การ์ทเนอร์เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีสำคัญต่อภาครัฐ ประจำปี 2566

การ์ทเนอร์เผย 10 แนวโน้มเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อกิจการภาครัฐในปี 2566 เป็นแนวทางให้ผู้นำองค์กรภาคสาธารณะเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านและเตรียมพร้อมไปสู่รัฐบาลหลังยุคดิจิทัล (หรือPost-Digital Government) และมุ่งที่เป้าหมายของภารกิจทั้งหลายอย่างต่อเนื่อง

อาร์เธอร์ มิคโคลีท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ความวุ่นวายทั่วโลกและการหยุดชะงักทางเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่เพียงแต่กำลังกดดันรัฐบาลให้ต้องหาทางออกเพื่อปรับสมดุลระหว่างโอกาสและความเสี่ยงทางดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังให้โอกาสสำคัญอีกหลายอย่างสำหรับเปลี่ยนแปลงรัฐบาลดิจิทัลไปสู่ยุคถัดไป ซึ่งผู้บริหารไอทีภาครัฐฯ ต้องแสดงให้เห็นว่าการลงทุนดิจิทัลของพวกเขานั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่กลยุทธ์ทั่ว ๆ ไป ในขณะที่ยังต้องเดินหน้าปรับปรุงการส่งมอบบริการและรับมือกับผลกระทบต่าง ๆ ที่มีต่อภารกิจหลัก”

ผู้บริหาร CIO ภาครัฐฯ ควรพิจารณาผลกระทบของแนวโน้มเทคโนโลยีต่อไปนี้ (ดูรูปที่ 1) ที่มีต่อองค์กร และนำมาปรับใช้เป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อพิจารณารูปแบบการลงทุนพร้อมปรับปรุงความสามารถทางธุรกิจ บรรลุภารกิจสำคัญของผู้นำและสร้างองค์กรรัฐที่พร้อมสำหรับอนาคตยิ่งขึ้น

รูปที่ 1 แนวโน้มเทคโนโลยีภาครัฐ ประจำปี 2566 โดยการ์ทเนอร์

Adaptive Security

การ์ทเนอร์คาดว่า ในปี 2568 75% ของผู้บริหาร CIO ในองค์กรภาครัฐจะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการรักษาความปลอดภัยนอกเหนือจากในส่วนที่เกี่ยวข้องกับไอที ประกอบด้วยเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของการปฏิบัติงานต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยีที่แวดล้อมภารกิจสำคัญขององค์กร การผสานรวมข้อมูลองค์กร ความเป็นส่วนตัว ซัพพลายเชน ระบบไซเบอร์และกายภาพ (Cyber-Physical Systems หรือ CPS) และระบบคลาวด์ที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างบูรณาการ โดยผู้บริหาร CIO ควรเชื่อมโยง Adaptive Security ให้มีขอบเขตกว้าง

ขึ้นไปถึงนวัตกรรมดิจิทัล การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ภารกิจด้านความมั่นคงของชาติ และเป้าหมายในการสร้างความยืดหยุ่นขององค์กรมากยิ่งขึ้น

Cloud-Based Legacy Modernization

รัฐบาลของประเทศที่เป็นผู้นำอยู่ในความกดดันให้รื้อระบบเก่า ระบบแบบไซโลต่าง ๆ และการจัดเก็บฐานข้อมูล เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอทีและแอปพลิเคชันให้ทันสมัย รวมถึงเพื่อให้มั่นใจว่าบริการภาครัฐมีความยืดหยุ่นมากขึ้น CIO สามารถใช้กลยุทธ์การจัดหาที่ยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive Sourcing Strategies) เพื่อระบุขอบเขตที่รูปแบบ “As-A-Service” จะไปช่วยจัดสรรทรัพยากรภายในและจัดลำดับความสำคัญของภารกิจ การ์ทเนอร์คาดว่าภายในปี 2568 กว่าครึ่งของงานที่ต้องทำขององค์กรภาครัฐฯ มากกว่า 75% จะใช้ผู้ให้บริการคลาวด์แบบไฮเปอร์สเกล

Sovereign Cloud

ความปั่นป่วนทั่วโลก ตลอดจนความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลของรัฐบาลที่เกินขอบเขต ส่งผลให้มีความต้องการอธิปไตยบนคลาวด์ (Sovereign Cloud) มากขึ้น รัฐบาลมีความพยายามมากขึ้นเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่เปิดเผยในขอบเขตจำกัดและโครงสร้างพื้นฐาน โดยใช้อำนาจศาลและการเข้าถึงข้อมูลของรัฐบาลต่างประเทศ การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 มากกว่า 35% ของแอปพลิเคชันรัฐรุ่นเก่า ๆ จะถูกแทนที่ด้วยโซลูชันต่าง ๆ ที่พัฒนาด้วยแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันแบบ Low-Code และดูแลโดยทีมงานแบบผสมผสาน (Fusion Team)

Hyperautomation

การ์ทเนอร์ ระบุว่าภายในปี 2569 องค์กรภาครัฐ 60% จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบอัตโนมัติในกระบวนการทำงานของรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 35% ในปี 2565 โดยการริเริ่มโครงการไฮเปอร์ออโตเมชั่น (Hyperautomation) ใหม่ ๆ จะช่วยสนับสนุนการทำงานและกระบวนการไอทีภาครัฐ สำหรับการให้บริการสาธารณะที่เชื่อมต่อและลื่นไหลแก่ประชาชน โดย CIO ต้องจัดแนวคิดโครงการอัตโนมัติใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับความสำคัญในปัจจุบันในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ขณะเดียวกันยังต้องจัดสรรค่าใช้จ่ายการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

AI for Decision Intelligence

ภายในปี 2567 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า 60% ของการลงทุนกับเอไอและการวิเคราะห์ข้อมูลของรัฐบาลจะส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจและผลลัพธ์การปฏิบัติงานแบบเรียลไทม์ โดยเอไอเพื่อการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด (AI For Decision Intelligence) ช่วยให้รัฐบาลตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ  ทันท่วงทีในระดับที่เหมาะสม ซึ่ง CIO ต้องพร้อมสำหรับการนำเอไอมาใช้อย่างแพร่หลายโดยตรวจสอบให้มั่นใจว่ามีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจและเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ

Data Sharing as a Program

การใช้ข้อมูลร่วมกัน (Data sharing) ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรภาครัฐ นั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการสำหรับการนำข้อมูลมาใช้และวิเคราะห์ ภายในสิ้นปี 2566 นี้ การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า 50% ขององค์กรภาครัฐจะจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจด้านแบ่งปันข้อมูลอย่างจริงจัง รวมถึงมาตรฐานโครงสร้างข้อมูล คุณภาพและทันเวลา ซึ่ง CIO ควรโฟกัสไปที่เป้าหมายที่เป็นมูลค่าเพิ่มมาและวัตถุประสงค์ของภารกิจในช่วงกำลังพัฒนาโครงการ Data-Sharing

Total Experience หรือ TX

ภายในปี 2569 แนวทางการสร้างประสบการณ์ภาพรวมของรัฐบาล (Total Experience หรือ TX) จะลดความคลุมเครือในกระบวนการทำงานลงถึง 90% ขณะเดียวกันยังเพิ่มมาตรวัดความพึงพอใจทั้งประสบการณ์ของประชาชนหรือผู้ใช้บริการภาครัฐ (CX) และประสบการณ์ของพนักงานหรือข้าราชการ (EX) ขึ้นถึง 50% โดย TX ช่วยสร้างการทำงานร่วมกันและสอดคล้องกันระหว่าง CX, EX, Multi-Experience (MX) และประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) ที่แต่เดิมแยกกันอยู่ เพื่อสนับสนุนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของรัฐบาล CIO สามารถช่วยลดแรงเสียด