนี้วิทยากรทุกท่านร่วมแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์และโครงการวิจัยต่าง ๆ ซึ่งล้วนมุ่งขับเคลื่อนอาณาจักรโลกเสมือนให้มาบรรจบกับโลกแห่งความเป็นจริงเพื่อทำให้โลกพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น

พีพี-พัทน์ ภัทรนุธาพร ผู้ช่วยนักวิจัยและนวัตกรชาวไทยจากสถาบัน MIT Media Lab ระบุว่าทิศทางการพัฒนาของ Metaverse กำลังก้าวไปสู่จุดที่สามารถประมวลผล ระบุปัญหา หาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนทำการผลิตสิ่งที่บริโภคได้จริงในโลกความเป็นจริงได้ในอุปกรณ์ชิ้นเดียว

ในงานฟอรั่ม Metaverse Unlimited พีพี ยกตัวอย่างงานเทคโนโลยีชีวภาพของสถาบัน MIT Media Lab ที่อยู่ระหว่างการวิจัยขณะนี้ว่าเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะใช้สวมใส่เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพได้อย่างครบวงจร โดยอุปกรณ์นี้เรียกว่า wisdom device สามารถตรวจจับความเจ็บป่วย บ่งชี้การทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของผู้สวมอุปกรณ์ได้อย่างแม่นยำ สามารถวินิจฉัยโรคพร้อมผลิตยาขึ้นมารักษาอาการดังกล่าวได้ด้วยตัวเอง

พีพี ยังเสนอไอเดียอีกว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถนำมาใช้ปฏิวัติระบบการศึกษาได้ ยกตัวอย่างเช่นการใช้ AI สร้างคาแรคเตอร์ในโลกเสมือนเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ อย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หรือตัวละครดังอย่างแฮรี่ พ็อตเตอร์ เป็นครูสอนหนังสือให้กับเด็ก ๆ แทนที่การใช้ครูจริง “วิธีนี้จะช่วย เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ออนไลน์” เพราะนักเรียนมีความรู้สึกเชื่อมโยงกับคาแรคเตอร์เหล่านี้” พีพี กล่าว

เจเรมี ไบเลนซัน ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการ Virtual Human Interaction มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวเสริมว่า VR ส่งผลดีต่อการพัฒนาเชิงสังคมได้จริง โดยเขายกตัวอย่างการศึกษาของสถาบัน ซึ่งทำการวิจัยโดยให้นักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับอวตารของตนเอง ซึ่งอวตารนี้มีวัย เพศและเชื้อชาติที่ต่างจากตัวตนที่แท้จริง จากผลจากการศึกษาพบว่าประสบการณ์นี้ช่วยให้นักเรียนมีความเห็นอกเห็นใจคนที่มีภูมิหลังต่างจากตนเองมากขึ้น

นอกจากนี้ เทคโนโลยี VR ยังช่วยกระตุ้นสำนึกคนให้ร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใส่ใจปรับปรุงความรู้พื้นฐานที่จำเป็นของตนเองมากขึ้น เพราะ ในโลกเสมือนจริง คนสามารถลงมือทำสิ่งต่าง ๆเรียนรู้ประสบการณ์บางอย่าง ที่ในโลกความจริงคนเราไม่สามารถทำได้

เทคโนโลยีนี้จะช่วยเปลี่ยนมุมมองที่คุณมีต่อผู้อื่น” เจเรมี กล่าว และเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณเห็นโลกในมุมมองใหม่ได้

เดวิด เบร ผู้บริหารสูงสุด องค์กร LeadDoAdapt Ventures และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบัน Stimson Center และ Atlantic Council ชี้ว่าเทคโนโลยี Metaverse สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมสันติภาพและแก้ปัญหาสังคมโดยการเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่อาศัยในอีกมุมโลกได้ออกเดินทางทำความรู้จักผู้คนต่างถิ่น ต่างวัฒนธรรมทั่วทุกมุมโลกและสามารถมีส่วนร่วมกับพลเมืองท้องถิ่นนั้น ๆในโลกเสมือนจริงได้โดยไม่ต้องเดินทางไปด้วยตนเอง

เดวิด ย้ำว่าประสบการณ์เสมือนจริงที่คนได้รับจากโลก Metaverse นี้จะช่วยให้ผู้คนตระหนักรู้ถึงปัญหาข้อขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำและอคติที่ผู้คนในประเทศเหล่านั้นกำลังเผชิญอยู่ ทำให้มีความเข้าใจกันมากขึ้น

ขณะเดียวกัน วิทยากรเจ้าของฉายา เจ้าแม่โลกเสมือนจริง (Godmother of Metaverse) ในวงการแบรนด์ดิ้งระดับโลก เคธี่ แฮ็กเคิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานบริหารเมตาเวิส เดอะ ฟิวเจอร์ส อินเทลลิเจนท์กรุ๊ป (The Futures Intelligent Group) ให้นิยาม “Metaverse” ว่า เป็นที่หลอมรวมโลกดิจิทัลกับโลกจริงเข้าไว้ด้วยกัน เป็นที่ที่ทุกสิ่งเป็นไปได้และให้โอกาสไม่มีที่สิ้นสุด

เคธี่ กล่าวว่า Metaverse เป็นโลกใบใหม่ที่เกิดจากการผสานเทคโนโลยีหลากแขนงเข้าไว้ด้วยกัน อาทิเช่น AR, VR, Blockchain, non-fungible tokens (NFT) เป็นต้น ทำให้จักรวาลโลกเสมือนนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในหลายรูปแบบ ไม่ใช่เกมออนไลน์แต่ยังใช้ในอุตสาหกรรมความบันเทิงรูปแบบอื่น ๆรวมถึงการสร้างแบรนด์ การตลาด ให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของโลกความจริงได้ เคธี่มองว่า Metaverse ควรเป็นโลกที่ทุกคนมีส่วนร่วมสร้าง พัฒนาและนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ

“ที่นี่มันไม่ได้มีแค่เทคโนโลยีเดียวและไม่ใช่แค่บริษัทเดียว” เคธี่ยังย้ำอีกว่า “ในโลกเสมือนนี้ ไม่มีใครควรต้องถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” ที่จักรวาล Metaverse พวกเราทุกคนคือผู้ร่วมสรรค์สร้าง

ขณะเดียวกัน อัลเลน เชสไน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์ข้อมูลและงานคอมพิวเตอร์กราฟิก ผู้อยู่เบื้องหลัง Maya 3ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างฉากใน หนังดัง “Avatar” ระบุว่า Metaverse ไม่ใช่สิ่งใหม่ แท้จริงแล้วมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ทำการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีนี้มานานกว่าห้าทศวรรษแล้ว แต่มาเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายจากการพัฒนาขึ้นเป็นเกมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้เกมเมอร์สร้างอวตารของตนเองได้ในโลกเสมือนจริงจึงได้รับความนิยมอย่างสูง จนมีการพัฒนาไปสู่แพลตฟอร์มต่าง ๆ รวมถึงสร้างชุดอุปกรณ์ล้ำสมัยขึ้นมารองรับความต้องการ

อัลเลน เสริมว่า ทุกวันนี้ จักรวาลโลกเสมือนได้วิวัฒนาการมาถึงจุดที่ทุกคนต่างต้องมีส่วนเกี่ยวข้องไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ ผู้เล่นรายใหญ่ ๆ ในวงการเทคโนโลยี จึงควรยอมรับมาตรฐานการจัดการคอนเทนต์และการใช้งานร่วมกั

ในวงการสถาปัตยกรรมก็มีการนำเทคโนโลยีโลกเสมือนมาใช้ในการออกแบบเช่นกัน โดยไม่เพียงแค่ตอบโจทย์เรื่องความสวยงามสนองความต้องการของผู้อยู่ได้ตรงตามความต้องการเท่านั้น ยังช่วยคงคุณค่าเชิงวัฒนธรรมได้อีกด้วย เศณวี ชาตะเมธีวงศ์ ผู้ก่อตั้ง DesireSynthesis สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม กล่าว

เศณวี กล่าวว่า การสร้างงานออกแบบในโลกเสมือนจริงช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการออกแบบบ้านของตนเองได้อย่างแท้จริงและมีความเข้าใจที่ถูกต้องผ่านประสบการณ์ที่ได้รับในโลกเสมือน อีกทั้งยังช่วยให้คนทำงานมีความเข้าใจตรงกันตลอดทั้งกระบวนการตั้งแต่ผู้ออกแบบ ผู้ก่อสร้าง ผู้อยู่อาศัย จึงลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาและความสูญเสียได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

นอกจากนี้เทคโนโลยีนี้ยังช่วยให้เขาสร้างผลงานออกแบบที่ผสมผสานองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมไทยเดิมให้เข้ากับงานแนวโมเดิร์นได้อย่างลงตัว เขามองว่าในอนาคต คนไทยจะสามารถเก็บรักษามรดกงานฝีมือแบบไทยเดิมไว้ในจักรวาลโลกเสมือน ซึ่งจะช่วยให้คนรุ่นต่อไปเข้าใจประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของไทยได้ดียิ่งขึ้น

ชาเจย์ บูซาน กรรมการบริหาร จากบริษัทออกแบบชื่อดัง Zaha Hadid Architects เสริมว่าการใช้ Metaverse ในงานออกแบบจะแปลงสภาพเมืองใหญ่ที่แออัดด้วยรถราและเครื่องจักรให้กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับผู้คนได้ สร้างชุมชนเมืองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และประชากรจำนวนมากสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ชาเจย์เสนอไอเดียว่า นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สามารถใช้ประโยชน์จากชุมชนเกมออนไลน์ที่มีคนอยู่ร่วม 3 พันล้านคนให้เข้ามีส่วนร่วมแบ่งปันความคิดและมุมมองเกี่ยวเมืองที่น่าอยู่สำหรับผู้คนควรมีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง เขาย้ำว่าวิธีการนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างมีความรับผิดชอบอีกด้วย

ถึงแม้การพัฒนาเทคโนโลยีสุดล้ำจะนำมาซึ่งคุณประโยชน์มหาศาล ผู้ใช้งานควรใช้งานอย่างระมัดระวัง และอยู่ภายใต้กรอบกติกาที่ดีงามร่วมกัน มีความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อป้องกันระวังภัยคุกคามจากเทคโนโลยี

ดี.ฟ็อก แฮร์เรล ผู้อำนวยการสถาบัน MIT Center for Advanced Virtuality กล่าวในฟอรั่มว่าเทคโนโลยี AI มีคุณอนันต์และสามารถเป็นภัยคุกคามได้เช่นกัน โดยเขายกตัวอย่างงานวิจัยในสถาบัน เกี่ยวกับอคติของผู้คนในสังคม ทั้งเรื่องเชื้อชาติ สีผิวและเพศ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในเกมออนไลน์และโซเชี่ยลมีเดีย

“อคติเชิงลบสามารถแฝงตัวเข้าสู่จักรวาลโลกเสมือนได้ หากผู้ใช้ขาดความระมัดระวัง ดี.ฟ็อก แฮร์เรล อ้างอิงถึงผลการศึกษาของเขา ซึ่งพบว่า ผู้เล่นเกมออนไลน์สามารถเผยอคติของตนในเรื่องเชื้อชาติและเพศเข้าไปสู่ชุมชนเกมออนไลน์ ส่งผลเสียต่อพัฒนาการของเด็กซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ในชุมชนดังกล่าว

แอสลีย์ คาโซแวน กรรมการบริหารของ Responsible AI Institute องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ส่งเสริมการใช้ “AI อย่างมีความรับผิดชอบ” ย้ำประเด็นปัญหาเกี่ยวกับผู้ใช้เทคโนโลยีว่ามีการเผยแพร่อคติเชิงลบเข้าไปสู่โลกเสมือนจริงเช่นกัน เธอยกตัวอย่างกรณีการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงจำแนกผู้ใช้งานเรื่องรสนิยมทางเพศ สีผิว และตั้งโปรแกรมวิธีการทำงานที่แสดงอคติของตนเอง ส่งผลให้เกิดการปฏิบัติต่อกันอย่างไม่เท่าเทียมผ่านเทคโนโลยี เกิดการจำกัดการเข้าถึงบริการพื้นฐาน รวมถึงมีการสร้างความขัดแย้งด้วย Chatbots ที่ถูกโปรแกรมให้ใช้คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง

ด้วยเหตุนี้ แอสลีย์ จึงเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันใช้งาน Metaverse อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่ร่วมกันภายใต้มาตรฐานและการกำกับดูแลที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าจักรวาลโลกเสมือนจะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึงกัน

ขณะเดียวกัน วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ จีน ลิม ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท BeingAI และเป็นหนึ่งในผู้สร้างสรรค์หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ชื่อดัง “โซเฟีย” ระบุว่า ความกังวลเกี่ยวกับหุ่นยนต์ AI ว่าจะเป็นภัยต่อมนุษย์นั้นเป็นเพราะขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ AI ในทางตรงกันข้าม สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FutureTales Lab By MQDC) และ Foresight Researcher ในงาน Metaverse Unlimited กล่าวว่าด้วยองค์ความรู้ที่วิทยากรทุกท่านนำมาร่วมแบ่งปันกันในครั้งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าวิสัยทัศน์ของดร.ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งบริษัททีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ก่อตั้ง Translucia Metaverse นั้นเป็นจริงได้ โดยดร.ชวัลวัฒน์ ตั้งเป้าสร้างอาณาจักรโลกเสมือนจริงให้เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างโลกแห่งความจริงและโลกเสมือนจริง เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาการสร้างความสุข อันยั่งยืนด้วยการสร้างสมดุลให้กับสังคมและเศรษฐกิจ

“องค์ความรู้และไอเดียต่าง ๆจากงานฟอรั่มนี้ได้ร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนทั่วโลกเข้าร่วมโครงการ Metaverse ของเรา ที่ Translucia Metaverse แห่งนี้ จินตนาการจะกลายเป็นจริง” ดร.การดี กล่าวสรุปในตอนท้าย