‘อเบอร์ดีน’ (Abrdn) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนระดับโลกได้คาดการณ์ถึงมูลค่าหลักทรัพย์ของอินเดียและจีนว่า ภายในปี 2050 อาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4 เท่า เนื่องจากในอนาคตทวีปเอเชียจะเปลี่ยนจากการ รั้งท้าย กลายเป็น ผู้นำ ในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Stephen Bird ซีอีโอของ Abrdn ได้เปิดเผยว่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ทวีปเอเชียมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยเห็นได้จากผู้คนมากกว่า 1 พันล้านคน หลุดพ้นจากความยากจน นอกจากนี้ สัดส่วนมูลค่าเศรษฐกิจของเอเชียในตลาดโลกนั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 8 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงวิกฤตการเงินเอเชียในปี 1997
“ตลาดทุนก็มีวิวัฒนาการเช่นกัน และภูมิภาคนี้ได้เปลี่ยนจากเป้าหมายของนักลงทุนต่างชาติ เป็นตลาดที่นักลงทุนท้องถิ่นครองตลาด และใน 30 ปีข้างหน้าก็จะมีอะไรที่น่าตื่นเต้นเหมือนช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น นักลงทุนอย่างตื่นตระหนกกับความผันผวนที่จะเกิดขึ้น ต้องจับตาดูเกมระยะยาว”
แม้ที่ผ่านมา หุ้นจีนต้องเผชิญกับปีที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากกลยุทธ์ Zero Covid ของ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและก่อให้เกิดปัญหาคอขวดในห่วงซับพลายเชน จนส่งผลกระทบไปทั่วตลาดโลก แต่นักวิเคราะห์หลายคนก็เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์
เช่นเดียวกับ Stephen Bird ที่มองว่าในระยะยาวว่าหุ้นในเอเชียจะสามารถเปลี่ยนจาก ผู้รั้งท้าย กลายเป็น ผู้นำ ได้ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและบทบาทของพวกเขา เนื่องจากความสามารถในการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศและรับมือวิกฤติต่าง ๆ
“จีนจะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนอินเดียจะเป็นที่ 3 ภายใน 10 ปีข้างหน้า และเขาจะกลายเป็นผู้กำหนดรสนิยมทั่วโลกมากขึ้น นอกจากนี้ ตลาดทุนของพวกเขาอาจเติบโตขึ้น 4 เท่าหรือมากกว่านั้นภายในปี 2050”
ส่วนประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคก็นำเสนอโอกาสที่น่าตื่นเต้นเช่นกัน บังกลาเทศ อินโดนีเซีย และเวียดนาม เนื่องจากปัจจุบันมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในโลก ในขณะที่ประชากรสูงอายุของ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ได้สร้างเงินออมจำนวนมากซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการให้ดีขึ้น และในฐานะที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินระดับโลกที่เปิดกว้างที่สุดในภูมิภาคอย่าง สิงคโปร์ จะเป็นหัวใจของทุกสิ่ง