ความนิยมของ TikTok ที่ครอง 1 ใน 4 แคมเปญการตลาดโดยใช้อินฟลูเอนเซอร์ในเอเชียและเทรนด์การใช้อินฟลูเอนเซอร์บนโซเชียลมีเดียในประเทศไทย 3 อันดับแรก

AnyMind Group, บริษัทที่เปิดทำธุรกิจแบบครบวงจร (End-to-end Commerce Enablement Company) ได้เผยแพร่รายงานประจำปีฉบับที่สามเกี่ยวกับการตลาดโดยใช้อินฟลูเอนเซอร์ในเอเชียด้วยข้อมูลที่ได้รับจากแพลตฟอร์มการทำการตลาดโดยใช้อินฟลูเอนเซอร์อย่าง AnyTag รายงาน State of Influence in Asia 22/23 จะวิเคราะห์ข้อมูลจากอินฟลูเอนเซอร์กว่า 500,000 รายและแคมเปญการตลาดโดยใช้อินฟลูเอนเซอร์ทั้งหมด 4,000 แคมเปญใน 10 ประเทศทั่วเอเชียได้แก่กัมพูชาฮ่องกงอินโดนีเซียญี่ปุ่นมาเลเซียฟิลิปปินส์สิงคโปร์ไต้หวันไทยและเวียดนาม

รายงานประจำปีฉบับที่สามนี้เราพบข้อมูลใหม่ตั้งแต่ข้อมูลที่เกี่ยวกับอินฟลูเอนเซอร์และแคมเปญจาก TikTok อุตสาหกรรมแบรนด์ชั้นนำต่างๆที่สร้างแคมเปญการตลาดโดยใช้อินฟลูเอนเซอร์การลงรายละเอียดด้านการทำการตลาดของทั้ง 10 ประเทศอย่างครอบคลุมและแบรนด์ที่อินฟลูเอนเซอร์กล่าวถึงมากที่สุด (ทั้งแบบออร์แกนิกและแบรนด์จ้าง) บน Instagram

ปีนี้เป็นปีแรกที่รายงาน State of Influence in Asia 22/23 มีข้อมูลเกี่ยวกับอินฟลูเอนเซอร์และแคมเปญบน TikTok โดยเราสามารถเห็นความนิยมของแพลตฟอร์มที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสำหรับการทำการตลาดโดยใช้อินฟลูเอนเซอร์ได้จากสัดส่วนการเติบโตของแคมเปญในช่วงเวลาที่วิเคราะห์ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2564 ถึงพฤศจิกายนพ.ศ.2564 ซึ่งสัดส่วนเฉลี่ยของแคมเปญที่ทำงานบน TikTok เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ อยู่ที่ 17.67% ในขณะที่ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 ถึงสิงหาคม พ.ศ.2565 TikTok มีสัดส่วนเฉลี่ยอยู่ที่ 24.34% นอกจากนี้ TikTok ยังเป็นผู้นำด้านอัตราการมีส่วนร่วมเฉลี่ยเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยมอื่นๆในทุกประเทศที่มีให้บริการยกเว้นในอินโดนีเซียที่ Instagram เป็นผู้นำด้านอัตราการมีส่วนร่วมเฉลี่ยนอกเหนือจากอินฟลูเอนเซอร์ระดับแมคโคร (อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 100,000 ถึง 1 ล้านคน)

สำหรับประเทศไทยเทรนด์การใช้อินฟลูเอนเซอร์บนโซเชียลมีเดียสำหรับทำการตลาดนั้นค่อนข้างน่าสนใจเราได้ข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางการใช้งานโซเชียลมีเดียที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆคือในประเทศไทย Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและแบรนด์ก็นิยมทำการตลาดบนแพลตฟอร์มนี้มากที่สุดถึง 35.3% แต่อัตราการมีส่วนร่วมในเนื้อหาที่อินฟลูเอนเซอร์สร้างขึ้นนั้นต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆและเนื้อหาที่เป็นที่นิยมมากที่สุด 3 อันดับแรกคือแฟชั่นและความงาม (25.23%) ความบันเทิงและงานอดิเรก (24.10%) และสุดท้ายคืออาหาร (11.20%)

ส่วน TikTok ที่กำลังมาแรงนั้นเราก็ได้เห็นความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทยทั้งด้านการใช้งานบนแพลตฟอร์มและอัตราการมีส่วนร่วมในเนื้อหาต่างๆซึ่งหากคิดเป็นเปอร์เซนต์จะอยู่ที่ 14.6% TikTok จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับแบรนด์หรือนักการตลาดที่ต้องการเน้นเรื่องอัตราการมีส่วนร่วมบนเนื้อหาให้มาเลือกใช้ทำการตลาดได้เช่นกันและในอนาคตเราอาจได้เห็นการแข่งขันด้านการพัฒนาตัวแพลตฟอร์มระหว่าง TikTok และ Instagram เนื่องจากความนิยมที่ค่อนข้างสูสีกันอย่างมากในประเทศไทยนี้

ในปีที่ผ่านมา Shopee เป็นแบรนด์ชั้นนำที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด (137,800 ครั้ง) จากเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ทั่วเอเชียบน Instagram ทั้งในอินโดนีเซียมาเลเซียฟิลิปปินส์และสิงคโปร์รองลงมาคือ LINE (96,910 ครั้ง) TikTok (88,931 ครั้ง) Lazada (59,995 ครั้ง) และ Canon (45,307 ครั้ง) ตามลำดับ

ด้านอุตสาหกรรมชั้นนำในเอเชียปีที่ผ่านมากลุ่มธุรกิจที่มีการใช้แคมเปญการตลาดโดยใช้อินฟลูเอนเซอร์ได้แก่แบรนด์แฟชั่นและความงาม (29.66% ของแคมเปญทั้งหมด) อาหารและเครื่องดื่ม (26.24% ของแคมเปญทั้งหมด) ครอบครัวและการศึกษา (12.80% ของแคมเปญทั้งหมด) ไลฟ์สไตล์และบ้าน (11.06% ของแคมเปญทั้งหมด) ความบันเทิงและงานอดิเรก (6.16% ของแคมเปญทั้งหมด)

ในการเปิดตัวรายงานนี้ Kosuke Sogo, CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง AnyMind Group กล่าวว่า “การตลาดโดยใช้อินฟลูเอนเซอร์ในเอเชียได้มาถึงจุดตัดของการเปลี่ยนแปลงแล้วและเราเชื่อว่าอนาคตของพื้นที่นี้ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดพร้อมกับอัพเดตวิธีการต่างๆ ของการทำธุรกิจออนไลน์ให้ความสามารถในการติดตามการระบุแหล่งที่มาและความน่าเชื่อถือที่มากขึ้นสำหรับนักการตลาดการมีเครื่องมือและข้อมูลเชิงลึกที่เหมาะสมจะช่วยให้นักการตลาดและธุรกิจมีแรงผลักดันในการเร่งเข้าสู่ยุคใหม่ของการค้าขายแบบไร้พรมแดนและเปิดกว้างได้ง่ายมากยิ่งขึ้นตั้งแต่การรวมการตลาดโดยใช้อินฟลูเอนเซอร์เข้ากับห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจไปจนถึงการจัดหาผู้สร้างสรรค์เนื้อหาที่มีความสามารถในการเริ่มต้นแบรนด์ของตนเองโดยตรงต่อผู้บริโภคเรากำลังพัฒนาการค้ายุคหน้าในเอเชียไปสู่ทั่วโลก”