“ลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค” เผยรายงานความยั่งยืน ประจำปี 2564 ชู 3 แนวทางหลัก “อากาศคุณภาพ การบริโภคและการมีส่วนร่วมกับชุมชน”เป็นนโยบายใหม่เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

“ลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค” เจ้าของแบรนด์ดังอย่าง “ลีวายส์” ตอกย้ำตำนานผู้นำยีนส์ระดับโลก เผยเป้าหมายใหม่ของบริษัทฯ ด้านความยั่งยืน อันเป็นส่วนหนึ่งของรายงานความยั่งยืน ประจำปี 2564 พร้อมแสดงเจตนารมณ์ของบริษัทที่ยึดถือความยั่งยืนเป็นสำคัญ โดยชู 3 เสาหลัก ประกอบด้วย “อากาศคุณภาพ การบริโภค และการมีส่วนร่วมกับชุมชน” ซึ่งมีเป้าหมายคลอบคลุมทั้ง 16 ข้อ  เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การดูแลน้ำ เศรษฐกิจหมุนเวียน และแนวทางพัฒนาธุรกิจรูปแบบใหม่ ๆ ยกระดับคุณภาพชีวิตพนักงานทั้งหมด ส่งเสริมความหลากหลาย ความเท่าเทียมและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมทั้งการรณรงค์ปัญหาสังคมในด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มการรับรู้ในวงกว้าง

“การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึง “สังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล (ESG)” ควบคู่ไปกับผลประกอบการณ์ที่ดีด้วยกันได้”

นี่คือแนวทางที่ ลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค ต้องการสื่อให้เห็นถึงปรัชญาการดำเนินธุรกิจด้วยหลักการสำคัญเหล่านี้ บริษัทได้ส่งมอบคำมั่นสัญญาว่าจะร่วมมือกับพันธมิตรอื่นๆ ในการดำเนินธุรกิจ และแสดงความตั้งใจที่จะพัฒนาส่งเสริมสินค้าหมุนเวียน และระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กว้างขวางขึ้น อีกทั้งยังคงรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของบริษัทที่วางรากฐานมาอย่างยาวนานในการดูแลพนักงานทุกคนด้วยศักดิ์ศรีและความเคารพ

นายชิพ เบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานบริษัท ลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค กล่าวว่า เป้าหมายเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมากต่ออนาคตทางธุรกิจของเรา โดยการเพิ่มเรื่องความยั่งยืนและการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG) ในรายงานของบริษัทเป็นสองเท่า พร้อมเสริมสร้างธุรกิจของเราให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการส่งสัญญาณถึงผู้ถือหุ้น รวมถึงลูกค้าของเราว่า เราจะยึดมั่นในความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจแบบ ESG และจะมุ่งมั่นทำงานเพื่อรับมือกับความท้าทายอย่างเร่งด่วนที่สุดในยุคของเรา

เป้าหมายทั้งหมดถือเป็นส่วนสำคัญของรายงานความยั่งยืนประจำปี 2564 ของบริษัท ที่ได้เผยแพร่ไปเมื่อเร็วๆ นี้ นอกจากนี้ ยังส่งเสริม แคมเปญการตลาด Buy Better Wear Longer ของแบรนด์ Levi’s® ซึ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 21 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ร่วมกับผู้บริโภคในการต่อสู้กับการผลิตสินค้าเกินและการบริโภคมากเกินไปในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม

จากเป้าหมายดังกล่าว ทางลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค จะทำการรายงานขั้นตอนการดำเนินงานของแต่ละเป้าหมายเป็นรายปี โดยจะแสดงต่อผู้ถือหุ้น ตั้งแต่นักลงทุน พนักงานทุกคน รวมถึงคนที่ทำงานในสายการผลิตทุกคน และพันธมิตรทั่วโลก ให้รับรู้ถึงการก้าวสู่ความยั่งยืนที่มากขึ้น มีความเท่าเทียมมากขึ้น และส่งผลเชิงบวกต่อบริษัทในทุก ๆ วัน

นายเจฟฟรีย์ โฮค ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนของ ลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค กล่าวว่า “เป้าหมายใหม่ของเราคือการเริ่มส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างความยั่งยืน และความตั้งใจที่จะสร้างความร่วมมืออย่างเปิดเผยในอุตสาหกรรมของเรา ซึ่งเราตั้งใจที่จะยกระดับความแข็งแกร่งของแบรนด์ Levi’s®  และคุณค่าของบริษัทที่มีมาอย่างยาวนาน เพื่อจุดประกายให้พนักงานของเรา ชุมชนต่างๆ และบริษัทคู่ค้าได้ร่วมเดินทางไปกับเราเพื่อสร้างอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มรูปแบบใหม่ที่ครบวงจร โดยให้ความสำคัญกับ 3 ภารกิจหลักประกอบด้วย”

1.) การสร้างคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น โดยบริษัทตั้งเป้า

  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในโรงงานการผลิต 40% ภายในปี 2567
  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 90% และใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ในทุกภาคส่วนที่ดำเนินการโดยบริษัท ภายในปี 2567
  • งดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดให้ได้ภายใน ปี 2593
  • ลดการใช้น้ำในการผลิตลง 50% ในพื้นที่ที่มีการใช้น้ำสูง ภายในปี 2593
  • ประเมินและระบุผลกระทบทางวัตถุและการพึ่งพาธรรมชาติ เพื่อใช้กลยุทธ์การดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพอย่างครอบคลุมภายในปี 2593

2.) หลักการบริโภค โดยบริษัทตั้งเป้า

·    แนะนำหรือเพิ่มแนวคิดการขายซ้ำและการนำวัสดุใช้แล้วมาดัดแปลงอีกครั้งเพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์ของเรา  (Resale and Upcycling) ภายในปี 2593 เตรียมความพร้อมสำหรับระบบพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2594

·    ลดปริมาณการทิ้งขยะจากโรงงานและทุกภาคส่วนที่ดำเนินการโดยบริษัทลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค ให้น้อยที่สุด หรือเป็น 0 (Zero-waste) และลดขยะ จากคู่ค้าทั้งหมดลง 50% ภายในปี 2030

·    งดใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งในบรรจุภัณฑ์สำหรับลูกค้า โดยเปลี่ยนมาใช้พลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิลได้หรือย่อยสลายได้ที่บ้าน 100% ภายในปี 2573

·    โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จ และโรงงานผลิตผ้าต้องใช้สารเคมีที่ผ่านการตรวจสอบและรับรอง 100% ภายในปี 2594

·    ใช้เฉพาะวัสดุหลักที่ได้รับการรับรองด้านความยั่งยืน หรือได้รับการรับรองโดยบุคคลภายนอกที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทฯ เท่านั้น ภายในปี 2573

3.) หลักการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยบริษัทตั้งเป้า สานต่อการส่งเสริมสุขภาพ การสร้างความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมของพนักงาน ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและความเสมอภาคในผลตอบแทนทั้งหมด มูลนิธิ ลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss Foundation) จะเป็นผู้นำและบุกเบิกการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม บริษัทลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค จะเป็นองค์กรขับเคลื่อนในชุมชนผ่านการสนับสนุน และมอบทุนแก่พนักงานและอาสาสมัคร

นาย ฮาร์มิต ซิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค กล่าวว่า การจัดการกับประเด็นผลกระทบที่สำคัญของธุรกิจและอุตสาหกรรมของเราไม่ใช่หน้าที่ของทีมใดทีมหนึ่ง แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทั้งบริษัท เราทุกคนต่างร่วมมือกันทั้งการลงมือทำและทรัพยากรที่จำเป็นในการบรรลุเป้าหมาย และเรามองเห็นโอกาสที่ดีในการนำเสนอนวัตกรรมทางการเงินและแนวทางรูปแบบใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

เป้าหมายหลายข้อเป็นการริเริ่มใหม่ เช่น การงดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการไม่ใช้พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งในบรรจุภัณฑ์สำหรับลูกค้า ภายในปี 2573 ในส่วนของเป้าหมายอื่น ๆ ล้วนมีอยู่เดิมตามเป้าหมาย การสร้างคุณภาพอากาศให้ดีขึ้นของ ลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค รวมถึงความตั้งใจลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตในพื้นที่ที่มีความต้องการใช้น้ำสูง ภายในปี 2568 โดยเป้าหมายทั้งหมดนี้ ทางบริษัทจะยังคงหาแนวทางพัฒนาใหม่ ๆ และยังคงดำเนินการต่อไป ที่จะพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างผลกระทบและกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อบรรลุเป้าหมายของบริษัทและเป็นส่วนสำคัญในการจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ

แนวคิดหนึ่งที่ยังคงแบ่งแยกกับเป้าหมายทั้งหมด คือความต้องการในการเพิ่มความร่วมมือกันทั้งวงการอุตสาหกรรม เพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ เห็นได้ชัดว่าบริษัทต่างๆ ในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะบริษัทที่มีห่วงโซ่อุปทานร่วมกัน จะมีผลกระทบที่มากกว่าและยาวนานกว่า โดยทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับคู่ค้า ลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค กำลังร่วมมือกับแบรนด์อื่นๆ ในการร่วมมือกับผู้ผลิตและองค์กรต่างๆ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวฝ้าย ไปจนถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์หมุนเวียน ด้วยเหตุนี้ ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา ลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค ได้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามร่วมกันของอุตสาหกรรม และพันธมิตรต่างๆ เช่น Fashion for Good, มูลนิธิ Ellen MacArthur, the United States Cotton Trust Protocolและล่าสุด ร่วมกับองค์กรส่งเสริมผ้าฝ้ายออร์แกนิก เพื่อช่วยผลักดันอุตสาหกรรมให้มีความยั่งยืนมากขึ้นและพร้อมสำหรับการผลิตแบบหมุนเวียน