อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ต้องเรียนรู้จากบทเรียนในโลกนี้ ที่ผู้ประกอบการทั่วโลกล้วนปรับตัว ให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้อยู่รอดได้ ซึ่งตลอด 2 ปีที่ผ่านมา คนไทยได้ยินข่าวการปรับตัวของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมาโดยตลอด อาทิเช่น (7 มกราคม 2564) องค์การโทรศัพท์ (TOT) ควบรวมกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT) หลังจากการควบรวมเป็น NT จะเป็นบริษัทที่มีโครงสร้างพื้นฐานครบวงจรมากที่สุดมูลค่าสินทรัพย์มากถึง 300,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเสาโทรคมนาคมกว่า 25,000 ต้นทั่้วประเทศ เคเบิ้ลใต้น้ำระหว่างประเทศเชื่อมต่อไปยังทุกทวีป ถือครองคลื่นความถี่หลักเพื่อให้บริการรวม 6 ย่านมีปริมาณ 600 เมกะเฮิรตซ์ ท่อร้อยสายใต้ดินมีระยะทางรวม 4,600 กิโลเมตร สายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง 4 ล้านคอร์กิโลเมตร Data Center 13 แห่งทั่วประเทศ และ ระบบโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่เข้าถึงจากทุกประเทศในโลก ทั้งนี้ก็เป็นการปรับตัวเพื่อการแข่งขัน ซึ่งได้ควบรวมเสร็จสิ้นไปได้ด้วยดี
ในขณะที่ 6 สิงหาคม 2564 เอไอเอส (AIS) ก็มีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น โดย GULF ทุ่ม 4.86 หมื่นล้าน ปิดเกมซื้อ INTUCH ครองหุ้น 42.25% ขึ้นแท่นผู้ถือหุ้นใหญ่ ผู้บริหารของกัลฟ์ ให้เหตุผลกับนักลงทุนรายย่อย สื่อมวลชน และทีมเศรษฐกิจ ว่า เขาต้องการแพลตฟอร์มด้านการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อต่อยอดธุรกิจพลังงาน สนามบิน และท่าเรือของกัลฟ์ให้ดำเนินไปสู่ธุรกิจยุคใหม่ที่เป็นดิจิทัลทรานส์ฟอร์มอย่างแท้จริง ดังนั้นการที่ AIS มีผู้ลงทุนที่แข็งแกร่งอย่าง GULF ทำให้มีความพร้อมในการแข่งขันสู่ยุคดิจิทัล ในขณะที่ตลาดโทรคมนาคมต่างประเทศในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ก็มีการควบรวม เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น Celcom Axiata ควบรวม Digi.Com ขอองมาเลเซีย หรือประเทศอินโดนีเซีย ที่บริษัท Indosatควบรวม PT Hutchison ก็เพื่อให้ทำธุรกิจแข่งขันกันได้ทุกราย ในอิตาลีมีการควบรวมกิจการระหว่าง Wind และ H3G เป็น Wind Tre ปรับตัวพร้อมสู่การแข่งขันใหม่ ที่มีผู้เล่นดิจิทัลมาแข่งขัน ดังนั้น บทบาท กสทช. คือ ส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้
กรณีการควบรวม ทรู ดีแทค ถือเป็นกลุ่มสุดท้าย ที่เป็นการร่วมธุรกิจแบบเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ฝ่ายใดซื้ออีกฝ่ายหนึ่งอย่างที่มีการเข้าใจผิด เป็นความร่วมมือกันเดินหน้าสู่การปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจ ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่นๆในอุตสาหกรรม ที่จะต้องรองรับการแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคมที่มีการแข่งขันหนักหน่วงต่อเนื่อง และการขยายโครงข่าย รวมถึงลงทุนเรื่องเทคโนโลยี และบริการต่าง ๆ เป็นเรื่องจำเป็น ดังนั้นเมื่อร่วมมือกัน เงินลงทุนย่อมมากขึ้น และทำเรื่องทั้งหมดข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างประโยชน์ให้กับผู้บริโภคด้วยบริการที่ดีขึ้นตัวอย่างเงินลงทุนที่น่าสนใจคือ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ ทรู มีแผนลงทุนโครงข่าย 5G พ.ศ. 2563-2565 กว่า 40,000-60,000 ล้านบาท ส่วน บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค พ.ศ. 2563 ลงทุน 8,000-10,000 ล้านบาท ขยายโครงข่าย 5G แต่เม็ดเงินเหล่านี้ไม่รวมค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่หลายหมื่นล้านบาท การควบรวมจะทำให้การลงทุนต่อเนื่อง ไม่สะดุด ทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีขึ้นต่อเนื่อง และต้องลงทุนเพิ่มในการนำเสนอบริการดิจิทัล ปรับองค์กรสู่การเป็นเทคโนโลยี ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับคือ
- การเข้าถึงสัญญาณเครือข่ายดีขึ้น เสาสัญญาณเพิ่มมากขึ้น สัญญาเร็ว แรง และครอบคลุมพื้นที่ใช้งานมากขึ้น เมื่อรวม จำนวนเสาสัญญาณของทรูและดีแทคแล้ว คาดว่าจะมีมากกว่า 49,800 สถานีฐาน ทำให้ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่พื้นที่ไหนในประเทศไทยก็สามารถใช้บริการได้อย่างครอบคลุม ลูกค้าดีแทคก็จะได้ใช้สัญญาณ 5G ของทรู ได้อีกด้วย
- คลื่นที่ครบถ้วนในทุกย่านความถี่ ทำให้ลูกค้าสามารถใช้มือถือได้ทุกรุ่น รองรับทุกย่านความถี่เริ่มตั้งแต่คลื่น 700 MHz มีทั้ง 2 ค่าย คลื่น 850 MHz ดีแทคสามารถใช้ของทรูได้ คลื่น 900, 1800, 2100 MHz มีทั้ง 2 ค่ายและลูกค้าทรูก็สามารถใช้คลื่นที่ทรูไม่มีเช่นคลื่น 2300 MHz ในขณะที่ดีแทคสามารถมาใช้คลื่น 2600 MHz 5G ของทรูได้ ดังนั้นลูกค้าจะได้ประโยชน์อย่างมากจากจำนวนคลื่นและแบนด์วิธที่มากขึ้น ทำให้ลูกค้าสามารถโทรโดยใช้มือถือได้ทุกรุ่น รองรับได้ทุกย่านความถี่
- เพิ่มความสะดวกมากขึ้น โดยมีศูนย์ให้บริษัทหลังการควบรวมเพิ่มมากขึ้น ทำให้บริการหลังการขายสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น จำนวนร้าน สาขา ของทรู และ ดีแทค ทั่วประเทศ จะให้บริการลูกค้าได้อย่างไร้รอยต่อ และ นำมาต่อยอดบริการรูปแบบใหม่ ให้ลูกค้ามีความสะดวก และมี call center รวมสองค่ายมากกว่า 5,200 คนพร้อมให้บริการ 24 ชั่วโมง
- ลูกค้าทั้ง 2 ค่ายจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีและสิทธิพิเศษที่เพิ่มมากขึ้น อาทิเช่น ลูกค้าดีแทคสามารถใช้บริการห้องรับรอง VIP (True Sphere) และสิทธิประโยชน์จาก True Point ได้ในขณะที่ลูกค้าทั้งทรูและดีแทค ได้รับสิทธิ์ทั้ง dtac reward และ True Privilege และที่ยอดเยี่ยมสำหรับลูกค้าดีแทคคือ สามารถใช้บริการ convergence อินเทอร์เน็ตบ้าน และ content ดี ๆ จาก TrueIDและ TrueVisions
- เมื่อทรูควบรวมกับดีแทค จะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันใกล้เคียงกันกับเอไอเอส เมื่อผู้แข่งขันสองรายมีขีดความสามารถใกล้เคียงกัน จะทำให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น ทำให้ลูกค้าได้โปรโมชั่นที่ถูกลง และมีข้อเสนอทางการตลาดที่ลูกค้าได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น
- ลูกค้าไร้กังวลว่าหลังการควบรวมแล้วราคาจะสูงขึ้น แพคเกจที่ใช้อยู่สามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง เพราะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. อย่างเข้มงวดอยู่แล้ว และที่ผ่านมา กสทช. ก็ทำได้ดี ทำให้ไม่มีผู้เล่นรายใด สามารถปรับราคาได้เกินกว่าที่ กสทช. กำหนดไว้ และทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราค่าบริการต่ำสุดในโลก
7.ต้นทุนของผู้ให้บริการหลังการควบรวมจะลดลง ทำให้ลูกค้าได้รับประโยขน์จากความคุ้มค่าของบริการที่ได้รับมากชึ้นเนื่องจากจะทำให้มีเงินทุนไปพัฒนาบริการใหม่ๆ รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้ามาเช่น ดาวเทียม, Metaverse, Quantum รวมถึงรถยนต์ EV และ Smart City
- ผู้เล่นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทุกรายปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการลงทุนใหม่ เช่น CAT+ TOT = NT และการที่ AIS มีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น โดยมีการลงทุนใหม่โดยกัลฟ์ GULF เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และ ลงทุนเพิ่มในอนาคต ทำให้หลังการควบรวม TRUEและ DTAC ทำให้ผู้ประกอบการทุกรายมีความพร้อมในการแข่งขัน และ รัฐมีการปฏิบัติต่อผู้ประกอบการอย่างเท่าเทียม มิใช่กีดกันรายใดรายหนึ่ง
- ผู้บริโภคสามารถใช้บริการของผู้ประกอบการดิจิทัลอย่างไม่สะดุดเช่น Facebook, Line, Netflix และอื่น ๆ ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย โดยใช้เครือข่ายโทรคมนาคมเดิม ซึ่งต้องใช้ดาต้า เพิ่มขึ้นมหาศาล ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้นหลายเท่าทุกปี เพื่อให้บริการจากผู้เล่นดิจิทัลมีความต่อเนื่อง การควบรวมจะทำให้เกิดความแข็งแกร่งในการพัฒนาคุณภาพเครือข่าย รองรับการเติบโตของผู้ใช้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้น
- หลังการควบรวม ผู้เล่นทุกรายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย พร้อมปรับตัวเข้าสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี และเพิ่มขีดความสามารถที่จะแข่งกับผู้ประกอบการระดับโลก และสนับสนุนการลงทุนของ TechStartup รุ่นใหม่ บริษัทจะมีความสามารถในการลงทุนเพิ่ม รองรับเทคโนโลยีใหม่ ทำให้ลูกค้าได้รับบริการดิจิทัลมากขึ้น เช่น บริการแพทย์ทางไกล การประชุมทางไกล การเข้าถึงคอนเทนต์ เพลง หนัง ระดับโลก ในราคาลดลง