สรุปประเด็นด้านความปลอดภัยในโลกดิจิทัลสำหรับเยาวชน ที่พ่อแม่ควรรู้

จากสถิติของ ETDA พบว่า Gen Z เป็นกลุ่มที่มีการใช้อินเทอร์เนตจากสถิติเฉลี่ยสูงสุดถึงวันละ 12 ชั่วโมง 5 นาที ซึ่งสร้างความกังวลให้แก่พ่อแม่ แต่เมื่อดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเด็กๆ ยุคนี้ สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้และทำความเข้าใจ แนะนำวิธีการท่องโลกดิจิทัลอย่างปลอดภัยและมีประโยชน์ให้แก่พวกเขา พร้อมกับการปกป้องและดูแลความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด

ล่าสุด TikTok Talk กับหัวข้อ “Family’s Digital Vaccine: เสริมภูมิคุ้มกันให้เยาวชนใช้ดิจิทัล อย่างปลอดภัย”  ชวน Thought Leader แม่ตุ๊ก นิรัตน์ชญา การุณวงศ์วัฒน์ คุณแม่ของน้องจิน และเรนนี่ แห่ง Little Monster  @tuklittlemonster พี่หมอแน๊ต ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นชื่อดังจากกรมสุขภาพจิต @thaidmh และ คุณเม ชนิดา คล้ายพันธ์ Working Mom คนเก่ง จาก TikTok มาแชร์เคล็ดลับเสริมวัคซีนสุขภาพใจในโลกดิจิทัลให้เยาวชน เพราะการปลูกฝังให้เด็กๆ เห็นความสำคัญของความปลอดภัยในโลกดิจิทัล มาจากพ่อแม่ ที่ตระหนัก ติดตาม และเรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องมือ หรือการตั้งค่าความปลอดภัยในแต่ละแพลตฟอร์มที่เด็กๆ ใช้งานอยู่เสมอ

อันดับแรกที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง คือ Digital Safety & Privacy พ่อแม่ควรเรียนรู้วิธีการปกป้อง ข้อมูลส่วนตัวของเด็กๆ เพราะความแตกต่างของการมีบัญชีสาธารณะกับบัญชีส่วนตัว คือ การเข้าถึงข้อมูล รูปภาพ จากบุคคลภายนอก ซึ่งสำหรับเยาวชนแล้วการถือบัญชีสาธารณะเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรระมัดระวัง เพราะโลกดิจิทัลสามารถนำอันตรายมาได้อย่างไม่คาดคิด

สำหรับ TikTok มีข้อกำหนดชัดเจนว่าเป็นแพลตฟอร์มสำหรับคนที่อายุ 13 ปีขึ้นไป  ซึ่งถ้าหากอายุไม่ถึง แต่พยายามที่จะสมัคร ระบบจะจดจำอีเมลและแบนไม่ให้สามารถสร้างบัญชีได้ นอกจากนี้ ถ้าผู้ใช้มีอายุอยู่ ในช่วง 13-16 ปี จะเข้าสู่บัญชีส่วนตัวโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะมีระบบป้องกันความเป็นส่วนตัว อาทิ ไม่สามารถ ไดเรคเมจเสจได้ เป็นต้น

“ในเรื่องของความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของเด็ก ๆ การโพสต์รูปลูกในโลกออนไลน์ บ้านเราจะมีกฎพื้นฐาน คือต้องเป็นรูปที่ไม่โป๊ และเป็นภาพที่ลูกกลับมาดูอีกครั้งแล้วไม่รู้สึกว่า มันน่าอาย ซึ่งพ่อแม่ก็จะช่วยกันกรองประมาณนึง พอเขาเริ่มโตแล้ว เราก็จะถามก่อนว่า รูปนี้ลงโซเชียลได้มั้ย เขาโอเคหรือเปล่า เราควรต้องฟังความคิดเห็นของเขาและยอมทำตาม ความต้องการของเขาด้วย” แม่ตุ๊กแชร์ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจ

Digital Footprint

หรือประวัติพฤติกรรมผู้ใช้ในโลกอินเทอร์เน็ต ทั้งการพิมพ์ข้อความ การคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ การกดไลก์เพจ หรือการแชร์ข้อความทางโซเชียลมีเดีย เป็นอีกเรื่องที่ควรให้ความสำคัญและต้องระมัดระวังไม่เฉพาะ กับเด็กแต่รวมไปถึงพ่อแม่เช่นกัน คำแนะนำจากหมอแน๊ตคือ “ไม่ว่าจะโพสต์อะไรควรจะมีสติ อยู่ตลอดเวลา ให้คิดรอบที่หนึ่งว่าจะพูดอะไรให้คิดรอบที่สองว่า จะทำอะไรให้คิดรอบที่สามว่า จะโพสต์อะไร ขอให้คิด อย่างต่ำสามรอบก่อน อย่างน้อยๆ ก็ได้ ผ่านการกรองแล้ว” ในขณะที่แม่ตุ๊กให้ความเห็นว่า “พ่อแม่ก็ต้องสอนลูก ให้เขาคิดให้ดีมากๆ ก่อนจะส่งรูป ข้อความให้ใคร หรือโพสต์อะไร เพราะในอินเทอร์เนตมันจะอยู่ตลอดไป ถ้าลงไปแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น ผลที่ตามมาคืออะไร หลังจากนั้นจะต้องสอนเขาในมุมของการรับมือ และการอยู่กับมัน” สอดคล้องกับหลักการจาก TikTok คือ Stop Think Decide Act การไตร่ตรองก่อนที่จะโพสต์เนื้อหาใดๆ

Digital Literacy ความรอบรู้ทางดิจิทัลก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน หมอแน๊ตในฐานะจิตแพทย์เด็กให้ความเห็นว่า ผู้ปกครองควรสร้างความเข้าใจ รู้ว่าดิจิทัลคืออะไร ใช้อย่างไร ประโยชน์มีอะไร อันตรายคืออะไร ต้องใส่ใจ ในเรื่องนี้มากๆ แนะนำให้กำหนดขอบเขตในการใช้งานของเยาวชน คือ 1) เวลาในการใช้งานต่อวัน ที่เหมาะสม ไม่กระทบกับกิจวัตรประจำวัน 2) เนื้อหาเหมาะสมกับช่วงวัย ไม่อันตรายและ ไม่มีความรุนแรง และ 3) จำกัดพฤติกรรมหรือการเลียนแบบที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ

บน TikTok พ่อแม่สามารถดูแลการใช้งานของเด็ก ๆ ได้อย่างใกล้ชิดด้วย Family Pairing หรือการเชื่อมต่อ บัญชีของผู้ปกครองกับเด็ก และสำหรับข้อกังวลในเรื่องการใช้เวลากับการออนไลน์มากเกินไป TikTok มี Screen Time Management ที่สามารถตั้งเวลาและแจ้งเตือนเวลาได้ หน้าจอจะล็อคเมื่อเกินกำหนดเวลาที่ตั้งค่าไว้

Cyberbullying Management ภัยคุกคามทางดิจิทัลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การรับมือจึงสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นๆ “หากเกิดการบูลลี่เกิดขึ้น เราจะไม่ปิดกั้นสิ่งนั้นจากลูก แต่จะอธิบายให้ฟังว่าโลกออนไลน์ เป็นแบบนี้ บางครั้งการที่เราแชร์ปัญหาให้ลูกฟังก็เป็นการช่วยได้ ทำให้เขาเห็นว่าเราเป็นคนปกติ คนนึงที่เสียใจได้ ไม่จะเป็นว่าแม่จะต้องเข็มแข็งตลอดเวลา ทำให้เขาได้เห็นหลายๆ มุม มันจะมีวันที่เราไม่โอเค แต่เดี๋ยวเราจะค่อยๆ ดีขึ้น” แม่ตุ๊กกล่าว

จริงๆ แล้วน้อยคนที่จะทราบว่า ทุกคนสามารถตั้งค่าป้องกันการคุกคามทางออนไลน์ได้บน TikTok โดยนอกจากเรียนรู้หลักเกณฑ์สำหรับชุมชนแล้ว ยังมีฟังก์ชั่นช่วยจัดการมากมาย อาทิ การเลือกปิด คอมเมนต์บน วิดีโอ การ Sweep  เลือกคำที่ไม่อยากให้ขึ้นในคอมเมนต์ เหมือนเป็นการบล็อคเป็นคำๆ ได้ หรือถ้าโดนบูลลี่บน TikTok ก็สามารถกดรีพอร์ตได้ ผู้ใช้สามารถกดแจ้งเตือนคลิปที่ไม่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งหากมีผู้อื่นโดนรังแก ก็สามารถกดรีพอร์ตได้เช่นกัน และถ้าเด็กๆ เริ่มโดนคุกคามทางออนไลน์ พ่อแม่อาจจะต้องยื่นมือมาช่วยเหลือ เช่น การปิดไม่ให้เขาติดต่อได้ หรือมีการรีพอร์ตคนที่มาปั่นป่วน เป็นต้น หมอแน๊ตเผยว่า “การที่มีพ่อแม่คอยรับฟังโดยไม่ไปตัดสินหรือบอกให้ลบแอคเคาท์ ทำให้เด็กรู้สึก ไม่โดดเดี่ยวเดียวดาย การที่เราสอนวิธีรับมือแบบนี้ทำให้ เขารู้สึกว่าสบายใจมากขึ้น ไม่ทำให้เกิด การกระทำที่มีอันตรายกับตัวเขาได้”

ครอบครัวเป็นพื้นฐานสำคัญของความปลอดภัยนโลกดิจิทัล

เด็กๆ ควรได้รับการปลูกฝังให้มี Self Esteem มองเห็นคุณค่าในตัวเอง และ มี Empathy ที่ดีด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้พ่อแม่สามารถสร้างได้โดยเริ่มจากตัวเองก่อน ค่อยๆ สอนลูกจากโลกแห่งความเป็นจริง ฉีดวัคซีนในหัวใจจะสร้างเกราะป้องกันให้กับเด็กๆ เพราะโลกดืจิทัลมีหลายแง่มุม การปกป้อง รับมือและแก้ไข เมื่อมีปัญหาในการใช้งานคือรากฐานสำคัญ พ่อแม่จะเป็นวัคซีนใจที่ช่วยลูก ท่องโลกออนไลน์ได้อย่างมีความสุข

คุณเม ชนิดา คล้ายพันธ์ Working Mom คนเก่ง จาก TikTok กล่าวว่า “TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้ ทุกเพศทุกวัย ทั้งพ่อแม่ เด็กและเยาวชนเยอะมาก เราจึงอยากให้ผู้ใช้ได้ตระหนักถึงการใช้งาน อย่างปลอดภัย และมีประโยชน์โดยที่ศูนย์ความปลอดภัย Safety Center จะมีคู่มือให้ ทั้งในรูปแบบวิดีโอและอ่าน เพื่อทำความเข้าใจสามารถนำไปปรับใช้กับ ตนเอง และเด็กๆ ตามความเหมาะสม”

ทั้งหมดนี้คือประเด็นสำคัญจาก “Family’s Digital Vaccine: เสริมภูมิคุ้มกันให้เยาวชนใช้ดิจิทัล อย่างปลอดภัย”  TikTok Talk จะนำเสนอหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ พร้อมชวน Thought Leader ชื่อดัง หมุนเวียนมาพูดคุยกัน ในทุกวันพฤหัสสุดท้ายของเดือนคู่ เวลา 19.00-20.00น. ติดตามครั้งต่อไปได้ ในเดือนสิงหาคมนี้