เสียวหมี่ติดอันดับบน Forbes China’s ESG 50

Forbes China จัดอันดับให้เสียวหมี่เป็นหนึ่งใน “China ESG 50” ในปี 2565 โดย Forbes China เริ่มเผยแพร่รายงาน China ESG 50 เพื่อยกย่องบริษัทที่ยึดมั่นในแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental-Social-Governance, ESG)

เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับการยอมรับในแนวทางปฏิบัติ ESG ของเรา” มร. หวาง เสียง หุ้นส่วนและประธานบริหารของ เสียวหมี่ กรุ้ป กล่าว “ในฐานะที่เป็นบริษัทสมาร์ทโฟนชั้นนำอันดับหนึ่งในสามของโลกและเป็นแพลตฟอร์ม AIoT ชั้นนำสำหรับผู้บริโภค เสียวหมี่มุ่งหวังที่จะช่วยสร้างระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนสำหรับผู้ใช้งาน พนักงาน คู่ค้า และโลกใบนี้ เราหวังที่จะเป็นผู้นำโดยการปฏิบัติเป็นตัวอย่างและยังคงบูรณาการแนวปฏิบัติ ESG ให้เข้ากับผลิตภัณฑ์ บริการ โครงสร้างการกำกับดูแล และการดำเนินงานของเราต่อไป

เกณฑ์การคัดเลือกของ Forbes China สำหรับการจัดอันดับ ESG 50 นั้นอิงตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ของสหประชาชาติ (UN) บริษัทที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อนี้ยังอยู่ในรายชื่อของ Forbes Global 2000 อีกด้วย

เสียวหมี่มองว่าการจัดการ ESG เป็นพื้นฐานของกลยุทธ์องค์กรและได้ทำการเผยแพร่รายงาน ESG ประจำปีมาตั้งแต่ปี 2561 และได้เข้าร่วมกับ UN Global Compact และมุ่งมั่นปฏิบัติตามหลักการความรับผิดชอบองค์กร 10 ประการตั้งแต่ปี 2563 นอกจากนี้ความสำเร็จใน ด้าน ESG ยังได้รับการยอมรับจาก Chamber of Hong Kong Listed Companies ในปี 2564 อีกด้วยและได้รางวัล “Award of Excellence in ESG” หรือความเป็นเลิศด้าน ESG

เสียวหมี่ได้ลดการใช้ทรัพยากรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์โดยใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ดังที่แสดงในกราฟด้านล่าง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะลดลงตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์เสียวหมี่

ตัวอย่างของวิธีที่เสียวหมี่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีดังนี้ สมาร์ทโฟน Xiaomi 12 series มีฝาปิดด้านหลังที่ทำจาก BASF Haptex® ซึ่งเป็นวัสดุโพลียูรีเทน (PU) ที่ไม่มีตัวทำละลายคาร์บอนต่ำซึ่งใช้พลังงานน้อยลง 20  เปอร์เซ็นต์ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง 20 เปอร์เซ็นต์ และใช้น้ำน้อยลง 15 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับวัสดุสังเคราะห์ที่เป็นหนัง นอกจากนี้ยังใช้พาเลทน้ำหนักเบาสำหรับการจัดส่งสมาร์ทโฟนไปต่างประเทศในทุกปีและสามารถช่วยประหยัดเชื้อเพลิงการบินไปได้มากถึง 460 เมตริกตันหรือ CO2e ไปถึง 1,423 เมตริกตัน เสียวหมี่ยังรีไซเคิลสมาร์ทโฟนมากกว่า 650,000 เครื่องในปี 2564 โดยสามารถนำขายต่อได้มากถึง 80 – 90%

เมื่อพูดถึงปัจจัยด้านสังคมของ ESG เสียวหมี่ได้สร้างโครงสร้างการกำกับดูแลที่ครอบคลุมเพื่อปกป้องความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ เสียวหมี่ได้จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวขึ้นในปี 2557 เสียวหมี่ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบการคุ้มครองข้อมูลทั่วไป (General Data Protection Regulation, GDPR) ของการประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรปในปี 2561 และยังคงส่งให้ผู้เชี่ยวชาญภายนอกตรวจสอบการปกป้องข้อมูลและหลักปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ในปีที่แล้วเสียวหมี่ได้ทำการเผยแพร่รายงานความโปร่งใสเป็นฉบับแรกซึ่งทำให้เสียวหมี่กลายเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์แบรนด์แรกที่ทำเช่นนี้ ในปีนี้เสียวหมี่ได้รับใบรับรองการลงทะเบียนของ NIST CSF (National Institute of Standards and Technology, Cybersecurity Framework: สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ กรอบการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์) ซึ่งช่วยเสริมความแข็งแกร่งในการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลอีกด้วย

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ESG ของเสียวหมี่ ได้ที่ https://ir.mi.com/environmental-social-governance