AIS ขานรับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG Economy ขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน ดึงศักยภาพโครงข่ายอัจฉริยะ ผลักดันเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อสิ่งแวดล้อม

กว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา AIS ได้มุ่งสร้างคุณค่าในด้านธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง ผ่านการพัฒนานวัตกรรมและสร้างคุณภาพสินค้าและบริการ การมีดิจิทัลโซลูชันเพื่อให้คนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งการขับเคลื่อนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้พลังงานทางเลือกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และที่มากไปกว่านั้นยังเป็นสื่อกลางในการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ดังเช่น โครงการคนไทยไร้ E-Waste ที่เป็นแกนกลางในการรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-waste ทั้งจากประชาชน หน่วยงานต่างๆ ที่ในวันนี้เรามีพาร์ทเนอร์ในหลากหลายอุตสาหกรรมมาทำงานร่วมกันเพื่อนำขยะดังกล่าวมากำจัดอย่างถูกวิธี  ซึ่งทั้งหมดนี้มีเป้าหมายที่สำคัญคือ ให้คนไทยและสังคมโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

จากการทำงานอย่างต่อเนื่องและผลลัพธ์เชิงประจักษ์ เมื่อเร็วๆ นี้ ทาง AIS ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่ได้รับเชิญเข้าร่วมงาน “Better Thailand Open Dialogue ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” ซึ่งได้นำเอานวัตกรรม โดยได้ชูแนวคิดนวัตกรรมต่างๆ โดยเฉพาะในมิติด้านสิ่งแวดล้อมมานำเสนอเพื่อให้ความรู้และจัดแสดงเพื่อให้เห็นถึงการร่วมกันแก้ไขปัญหาอีกทั้งยังเป็นสื่อกลางในการสร้างความร่วมมือให้กับทุกภาคส่วน

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า “ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล เรามีเป้าหมายที่เป็นหัวใจหลักของการทำงานที่จะมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีจากโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อสนับสนุนประเทศในทุกทาง โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันแนวคิดของ BCG (Bio, Circular, Green) Economy : เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ถูกนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อส่งเสริมให้เกิด โมเดลเศรษฐกิจที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปยกระดับความสามารถในการแข่งขัน หรือ บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้อย่างดี”

สำหรับต้นแบบและตัวอย่างนวัตกรรมที่นำมาเสนอในการจัดงานดังกล่าวนั้น พัฒนาขึ้นผ่านการใช้ศักยภาพจากโครงข่ายอัจฉริยะ อาทิ 5G , IoT , Blockchain และ Cloud มาขยายผลซึ่งประกอบไปด้วย

  • E-Waste Blockchain โครงการต้นแบบที่นำความโดดเด่นของ Blockchain ที่มีความปลอดภัยสูงมาปรับใช้ โดยจะเริ่มนำมาใช้กับโครงการคนไทยไร้ E-Waste ซึ่งจะสามารถตรวจสอบได้ว่า ใครบ้างเป็นคนทิ้ง จุดรับฝากที่นำไปทิ้ง รวมถึงการนำไปคำนวณปริมาณคาร์บอนเครดิต
  • E-Waste Show จากความร่วมมือระหว่าง  AIS และ  WMS ในการนำ E-Waste สู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล และขยายผลสู่การจัดทำเหรียญรางวัลประวัติศาสตร์เหรียญแรกของไทยที่ทำมาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์
  • ECOSPACE นวัตกรรมอุปกรณ์ตรวจจับไฟป่า ผ่านเซนเซอร์วัดฝุ่น PM , อุณหภูมิ , ความชื้น และก๊าซCarbon monoxide (CO) ผ่านสัญญาณดาวเทียมที่ร่วมมือกับ University of Tokyo ผสมผสานกับ 5G/4G ของ AIS ผ่าน IoT ซึ่งสามารถคว้ารางวัล จากการแข่งขันประกวดนวัตกรรมทีม Startup จากรายการ S-Booster 2020 ที่จัดโดย Cabinet Office ของประเทศญี่ปุ่น

“AIS เรายังคงเดินหน้าตามกรอบแนวคิด “AIS The Sustainable Future” ในการเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน มุ่งสร้างคุณค่าอย่างสอดรับกับ BCG Economy โดยพร้อมพัฒนาศักยภาพในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อสร้างนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน ถือเป็นอีกก้าวเดินที่สำคัญสู่การเป็น Cognitive Telco หรือองค์กรอัจฉริยะที่พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่จะนำพาประเทศไทยเดินหน้าต่อไปได้อย่างมีเสถียรภาพ” นายสมชัย กล่าวทิ้งท้าย