‘เอเชีย’ เตรียมรับแรงกระแทก! ‘ธัญพืช’ ราคาพุ่ง หลังรัสเซียเลิกเปิดทางส่งออกของยูเครน

หลังจากที่ รัสเซีย ระงับข้อตกลงในโครงการ Black Sea Grain Initiative ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ ที่ขอให้รัสเซียผ่อนคลายการปิดล้อมทางทะเล และเห็นการเปิดท่าเรือสำคัญ 3 แห่งของ ยูเครน ซึ่งอาจทำให้โลกต้องเจอกับปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบอีกครั้ง

ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย กล่าวว่า “ไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยของเรือบรรทุกสินค้าแห้งพลเรือนที่เข้าร่วมในโครงการ Black Sea Grain Initiative และจะระงับการดำเนินการตั้งแต่วันนี้เป็นระยะเวลาไม่มีกำหนด” หลังจากยูเครนโจมตีกองเรือในเซวาสโทพอล

การยุติข้อตกลงดังกล่าว ทำให้ เอเชียแปซิฟิก อาจต้องเผชิญกับราคาธัญพืชและเนื้อสัตว์ที่สูงขึ้น เนื่องจากการผลิตและการบริโภคเนื้อสัตว์เป็นปัจจัยสำคัญในเอเชีย และสำหรับหลายประเทศในเอเชีย ธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด และถั่วเหลือง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ อาหารสัตว์ในการผลิตเนื้อวัว เนื้อหมู สัตว์ปีก และปลา ขณะที่ รัสเซียและยูเครนมีสัดส่วนการส่งออกข้าวสาลีประมาณ 1 ใน 3 ของโลก มีสัดส่วน 15% ของการส่งออกข้าวโพดของโลกและประมาณ 2.1% ของการส่งออกถั่วเหลืองของโลก

“สำหรับผู้บริโภคในเอเชีย คาดว่าจะต้องจ่ายราคาอาหารที่สูงขึ้นไปอีก ซึ่งรวมถึงเนื้อสัตว์ เนื่องจากความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ ควบคู่ไปกับต้นทุนด้านพลังงานและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ดังนั้น ผู้บริโภคทั่วเอเชียแปซิฟิกควรเตรียมตัวที่จะต้องจ่ายมากขึ้นสำหรับอาหารพื้นฐานและเนื้อสัตว์” Donnellon-May กล่าว

ท่าเรือโอเดสซา ในยูเครน (Photo: Shutterstock)

ก่อนที่รัสเซียจะหยุดการมีส่วนร่วม โครงการ Black Sea Grain ได้ปลดล็อกธัญพืช 9 ล้านเมตริกตันมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ โดย แม็กซิโม โทเรโร หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ คาดว่า หากธัญพืชในตลาดน้อยลง 1 ล้านเมตริกตัน อาจทำให้ราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5% ดังนั้น ยิ่งสถานการณ์ยาวนานขึ้น ราคาก็จะสูงขึ้น โดยข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับดัชนีราคาอาหารของ FAO บ่งชี้ว่าราคาอาหารโลกปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 โดยสิ้นสุดที่เดือนกันยายน

Donnellon-May กล่าวว่า ประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่อาจได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ อินโดนีเซีย ซึ่งเพิ่งจองสินค้าข้าวสาลีของยูเครนและปากีสถานซึ่งหน่วยงานรัฐบาลเพิ่งซื้อข้าวสาลีประมาณ 385,000 ตันซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมาจากรัสเซียและ ยูเครน ตามด้วย ลาว ไทย มาเลเซีย ศรีลังกา และบังกลาเทศ ก็ประสบปัญหาเช่นกัน

Source