‘ทีเส็บ’ ผนึกพันธมิตรท่องเที่ยวและไมซ์ 28 จังหวัดชายแดน เสริมศักยภาพระเบียงเศรษฐกิจ 5 ภูมิภาค รองรับการเติบโตตลาดนักเดินทางชายแดน

จากการประเทศไทย มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ตรงกลางของภูมิภาค CLMV และ อาเซียน จังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทยที่อยู่บริเวณชายแดน เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดนสำคัญและเป็นประตูเข้าออกของระเบียงเศรษฐกิจทั้งชายแดนภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคใต้ จากจำนวนนักเดินทางไมซ์ในเดือนเมษายน-มิถุนายนที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 108,556 คน โดย 5 อันดับแรกได้แก่ นักเดินทางจากอินเดีย จำนวน 44,960 คน มาเลเซีย 16,463 คน สิงคโปร์ 6,398 คน ลาว 3,654 คน และ เวียดนาม 3,088 คน

จากตัวเลขที่ชี้ให้เห็นการเดินทางเข้ามายังชายแดนของนักเดินทางจากประเทศเพื่อนบ้านรอบทิศที่มีแนวโน้มสูงขึ้นนี้ ทำให้ต้องตื่นตัวในการเตรียมการบริหารจัดการ และเตรียมความพร้อมรองรับคลื่นนักเดินทางจำนวนมากที่จะเข้ามาอีกในอนาคตหากเรานำจังหวัดเขตเศรษฐกิจชายแดนทั้ง 4 ภาค มาจัดทำกรอบความร่วมมือโครงสร้าง

โดยตั้งเป็นคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน เพื่อมีเป้าหมายเดียวในการประสานประโยชน์ตลอดแนวเขตพื้นที่เชื่อมโยงต่อกับเขตเศรษฐกิจและระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค ที่รัฐบาลมีแผนการขับเคลื่อนและพัฒนา ย่อมจะก่อให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมากในการบูรณาการการบริหารจัดการ การท่องเที่ยวและไมซ์

นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า ทีเส็บเราเป็นหน่วยงานของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของท่านนายกรัฐมนตรี มีพันธกิจหลักในการเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยอุตสาหกรรมไมซ์ อันประกอบด้วย การประชุมองค์กร การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล การประชุมสัมมนาวิชาชีพ งานแสดงสินค้าและเทศกาล Festival นานาชาติ เนื่องจากอุตสาหกรรมไมซ์ ถือเป็นเครื่องมือกระตุ้นและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญและมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้พันธกิจบรรลุผลมากยิ่งขึ้น

ทีเส็บจึงได้พัฒนาบทบาทในการเป็นผู้ร่วมสร้างโอกาสทางธุรกิจหรือ Co-creator of business opportunities ร่วมกับพันธมิตร Alliance ซึ่งกรอบความร่วมมือการท่องเที่ยวและไมซ์เชื่อมโยงศักยภาพระเบียงเศรษฐกิจชายแดนไทย หรือ NESTEC คือภาพสะท้อนบทบาทความร่วมมือนี้อย่างชัดเจน สำหรับกรอบความร่วมมือการท่องเที่ยวและไมซ์เชื่อมโยงศักยภาพระเบียงเศรษฐกิจชายแดนไทย หรือ NESTEC นี้ เป็นกรอบความร่วมมือที่ TCEB และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันดำเนินการขึ้น

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้กรอบความร่วมมือดังกล่าว เป็นเวทีสำหรับประชุมหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันของผู้ประกอบการท่องเที่ยวและไมซ์จาก 28 จังหวัดชายแดนทั่วประเทศ เพื่อร่วมกันกำหนดแผนงานและแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและไมซ์เชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจชายแดน นำเสนอเป็นข้อมูลต่อรัฐบาล เพื่อส่งเสริม ปลดล๊อกปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ บนเส้นทางเชื่อมโยง เพื่อเป็นการเตรียมการรองรับการเดินทางจำนวนมากที่จะเข้ามาท่องเที่ยวและทำกิจกรรมไมซ์ในพื้นที่ 28 จังหวัดชายแดนในอนาคต

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากความคืบหน้าของการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงมายังภูมิภาค GMS ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative หรือ เส้นทางรถไฟ และถนนสายใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 ของจีน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนนและรถไฟที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การเดินทางเชื่อมโยงจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีจุดหมายปลายทางมายังด่านชายแดนประเทศไทย เกิดความปลอดภัยในการเดินทางและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และจากการที่ภูมิประเทศของประเทศไทย ตั้งอยู่เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค CLMV และอาเซียน จึงทำให้จังหวัดชายแดนทั้ง 28 จังหวัด เป็นด่านประตูเข้า – ออกสำคัญของนักท่องเที่ยวและไมซ์ ที่จะใช้เป็นประตูผ่านไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต

ดังนั้น การร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและไมซ์เชื่อมโยงศักยภาพระเบียงเศรษฐกิจชายแดนไทยหรือ NESTEC Cross Border TOURISM & MICE Cooperation ในครั้งนี้ จึงถือเป็นมิติความร่วมมือใหม่ครั้งสำคัญ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งหลาย อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการประสานงานอย่างมีระบบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าภาครัฐหรือภาคเอกชน มีพันธกิจพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวทั้งระดับบุคลากรและองค์กรให้มีประสิทธิภาพและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุค 4.0 เชื่อมโยงผู้ประกอบการท่องเที่ยวกับ ภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ภาคสังคม และองค์กรระดับนานาชาติ เพื่อให้เกิดรูปแบบความร่วมมือและผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม สร้างสรรค์สินค้าและโอกาสทางการตลาดใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพ มีมูลค่าสูง มีเอกลักษณ์ มีความปลอดภัย มีมาตรฐาน มีความยั่งยืน และขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทย เติบโตได้อย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน

สำหรับการรวมพลของคนในวงการท่องเที่ยวในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันของภาคเอกชน 5 กลุ่มสาขาอาชีพการท่องเที่ยว ในการหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันในการกำหนดแผนงานและแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวและไมซ์ 28 จังหวัดชายแดน เชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจ 5 ภูมิภาค ตามที่รัฐบาลมีนโยบายขับเคลื่อนการพัฒนา

โดยกิจกรรมภายในงานประชุมสัมมนาความร่วมมือการท่องเที่ยวและไมซ์ เชื่อมโยงศักยภาพระเบียงเศรษฐกิจชายแดนไทยหรือ NESTEC Cross Border TOURISM & MICE Cooperation ในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย การบรรยาย ให้ความรู้จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการทำห่วงโซ่อุปทานเชื่อมโยงโลจิสติกส์การท่องเที่ยวและไมซ์ การระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนความร่วมมือภาคเอกชน 5 กลุ่มสาขาอาชีพเชื่อมโยงการท่องเที่ยวและไมซ์ 5 ระเบียงเศรษฐกิจ 28 จังหวัดชายแดน การทำ Business Matching ของผู้ประกอบการท่องเที่ยวและไมซ์ 28 จังหวัดชายแดน และการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการท่องเที่ยววสและไมซ์ 28 จังหวัดชายแดน เพื่อต่อยอดสู่แนวทางปฏิบัติ เพิ่มขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ของแต่ละจังหวัดต่อไป

นับว่าเป็นครั้งแรกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน กับความร่วมมือระหว่างภาคท่องเที่ยวและไมซ์ รวมตัวกันของภาคเอกชน เพื่อร่วมกันบริหารจัดการการท่องเที่ยวและไมซ์ 28 จังหวัดชายแดน เพื่อเตรียมการรองรับคลื่นนักเดินทางที่จะเข้ามาในอนาคตผ่านเส้นทาง OBOR ชายแดนต่าง ๆ จะเชื่อมกับแนวทางการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ได้แก่ NEC ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ NeEC ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ NEC ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ CWEC ระเบียงเศรษฐกิจภาคกลางตะวันตก SEC ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ EEC เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งคณะทำงานนี้มีส่วนทำให้จังหวัดในเขตเศรษฐกิจพิเศษเหล่านี้มีการเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น

ภายในงานจะมีทั้งการบรรยาย สัมมนา เสวนา การประชุม และการทำ Workshop เพื่อหารือและจัดทำแผนงานความร่วมมือภาคเอกชน 5 กลุ่มสาขาอาชีพเชื่อมโยงการท่องเที่ยวและไมซ์ 5 ระเบียงเศรษฐกิจ 28 จังหวัดชายแดน การทำ Business Matching ของผู้ประกอบการท่องเที่ยวและไมซ์ 28 จังหวัดชายแดน

สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ได้แก่ ภาครัฐและภาคเอกชนจาก 28 จังหวัดชายแดน และจังหวัดบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ 5 ภูมิภาค เกิดการบริหารจัดการความร่วมมือแลกเปลี่ยนมุมมองและจัดทำแผนงานการท่องเที่ยวและไมซ์ร่วมกัน รองรับตัวเลขการเดินทางของนักเดินทางผ่านเส้นทาง ONE BELT ONE ROAD ของจีน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐ และเอกชนในการร่วมกันกำหนดแผนงานและแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและไมซ์เชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจชายแดนมากยิ่งขึ้น รัฐบาลเห็นถึงความสำคัญและเกิดเป็นนโยบายและแผนส่งเสริมเฉพาะการท่องเที่ยวและไมซ์เชื่อมโยงระเบียง ศก. ชายแดน เชื่อมโยงแผนพัฒนาการท่องเที่ยวและไมซ์เชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจชายแดน เข้าสู่ยุทธศาสตร์เดียวกัน รองรับการมาถึงของนักเดินทางอย่างเต็มรูปแบบของระเบียงเศรษฐกิจ จีน-คาบสมุทรอินโดจีน (China-Indochina Peninsula Corridor) BELT & ROAD ได้อย่างเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยสูงสุด