ช้อปปี้เสริมสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจและนักช้อป

ทั้งธุรกิจและนักช้อปต่างมีความแข็งแกร่งในโลกออกไลน์ด้วยการใช้ประโยชน์สูงสุดจากโอกาสของอีคอมเมิร์ซท่ามกลางกระแสการเปิดประเทศและรับมือความท้าทายเศรษฐกิจมหภาค

จากรายงานของ “Shopee Serves: Building Resilience with Technology,” เผยว่านักช้อปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประหยัดเงินได้มากถึง 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 58,000 ล้านบาท) จากการซื้อสินค้าประเภทของใช้จำเป็นและสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านแคมเปญโปรโมชั่นประจำเดือนของช้อปปี้ และประหยัดได้มากยิ่งขึ้นเมื่อซื้อของผ่านแคมเปญที่ช้อปปี้จัดทำร่วมกับร้านค้าและแบรนด์ต่าง ๆ ทั้งนักช้อปและธุรกิจต่าง ๆ สามารถเข้าถึงอีคอมเมิร์ซได้ผ่านช้อปปี้ โดยปีที่ผ่านมามีผู้ใช้ใหม่ที่มาจากพื้นที่ต่างจังหวัดที่ยังเข้าถึงบริการได้น้อยเพราะอยู่นอกเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ในสัดส่วนสูงถึง 85% ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีผู้ขายรายใหม่จาก 200 พื้นที่ก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ผ่านช้อปปี้ ที่สำคัญ ช้อปปี้ยังยกระดับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (CSR) ร่วมกับพันธมิตรเพื่อชุมชนที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนโดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากถึง 600,000 คนในปี 2565

เทอเรนซ์ แพง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของช้อปปี้ กล่าวว่า “ในปีที่ผ่านมา เรายังคงเดินหน้าสนับสนุนชุมชนต่าง ๆ ของเราในขณะที่พวกเขาพยามประคองตัวในสภาพแวดล้อมที่ท้าทายด้วยความมุ่งมั่นและตระหนักถึงต้องการของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายช้อปปี้ช่วยให้ผู้ใช้งานประหยัดเงินในชีวิตประจำวัน ในขณะเดียวกันช่วยให้ผู้ขายเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจต่างๆทั้งในแง่การเชื่อมต่อและมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคที่ยังไม่เคยเข้าถึงแต่อยู่ในระบบนิเวศของเรา เราซาบซึ้งที่ทุกภาคส่วนไว้วางใจเรา รวมทั้งเรายังเดินหน้ามุ่งมั่นที่จะเสริมแกร่งให้ชุมชนของเราอย่างต่อเนื่องตลอดในอีกหนึ่งปีข้างหน้า”

สร้างเสริมความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน

แม้จะเผชิญความท้าทายทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่ผู้คนและภาคธุรกิจต่างพบคุณค่าและโอกาสเพิ่มเติมจากโลกออนไลน์โดยมีช้อปปี้เป็นผู้ช่วยสำคัญ ในการสร้างคุณค่าและโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ใช้งานทุกคนมาโดยตลอด:

สร้างคุณค่าแก่ผู้ใช้งาน: นักช้อปสามารถประหยัดเงินได้มากถึง 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 58,000 ล้านบาท) จากการซื้อของใช้จำเป็นและสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช้อปปี้ในช่วงโปรโมชั่นประจำเดือน รวมถึง “แคมเปญช้อปปี้ ช้อปดีมีคืน” ในประเทศไทย และดีลพิเศษจากแบรนด์ต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้นักช้อปรับมือกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นได้

ชนกานต์ คำนนท์ นักช้อปตัวยงของช้อปปี้ที่ใช้งานแอปฯมาตั้งแต่ปี 2562 กล่าวว่า “ถ้าพูดถึงแอปช้อปปิ้งออนไลน์ ก็จะนึกถึงช้อปปี้เป็นอันดับแรกเพราะเป็นแอปที่มีความสดใส ใช้งานง่ายและเป็นมิตรกับผู้ใช้ ที่สำคัญยังมีดีลเด็ดและสินค้าหลากหลาย เวลาช้อปปี้ปล่อยแคมเปญใหม่ทีไร ก็จะคอยมาดูดีลและโปรโมชั่นที่พิเศษกว่าเดิมจากช้อปปี้ ร้านค้าและแบรนด์พันธมิตร เพื่อประหยัดเงินขึ้นอีก อีกอย่างคือช้อปปี้มีบริการชำระเงินที่สะดวกอย่าง ShopeePayรวมถึงยังมีฟีเจอร์ SpayLaterซึ่งอำนวยความสะดวกด้านการผ่อนชำระได้ดีมาก สำหรับจิน รู้สึกว่าช้อปปี้เหมาะกับผู้ใช้งานหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิ้ง กิน ดื่มและบริการชำระเงิน แถมยังมีความบันเทิงมากมายเพื่อเติมเต็มความสุขให้ผู้ใช้ เรียกได้ว่าผู้ใช้งานสามารถทำทุกอย่างผ่านแอปช้อปปี้เพียงแอปเดียวได้เลย และถ้ามีโอกาส ก็อยากลองผันตัวไปเป็นผู้ประกอบการบนช้อปปี้ด้วยเพราะตัวเองสนใจเรื่องผลิตภัณฑ์ความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ทำจากส่วนผสมออร์แกนิค ปัจจุบัน ผู้บริโภคเองก็ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าช้อปปี้สามารถช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเติบโตได้อย่างยั่งยืน”

  • บ่มเพาะโอกาสใหม่แก่ผู้ขาย:ผู้ขายท้องถิ่นหลายล้านรายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขับเคลื่อนการเติบโตของตนเองบนโลกออนไลน์โดยมีช้อปปี้เป็นผู้ช่วยสำคัญในการหาลูกค้าใหม่และสานความผูกพันกับลูกค้าที่จงรักภักดี ในประเทศไทย ช้อปปี้ได้เปิดตัว ‘Shopee International Platform (SIP)’ เพื่อช่วยให้ธุรกิจห้างร้านในประเทศไทยมีโอกาสมากขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบนโลกออนไลน์ช้อปปี้รู้สึกเป็นเกียรติที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้ความไว้วางใจและมอบโอกาสให้ได้ร่วมงานกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไทยผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจการพัฒนาระบบช้อปปี้อย่างต่อเนื่องด้วยวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนผู้ขายไทยอย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยอย่างยั่งยืน

สุภิญญา เพิ่มพูนพานิช ผู้ขายบนแพลตฟอร์มช้อปปี้และเจ้าของแบรนด์ Beyond Ordinary Wellbeing กล่าวว่า ”สำหรับเรามองว่าโปรแกรม SIP มอบโอกาสที่ดีมากให้แก่ผู้ขายในตลาดไทย นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ธุรกิจไทยสามารถค้าขายในต่างแดนได้โดยไม่ต้องไปเปิดหน้าร้านที่ต่างประเทศจริง SIPเป็นผู้เปิดทางให้มีการค้าข้ามพรมแดนเกิดขึ้นได้ทั้งที่เราประกอบการอยู่ในบ้านเกิด ลงทุนขั้นต่ำแต่ได้ประสิทธิผลสูง โดยจากประสบการณ์ของเราเชื่อมั่นว่าช้อปปี้เองมีระบบหลังบ้านที่แข็งแกร่ง ดูแลครบถ้วนทั้งด้านระบบการชำระเงิน ระบบบริการจัดการคลังสินค้า ระบบโลจิสติกส์ในต่างประเทศ การให้บริการลูกค้าและการอำนวยความสะดวกการจัดกิจกรรมการตลาดหรือโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้าในตลาดต่างแดนเป้าหมาย มั่นใจว่า SIPจะช่วยให้เราเจาะตลาดอาเซียนหรือแม้แต่ตลาดโลกและคว้าโอกาสอีกมากมายได้ในอนาคต”

ยกระดับการหลวมรวมให้เป็นหนึ่ง

เศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพราะผู้คนจำนวนมากเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าสู่ชีวิตกันมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ช้อปปี้ไม่เพียงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเสริมแกร่งตลอดจนส่งเสริมปรับตัวทางธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและขนาดย่อย  (SMEs) เท่านั้น หากแต่ยังเปิดทางให้ผู้คนจำนวนมากทำธุรกรรมออนไลน์เป็นครั้งแรกในปี 2565 ด้วย

  • เพิ่มความเพลิดเพลินและคุณค่า:ผู้คนจำนวนมากขึ้นเพลิดเพลินกับการช้อปปิ้งอย่างสะดวกและรวดเร็วไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดก็ตาม
    • จากจำนวนนักช้อปออนไลน์บนแพลตฟอร์มช้อปปี้หลายสิบล้านคนเริ่มช้อปครั้งแรกเมื่อปี 2565 โดยกว่า 85%ของนักช้อปหน้าใหม่อาศัยอยู่นอกเมืองหลวงและเมืองใหญ่ซึ่งเป็นพื้นที่เข้าถึงบริการได้จำกัดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ขายท้องถิ่นจาก 200 แห่งเข้าสู่วงการอีคอมเมิร์ซผ่านช้อปปี้
  • เพิ่มการเข้าถึงบริการดิจิทัล: จำนวนผู้ใช้งานที่ทำธุรกรรมออนไลน์อื่น ๆ มีเพิ่มมากขึ้น อาทิ การชำระเงินออนไลน์และการสั่งอาหาร
    • ผู้ใช้งาน 24 ล้านคนทำธุรกรรมShopeePayเป็นครั้งแรกในปี 2565
    • ในประเทศไทย ผู้บริโภคนอกเมืองหลวงเปิดรับบริการดิจิทัลมากขึ้นอย่างชัดเจน ที่สำคัญ ผู้ใช้งานบริการดิจิทัลยังลองใช้บริการอื่น ๆ อาทิ การสั่งอาหารด้วย โดยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 ยอดสั่งอาหารบน ShopeeFoodโดยผู้พำนักอาศัยนอกกรุงเทพ เพิ่มขึ้น 2 เท่า เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก ทั้งนี้ ช้อปปี้ยังคงเดินหน้าตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่นอกเมืองใหญ่ ผ่านบริการดิจิทัลที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นบริการชำระเงิน บริการอาหาร หรือบริการอีคอมเมิร์ซ

ยกระดับแรงหนุน

ในช่วงปี 2565 ช้อปปี้ใช้แพลตฟอร์มและทรัพยากรของตนเองเพื่อประโยชน์ของชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือ

  • ส่งเสริมสิ่งที่มีความหมายสำหรับชุมชนท้องถิ่น: ราว 600,000 คนเข้าร่วมกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (CSR)ของช้อปปี้และพันธมิตรที่จัดทำขึ้นเพื่อชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือและสนับสนุน
    • ในประเทศไทย ช้อปปี้ขยายโครงการ #ShopeeTogether เพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการเปิดตัวกิจกรรม “กล่อง เกิด ใหม่” ซึ่งเชิญชวนให้ชาวไทยนำกล่องพัสดุที่ตนได้รับจากช้อปปิ้งออนไลน์มาส่งต่อ ณ จุดที่กำหนดเพื่อส่งเสริมการรีไซเคิล โดยมีจุดรับกล่องมากถึง 100 จุดในกรุงเทพ ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวสามารถรวบรวมวัสดุรีไซเคิลได้กว่า 1,700 กิโลกรัมเพื่อให้ช้อปปี้และพันธมิตรร่วมกันนำวัสดุดังกล่าวไปผลิตเป็นชั้นวางหนังสือให้แก่มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทยฯ
    • ช้อปปี้เปิดตัวโครงการ#Seller101TogetherWeGrow เพื่อสนับสนุนผู้ขายในกลุ่มผู้พิการผ่านการช่วยพัฒนาทักษะดิจิทัลและช่วยให้พวกเขาสามารถริเริ่มธุรกิจออนไลน์ได้ โดยโครงการดังกล่าวจัดทำขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับ ETDA Digital Citizen (EDC) ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ผู้พิการจำนวนทั้งสิ้น 30 รายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวการเปิดร้านค้าบนแพลตฟอร์มช้อปปี้

ช้อปปี้มุ่งมั่นกับพันธกิจเพื่อสังคมตลอดปี 2565 ด้วยมุ่งหมายจะสร้างสังคมไทยยั่งยืน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ShopeeTogether2022 CSR ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=9ZwKC3vJwcc

  • ส่งเสริมผู้มีความสามารถในท้องถิ่น: ช้อปปี้เดินหน้าเพิ่มทักษะให้แก่ผู้ขาย ผู้ประกอบการและผู้มีความสามารถในตลาดท้องถิ่นผ่านโครงการมากมาย อาทิ Shopee University และ Shopee Code League เพื่อช่วยพวกเขามีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น
  • ผู้ขายจำนวน 2 ล้านคนได้รับทักษะเพิ่มเติมผ่าน Shopee University ณ ปี 2565
  • ผู้มีความสามารถท้องถิ่นจำนวน 20,000 คนได้รับทักษะเพิ่มเติมผ่านเวทีประกวดหรือโครงการอบรมของ
    ช้อปปี้

อ่าน Shopee Serves: Building Resilience with Technology ฉบับเต็มได้ที่นี

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับ  Shopee Social Impact Report ประจำปี 2565 ได้ที่นี่

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันช้อปปี้ได้ฟรีจาก  App Store, Google Play Storeและ App Gallery