ในปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่าเทรนด์เกี่ยวกับความยั่งยืนเป็นกระแสที่กำลังมาแรงและได้รับความสนใจจากทุกอุตสาหกรรม แต่คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าขนมและของว่างที่ยั่งยืนนั้นถูกผลิตขึ้นมาอย่างไร ในรายงานนโยบายด้านความรับผิดชอบสังคมประจำปี พ.ศ. 2564 ของบริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล อิงค์ ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายขนมและของว่างแบรนด์ชั้นนำระดับโลก อย่างคุกกี้โอรีโอ ลูกอมฮอลล์ หมากฝรั่งเดนทีน และช็อกโกแลตแคดเบอรี ได้ตอบข้อสงสัยไว้อย่างละเอียด ด้วยการอัพเดทความคืบหน้าสู่เป้าหมายในการเป็นบริษัทผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายขนมและของว่างที่ส่งเสริมความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ผ่านการสนับสนุนอุตสาหกรรมโกโก้ที่กำลังพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อให้พร้อมต่อการนำไปรีไซเคิลได้ พร้อมยกเลิกการใช้วัสดุสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการจัดการ อีกทั้งยังมุ่งส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภคและชุมชนต่าง ๆ และยิ่งไปกว่านั้น ความมุ่งมั่นในระดับโลกเหล่านี้ยังกลายเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานในระดับท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงการดำเนินงานในโครงการมากมายในประเทศไทยอีกด้วย
คุณพสิษฐ์ อัครนันท์กรณิศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “พันธกิจของเราคือการสนับสนุนการรับประทานขนมและของว่างอย่างเหมาะสม โดยเรามีความมุ่งมั่นในการประเมินระดับผลกระทบที่เกิดขึ้น จากนั้นจึงเดินหน้าลงทุนกับโซลูชันและนวัตกรรมที่สามารถพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต เพื่อให้เราสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวได้ สำหรับในประเทศไทย เรายังคงเดินหน้าสานต่อความมุ่งมั่นในระดับโลกของเราอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการระดับท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย เพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภคและชุมชนต่าง ๆ พร้อมลดผลกระทบจากการดำเนินงานของเราที่มีต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในทุกขั้นตอนของการผลิต”
จากแนวทางในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนระดับโลกสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2593 โรงงานผลิตลูกอมและหมากฝรั่งในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ได้ดำเนินงานสอดคล้องกับนโยบายดังกล่าวและบรรลุเป้าหมายในการประหยัดพลังงานผ่านโครงการต่าง ๆ และยังสามารถลดการใช้ทรัพยากรและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมาก อาทิ
- ลดการใช้พลังงานลง 34% ในช่วงปี พ.ศ. 2564 โดยช่วยลดมลพิษจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 3,044 ตันต่อปี ซึ่งมีค่าเท่ากับการปลูกต้นไม้ประมาณ 202,933 ต้น
- ลดการใช้น้ำได้ถึง 6.3% และลดปริมาณขยะอาหารได้ถึง 56.8% พร้อมลดวัสดุที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ไปแล้วกว่า 35 ตันต่อปี
- เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทฯยังได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าบนหลังคาหรือโซลาร์รูฟท็อปเพิ่มเติม ณ โรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Solar Phase-II Go-Live ซึ่งจะสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ปีละ 5,075,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง และลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 1,352 ตันต่อปี ซึ่งมีค่าเท่ากับการปลูกต้นไม้ประมาณ 90,139 ต้น
นอกจากนี้ โรงงานอีกแห่งของมอนเดลีซซึ่งเป็นแหล่งการผลิตเครื่องดื่มชนิดผง ตั้งอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ยังคงเดินหน้าดำเนินงานเพื่อสนับสนุนความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ
- เปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) 100% ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559
- ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ 1 ตันต่อเดือน ทำให้กลายเป็นโรงงานผลิตของมอนเดลีซแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (AMEA) ที่ได้รับการรับรองด้านการก้าวสู่ความเป็นกลางด้านคาร์บอน
- ลดการใช้น้ำอยู่ที่ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยไม่มีน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดถูกทิ้งออกสู่ภายนอกโรงงาน เนื่องจากโรงงานจะนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว กลับมารีไซเคิลเพื่อใช้เติมที่หอระบายความเย็น
- เปลี่ยนขยะอาหารจากโรงงานเป็นวัตุดิบเริ่มต้นของอาหารสัตว์ และได้รับการรับรองว่าเป็นโรงงานที่สามารถกำจัดขยะให้เหลือศูนย์โดยใช้ประโยชน์จากของเสียได้ทั้งหมด (Zero Waste to Landfill Certificate) (พร้อมได้รับการตรวจสอบโดย SGS)
บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล อิงค์ มีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้ผู้คนรับประทานขนมและของว่างอย่างเหมาะสม ด้วยการนำเสนอขนมและของว่างที่เหมาะสมและมีคุณภาพแก่ผู้บริโภค ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี เช่น แทงก์ กัมมี่ส์ ที่เสริมวิตามินซี ลูกอมฮอลล์ เอ็กซ์เอส และหมากฝรั่งเดนทีนที่เป็นผลิตภัณฑ์ปราศจากน้ำตาลและหมากฝรั่งคลอเร็ทรีแคลเด้นท์ที่มีสาร CPP-ACP หรือสารรีแคลเด้นท์ นอกจากนี้ บริษัทยังแสดงข้อมูลโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลในการเลือกรับประทานได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับปริมาณที่ควรบริโภคต่อครั้ง และมีการกำหนดปริมาณพลังงานที่ได้รับต่อหนึ่งหีบห่อให้ไม่เกิน 200 กิโลแคลอรี เพื่อช่วยให้บริโภคในปริมาณที่เหมาะสมด้วย
อีกหนึ่งความมุ่งมั่นที่บริษัทฯมีอย่างต่อเนื่อง คือการสร้างสุขภาวะที่ดีผ่านการสนับสนุนด้านอาหารและการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะในประเทศไทยบริษัทฯ ได้บริจาคเงินช่วยเหลือ ผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันรวมเป็นมูลค่ากว่า 17.6 ล้านบาท ผ่านองค์กรการกุศลต่างๆ เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ การดำเนินโครงการต่าง ๆ ในประเทศไทย เป็นการสานต่อกลยุทธ์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, Governance: ESG) ในระดับโลก ซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างการเปลี่ยนแปลงระยะยาวในวงกว้างเป็นหลัก ผ่านแนวการดำเนินงานแบบองค์รวมและบุกเบิกนวัตกรรมใหม่ ความร่วมมือเพื่อการปฏิรูปในระดับอุตสาหกรรม และการนำโซลูชันที่สามารถวัดผลได้มาปรับใช้ โดยหัวใจสำคัญของพันธกิจของบริษัทคือการส่งเสริมการบริโภคขนมและของว่างอย่างเหมาะสม ด้วยผลิตภัณฑ์ ช่วงเวลา และขั้นตอนการผลิตที่เหมาะสม ทำให้การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนค่านิยมในระยะยาวของบริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล
มร. เดิร์ก แวน เดอ พุท ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของมอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล อิงค์ กล่าวว่า “แนวคิดด้านการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนได้ถูกผสานอยู่ในกลยุทธ์สร้างการเติบโตทางธุรกิจของเรามาอย่างยาวนาน ในขณะที่เรายังคงเดินหน้าสร้างคุณค่า เสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของเรา และเร่งดำเนินงานตามความมุ่งมั่นในการก้าวสู่การเป็นบริษัทผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายขนมและของว่างที่ส่งเสริมความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ผมภูมิใจกับความคืบหน้าที่แข็งแกร่งในการดำเนินงานตามเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ที่ท้าทายของเรา ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวของธุรกิจของเราในอนาคต และช่วยให้เราสามารถแก้ไขปัญหาสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบต่อทั่วโลกในวงกว้าง”
ความคืบหน้าของการดำเนินงานของบริษัทฯในปี พ.ศ. 2564 ตามเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล ประกอบด้วย
- วัตถุดิบที่ยั่งยืน
- มีเกษตรกรร่วมลงทะเบียนผ่านโครงการโกโก้ ไลฟ์ (Cocoa Life) ซึ่งเป็นโครงการจัดซื้อโกโก้ที่ส่งเสริมความยั่งยืน จำนวน 209,954 คน ซึ่งบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้สำหรับปี พ.ศ. 2565 ที่ 200,000 คน โดย 75% ของปริมาณโกโก้ทั้งหมดที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับแบรนด์ช็อกโกแลตของบริษัทฯ มีที่มาจากโครงการดังกล่าว
- 91% ของปริมาณข้าวสาลีที่ใช้ในการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์บิสกิตในยุโรป มีที่มาจากโครงการ ฮาร์โมนี่ ชาร์เทอร์ (Harmony Charter) ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนการปลูกข้าวสาลีอย่างยั่งยืน
- 100% ของน้ำมันปาล์มได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนที่ครอบคลุมมิติความยั่งยืนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Roundtable on Sustainable Palm Oil หรือ RSPO) โดยสามารถนำไปสกัดน้ำมันปาล์มได้ 99% และได้รับการตรวจสอบในขั้นตอนการปลูก 87%
- สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม
- สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากขั้นตอนการผลิต 19%
- สามารถเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในขั้นตอนการผลิต 32 %
- บรรจุภัณฑ์
- 95% ของบรรจุภัณฑ์ถูกออกแบบให้สามารถนำไปรีไซเคิลได้
- ลดการใช้พลาสติกผลิตใหม่โดยรวม 4% และลดการใช้พลาสติกแข็งที่ผลิตใหม่โดยรวมอีก 4%
- ลดการใช้วัสดุสำหรับบรรจุภัณฑ์ลง 72,100 ตัน
- พนักงาน ชุมชน และสภาวะความเป็นอยู่ที่ดี
- มีพนักงานผู้หญิงที่อยู่ในระดับผู้นำขององค์กร 39%
- มีผู้บริหารระดับอาวุโสที่เป็นคนผิวสี 38% (ในสหรัฐอเมริกา)
- 61% ของชุมชนที่อยู่ภายใต้โครงการ โกโก้ ไลฟ์ ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก ได้รับการดูแลโดย Child Labor Monitoring and Remediation Systems หรือ CLMRS
- การบริโภคขนมและของว่างอย่างมีสติ
- 18% ของบรรจุภัณฑ์มาพร้อมไอคอน Snack Mindfully ที่ช่วยแนะนำปริมาณบริโภคต่อครั้งที่เหมาะสม
- 17% ของรายได้สุทธิจากขนมและของว่างมาจากผลิตภัณฑ์ที่มีการควบคุมปริมาณที่เหมาะสม
นอกเหนือจากการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายภายในปี พ.ศ. 2568 แล้ว บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล อิงค์ ยังคงแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการกำหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลที่ท้าทายยิ่งขึ้น รวมถึงการลงทุนและการมอบเงินทุนเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและขยะที่มาจากบรรจุภัณฑ์ อาทิ
- ตั้งเป้าหมายระยะยาวในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2593
- ลงทุนในกองทุน Circulate Capital Ocean Fund เพื่อสนับสนุนการเก็บขยะพลาสติกในปริมาณที่มากกว่าที่บริษัทมีการผลิตในประเทศอินเดียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมกัน
- ออกหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green bond) ของบริษัทเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ซึ่งในขณะนั้น ถือเป็นการออกหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค