- ความร่วมมือนี้ตั้งเป้าสร้างความเข้าใจรูปแบบของมลภาวะทางอากาศ ตรวจจับฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM5) และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหามลภาวะทางอากาศผ่านโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น”
- บ๊อชติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองในชุมชนหมื่นสารเพื่อวัดและเก็บข้อมูลความหนาแน่นของมลภาวะทางอากาศ
- ผลงานวิจัยจากโครงการ “บ้านสู้ฝุ่น” พบว่า พรรณไม้สู้ฝุ่นสามารถดูดซับฝุ่นละอองขนาดเล็กและสารประกอบระเหยง่ายในอากาศได้
- ปัญหามลภาวะทางอากาศที่มาจากการขนส่งทางถนน สามารถบรรเทาได้ด้วยการยกระดับโซลูชันระบบส่งกำลัง รวมไปถึงโซลูชันนวัตกรรมด้านการขับเคลื่อน
บ๊อช เดินหน้าช่วยเหลือการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศในประเทศไทย สนับสนุนโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น”โครงการบ้านต้นแบบที่ริเริ่มโดย สภาลมหายใจเชียงใหม่ ในการจัดการพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกพรรณไม้สู้ฝุ่นภายในครัวเรือนเพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่นละอองขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในพื้นที่ที่ประสบปัญหามลภาวะทางอากาศรุนแรงที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย โดยมีเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละออง (air quality monitoring box) ของบ๊อช เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยยืนยันผลวิจัยของโครงการ มอบข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ จากการประมวลผลด้วยเซนเซอร์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งนับเป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยต่อยอดไปสู่การคิดค้นและปรับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศได้
บ๊อช ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองในบริเวณชุมชนหมื่นสาร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมาเพื่อวัดค่าคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระดับปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)ในบริเวณพื้นที่รอบชุมชนหมื่นสาร นอกจากนั้นบ๊อชยังได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการสนับสนุนการติดตั้งเครื่อง “DustBoy” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กด้วยระบบเซ็นเซอร์ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในครัวเรือนอาสาสมัครในชุมชนหมื่นสารที่เข้าร่วมโครงการ “บ้านสู้ฝุ่น”และมีการจัดการปลูกพรรณไม้สู้ฝุ่นที่มีคุณสมบัติในการดูดซับฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5)
เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองของบ๊อช สามารถเก็บข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศในพื้นที่วิจัยแบบเรียลไทม์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ และช่วยให้นักวิจัยสามารถระบุได้ว่าการปลูกพรรณไม้สู้ฝุ่นบางชนิดสามารถดูดซับฝุ่นละอองขนาดเล็กในบริเวณนั้นๆได้มากน้อยอย่างไร ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า พืชพรรณบางชนิดที่มีลักษณะเฉพาะเช่นมีลักษณะของใบเรียวเล็กผิวหยาบมีขนและเหนียวมีลำต้นและกิ่งก้านพันกันสลับซับซ้อนและพืชที่มีใบขนาดเล็กจำนวนมากสามารถช่วยดูดซับมลพิษทางอากาศได้ ผลการศึกษาวิจัยนี้ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างพื้นที่สีเขียวเพื่อลดผลกระทบจากปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยมีอากาศที่ดีขึ้นและสามารถมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนคนไทยได้
โจเซฟ ฮง กรรมการผู้จัดการบ๊อช ประเทศไทย และประเทศลาว กล่าวว่า “บ๊อซ ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองของบ๊อชนับเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของผู้คนและสภาพแวดล้อม ผมจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่นวัตกรรมของบ๊อชสามารถช่วยสนับสนุนการสร้างอนาคตที่มาพร้อมอากาศบริสุทธิ์ให้เป็นจริงได้”
รศ.ดร. สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “ภายใต้ความร่วมมือกับ บ๊อช ทำให้เราเข้าถึงเทคโนโลยีที่จะช่วยติดตามสถานการณ์ค่าดัชนีคุณภาพอากาศในบริเวณที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมไปถึงช่วยให้เราสามารถศึกษาและบอกได้ว่าการปลูกพรรณไม้สู้ฝุ่นมีส่วนช่วยทำให้คุณภาพอากาศในบริเวณนั้น ๆ ดีขึ้นได้มากน้อยอย่างไร”
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา รองประธานคณะกรรมการอำนวยการ สภาลมหายใจเชียงใหม่ กล่าวว่า “โครงการ “บ้านสู้ฝุ่น” มีเป้าหมายที่สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันควบคุมปัญหามลพิษทางอากาศ หากทุกภาคส่วนช่วยกันแล้ว เราจะสามารถตระหนักและรับรู้ถึงปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และทำให้เมืองเชียงใหม่กลับมาเป็นเมืองที่น่าอยู่อีกครั้ง”
เทคโนโลยีของบ๊อชช่วยเมืองบรรเทาปัญหามลภาวะทางอากาศและฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5)
หนึ่งในก้าวแรกที่สำคัญสู่การจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ คือ การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของดัชนีคุณภาพอากาศและค่าฝุ่นละอองจากหลากหลายพื้นที่อย่างสะดวกและรวดเร็วเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองของ
บ๊อชเป็นโซลูชันที่เหมาะสำหรับการใช้งานในเมืองและอุตสาหกรรมกล่องเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองซึ่งมีขนาดกะทัดรัดของบ๊อช ควบรวมความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเซนเซอร์และซอฟต์แวร์เข้าด้วยกันทำให้สามารถวัดค่าดัชนีคุณภาพอากาศได้อย่างน่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบันซึ่งรวมถึงข้อมูลมลพิษทางอากาศอย่างฝุ่นละอองขนาดเล็กและพารามิเตอร์ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งยังสามารถส่งข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศที่วัดได้ไปยังระบบคลาวด์ของ
บ๊อชอย่างต่อเนื่องเพื่อวิเคราะห์และประมวลผลด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence – AI)
มลภาวะทางอากาศส่วนใหญ่ มาจากภาคการขนส่งทางถนน
ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเดือนพฤษภาคม2564แสดงให้เห็นว่าแหล่งที่มาหลักของฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมาจากภาคการขนส่งทางถนนในขณะที่สาเหตุหลักของควันพิษอันตรายในภาคเหนือของประเทศไทยมาจากการเผาไหม้ชีวมวลแบบระบบเปิดรวมถึงการทำเกษตรกรรมแบบถางโค่นและเผาป่าอย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงอัตราการขยายตัวของเมือง (Urbanization) และการเป็นแหล่งท่องเที่ยวของเมืองใหญ่อย่างจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวลำดับต้นๆของประเทศไทยทำให้ความต้องการด้านการขนส่งและการเดินทางเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยจึงอาจกล่าวได้ว่าภาคการขนส่งทางถนนเป็นแหล่งที่มาหนึ่งของของฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) ได้เช่นกันดังนั้นการลดมลพิษจากภาคขนส่งทางถนนจึงถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
บ๊อชมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ช่วยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนรวมไปถึงการลดการปล่อยมลภาวะให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีแบบเปิดทำให้บ๊อชนำเสนอระบบส่งกำลังทางเลือกที่หลากหลายเพื่อการขับเคลื่อนที่ประหยัดพลังงานยิ่งขึ้นเทคโนโลยีอื่นๆของบ๊อชที่สามารถช่วยลดมลภาวะทางอากาศอาทิระบบเบรกที่ช่วยลดฝุ่นละอองบนท้องถนนระบบขับเคลื่อนที่เชื่อมต่อถึงกันเพื่อการจัดการจราจรบนท้องถนนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรวมไปถึงระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ
“บ๊อช เป็นผู้ร่างอนาคตของเทคโนโลยีแห่งการขับเคลื่อนที่สอดคล้องไปกับทิศทางการขยายตัวของสังคมเมืองทั้งในประเทศไทย และในระดับโลก การขับเคลื่อนต้องมาพร้อมกับความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และความยั่งยืน รวมไปถึงสามารถปกป้องชีวิตและสุขภาพของเราได้ ความยั่งยืนเป็นแนวคิดหลักของผลิตภัณฑ์ของบ๊อช บ๊อชพัฒนานวัตกรรมระบบส่งกำลังที่มีความหลากหลาย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น เรามุ่งมั่นในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้คนอย่างยั่งยืน” ฮง กล่าวเสริม