ปัจจุบัน “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาธุรกิจและเสริมศักยภาพให้องค์กรทั่วโลก มีหลายองค์กรในประเทศไทยส่วนใหญ่ลุกขึ้นมาให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยี เข้ามาช่วยต่อยอดการเติบโตของธุรกิจเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการจะทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่นนั้น จำเป็นต้องเริ่มจากการวางกลยุทธ์ พร้อมมองหาเทคโนโลยี หรือ โซลูชั่น ที่เหมาะสมมาใช้พัฒนาองค์กรแน่นอนว่าจำเป็นจะต้องมี “ผู้เชี่ยวชาญ” มาช่วยวางกลยุทธ์ และจับคู่เครือข่ายทางเทคโนโลยี (Business Matching) เพื่อเป็น “ทางลัด” สำหรับการเตรียมความพร้อมให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปได้อย่างเติบโตและยั่งยืนในยุคดิจิทัลนี้
น.ส.บุญศิริ หัสสรังสี กรรมการผู้จัดการบริษัท สเฟียร์เอท จำกัด (SPHERE8) บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการวางกลยุทธ์พัฒนาธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลและการจับคู่ทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนกล่าวว่า เรามองว่าไม่ช้าก็เร็วทุกองค์กรต้องทรานส์ฟอร์มและปรับตัวเพื่อก่อให้เกิด Innovative Culture ภายในองค์กร เพื่อจะสามารถทำงานร่วมกับบริษัทข้ามชาติหรือสตาร์ทอัพได้ดียิ่งขึ้นและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ซึ่งหากองค์กรใดเตรียมพร้อมก่อนหรือปรับตัวได้ก่อนจะมีความได้เปรียบในอนาคตบริษัทฯ จึงเห็นโอกาสที่จะช่วยผลักดันธุรกิจไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วย 5 กลยุทธ์การทำงานที่สำคัญ นั่นคือ 1. การจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) 2. การนำ “เทคโนโลยี” มาใช้ 3. เรามี “เครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ” ให้การสนับสนุน 4. การวางกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ จนเกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจใหม่ๆ และ 5. ทักษะและประสบการณ์ความเป็นมืออาชีพในการประสานงานและเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงบริษัทลดข้อจำกัดทางภาษาและวัฒนธรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนในระยะยาว
“จุดเด่นของสเฟียร์เอทคือการทำงานร่วมกับองค์กรในเชิงปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกลยุทธ์และแผนงานที่วางไว้ โดยบริษัทฯจะมีส่วนร่วมตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา หรือช่วยมองหาโอกาสในการพัฒนาและขยายธุรกิจ จากนั้นจึงเฟ้นหาเทคโนโลยีหรือโซลูชั่นที่ตอบโจทย์จากเครือข่ายทั่วโลก และวางแผนนำเทคโนโลยีเหล่านั้นเข้ามาประยุกต์ใช้กับองค์กร นอกจากกลยุทธ์เชิงธุรกิจแล้วบริษัทฯ ยังให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีหรือโซลูชั่นนั้นๆ เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จไปได้ด้วยดีและเพื่อให้การทำงานร่วมกันในอนาคตเป็นไปได้อย่างราบรื่นในระยะยาวและมีประสิทธิภาพ” ซีอีโอสเฟียร์เอท กล่าว
น.ส.บุญศิริยังระบุต่อถึงแนวทางการทำตลาดในปีนี้ว่า บริษัทฯ วางเป้าทำรายได้เพิ่มขึ้น 20% โดยตลอด 2 ปีที่ผ่านมาบริษัทฯ มีความพร้อมที่จะรุกตลาด เพื่อขยายฐานลูกค้าองค์กรใหม่ๆ มากขึ้น ผ่านเครือข่ายต่างๆ ที่มี รวมทั้งการทำ seminar/webinar กับพาร์ทเนอร์เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าธุรกิจต่างๆ มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีแผนจะประชาสัมพันธ์บริษัทฯ ผ่านการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่น นอกจากนี้ ในช่วงปลายไตรมาสที่ 2-3 บริษัทฯ ตั้งใจจะขยายธุรกิจไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นสตาร์ทอัพ โดยมุ่งเน้นไปที่การผลักดันและช่วยเหลือสตาร์ทอัพไทย ตั้งแต่การให้คำปรึกษาทางธุรกิจไปจนถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยช่องทางที่มองไว้ คือ ผ่านทางหน่วยงานของภาครัฐ มหาวิทยาลัย นักลงทุน และพาร์ทเนอร์ของเราที่อยู่ในระบบนิเวศทั้งในไทยและต่างประเทศ
“สเฟียร์เอท มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เราทำงานเป็นที่ปรึกษาให้ทั้งหน่วยงานภาครัฐบริษัทชั้นนำของประเทศไทยรวมถึงสตาร์ทอัพ และบริษัทฯ ยังมีประสบการณ์ในการดำเนินโครงการที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก อาทิ โครงการ IIM-IDE 2000 และ Corporate SPARK2021 รวมทั้งเรายังมีส่วนร่วมในการขยายระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทยสู่ระดับสากล โดยมีเป้าหมายที่จะเสริมสร้างขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของไทยผ่านแพลตฟอร์มอย่าง SPHERE 8 Finder ซึ่งมีพันธมิตรในอีกหลายประเทศ อาทิ อิสราเอล ไต้หวัน นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น” ผู้บริหารสเฟียร์เอท กล่าว
อย่างไรก็ดี ซีอีโอสาวเก่ง ยังได้แนะนำกลยุทธ์การผลักดันธุรกิจไทยให้เติบโตและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากลในยุคดิจิทัลว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาแทบทุกวัน ฉะนั้นการมองหา หรือ เลือกสรรเทคโนโลยีหรือ knowhow ที่เหมาะสมมาปรับใช้กับองค์กรนั้นๆ จะสามารถช่วยลดระยะเวลาและประหยัดเรื่องงบประมาณได้พอสมควร อีกทั้งการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ยังช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จและช่วยเพิ่มศักยภาพองค์กร ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ธุรกิจไทยสามารถปรับเปลี่ยนและก้าวทันตามเทรนด์โลกได้อีกทั้งยังตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ตรงจุดและรวดเร็วมากยิ่งขึ่น
สำหรับภาคธุรกิจในประเทศไทยที่มองว่าจำเป็นต้องเร่งปรับตัวมีทั้งหมด 6 กลุ่มหลัก เนื่องจากเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ภาครัฐให้การสนับสนุน และ ผลักดันในทุกๆ ปี ได้แก่ 1.กลุ่ม Fintech เพราะโลกการเงินไม่เคยหยุดนิ่ง ธุรกิจกลุ่มนี้จำเป็นต้องพัฒนาและปรับตัวตลอดเวลา 2.FoodTech/AgriTech เนื่องจากประเทศไทยมี resource/raw material ที่สามารถนำไปต่อยอดได้หลากหลาย จึงควรนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาต่อยอดสินค้าและบริหารให้ทันเทรนด์ผู้บริโภค 3. Medical/Healthcare ประเทศไทยได้ชื่อว่าได้รับการยอมรับจากนานาชาติในแง่ความพร้อมทั้งบุคลากรและบริการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า จึงเป็นสายธุรกิจที่เติบโตอย่างมากในประเทศที่ควรต้องเร่งปรับตัว เพื่อประเทศไทยจะได้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในระดับสากล 4. Environment & Energy ประเทศไทยขับเคลื่อนด้วยธุรกิจสายพลังงานค่อนข้างมากจึงควรนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดต้นทุน 5. Industry Tech ประเทศไทยเรามีโรงงานอุตสาหกรรมมากมายมหาศาล อีกทั้งยังเป็นฐานการผลิตที่ยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค หากสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างชัดเจน และจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างก้าวกระโดด 6. IT& Cyber การมีระบบ IT และมีความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง นับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกองค์กรต้องเร่งปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล
“ในปี 2022 เราคงจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในระบบการทำงานของผู้ประกอบการในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะการนำเทคโนยีมาประยุกต์ใช้ให้เข้าการทำงานแบบเดิมๆ เช่น การประยุกต์ใช้ระบบ A.I.&Robotics, การนำระบบ Cloud และ Data Analytics เพื่อจัดเก็บข้อมูลและตอบโจทย์การทำงานแบบ WFH และการปฏิบัติงานแบบ Hyperautomation เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เห็นผลลัพท์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น” ซีอีโอสาวเก่งย้ำ
เกี่ยวกับ สเฟียร์เอท (SPHERE 8)
สเฟียร์เอท (SPHERE 8) เป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการวางกลยุทธ์และการจับคู่ทางธุรกิจเพื่อพัฒนาธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2562 โดย นายบารัก ชาราบี อดีตทูตการค้าระหว่างประเทศ (ไทย-อิสราเอล) และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมระดับภูมิภาคที่มีเครือข่ายอย่างกว้างขวาง พร้อมทีมกลยุทธ์ที่มีความเชี่ยวชาญในการวางแผนงาน ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และดำเนินงานเพื่อปรับเปลี่ยนองค์กรเข้าสู่ยุคดิจิทัล สเฟียร์เอทยังเป็น “ตัวกลาง” เชื่อมโยงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบนิเวศทางเทคโนโลยี ผ่าน “SPHERE 8 Finder” แพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลเชิงลึกของสตาร์ทอัพและนักลงทุนในประเทศไทย ช่วยติดต่อและประสานงานนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพเข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนาธุรกิจไทย เพื่อเป็น ”ทางลัด” ในการเพิ่มศักยภาพ ยกระดับให้ธุรกิจในประเทศไทยสามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ผ่านบริการหลักๆ ได้แก่การจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching), จัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมจากทั่วโลกเข้ามาทำให้ธุรกิจมีความได้เปรียบ (Tech Scouting), เฟ้นหาสตาร์ทอัพที่ตอบโจทย์และตรงตามเป้าหมายของนักลงทุน (Investment Deal Flow)เพื่อขยายพอร์ตการลงทุน ปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 30 ราย ซึ่งเป็นธุรกิจระดับชั้นนำของประเทศ อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (EGAT), AIS, CP, CPF, บางจาก ฯลฯ