B.Duck พาขบวนทัพเป็ดเหลืองร่วมงาน TBTHK โชว์พลังสินค้าประกาศศักยภาพแบรนด์จากฮ่องกง

บริษัท B.Duck Semk Holdings International Limited ตบท้ายร่วมงาน  Think Business, Think Hong Kong (TBTHK ) หลังประสบความสำเร็จอย่างสูงต่อการรุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย ด้วยการเปิดร้าน B.Duck Café แห่งแรกขึ้น ณ สยามสแควร์ หลังเปลี่ยน Businees Model จากเดิมหาตัวแทนจำหน่ายมาสู่การเป็นผู้ออกใบอนุญาตการผลิต ส่งผลแบรนด์ B.Duck ประสบความสำเร็จอย่งสูง แต่ติดปัญหาผู้บริโภคส่วนใหญ่คิดว่า B.Duck คือแบรนด์ที่มาจากยุโรป ญี่ปุ่น ดังนั้นการเข้าร่วมงานของ B.Duck ในงาน TBTHK จะเป็นเวทีเพื่อประกาศให้รู้ว่า B.Duck คือ แบรนด์ที่มาจากฮ่องกง อย่างแท้จริง

Vincent Cheung กรรมการบริหาร ผู้จัดการทั่วไป และหัวหน้าการดำเนินการออกใบอนุญาต บริษัท B.Duck Semk Holdings International Limited ซึ่งเป็นบริษัทในฐานะแบรนด์ฮ่องกงที่ดำเนินธุรกิจในด้านการออกใบอนุญาตการผลิตให้กับบริษัทต่าง ๆ ให้สามารถออกแบบและผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ B.Duck เปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี 2553 หลังจากที่บริษัทได้เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยผ่านตัวแทนจำหน่าย ก็เริ่มมีแนวความคิดที่จะขยายธุรกิจไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มากขึ้น บริษัทจึงปรับ Businees Model มาสู่การเป็นผู้ออกใบอนุญาตการผลิตให้กับบริษัทต่าง ๆ เพื่อสามารถนำไปออกแบบและผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ B.Duck ได้เองเพื่อจะช่วยกันให้เกิดการโปรโมท ประชาสัมพันธ์แบรนด์ B.Duck ในตลาดต่างประเทศ เพิ่มมากขึ้น

สำหรับประเทศไทยถือว่าเป็นตลาดแรกของการเข้ามาหาตัวแทนจำหน่าย B.Duck เพื่อขยายธุรกิจ เนื่องจากเป็นตลาดที่มีศักยภาพและได้ผลตอบรับที่ดี จนปัจจุบันสามารถกระจายผลิตภัณฑ์ B.Duck ออกไปจำหน่ายขายได้อย่างประสบความสำเร็จในภูมิภาคนี้ โดยโครงการแรกที่ประเทศไทยได้ใช้ลิขสิทธิ์ของบริษัทเพื่อขยายผลทางธุรกิจ คือ การเปิดร้าน B.Duck Café บริเวณ สยามสแควร์ ขึ้น เพื่อจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มในธีม B.Duck นับเป็นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบคาเฟ่แห่งแรก แม้แต่ในฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ ก็ไม่เคยเปิดแบบนี้มาก่อน

โดยร้าน B.Duck Café บริเวณ สยามสแควร์ จะถูกตกแต่งด้วยโมเดล B.Duck ขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นผ่านกระจกบานใหญ่ของคาเฟ่ ทำให้เป็นจุดสังเกตอย่างมากในพื้นที่ ส่งผลทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากรู้จักแบรนด์ B.Duck อย่างแพร่หลาย จนนำไปสู่ความร่วมมือกับผู้ที่ได้ลิขสิทธ์ B.Duck รายอื่น ๆ ต่อไปในประเทศไทย เช่น เมื่อปี 2558 และ ปี 2560 B.Duck ได้ร่วมมือกับร้านสะดวกซื้อในเครือเทสโก้ โลตัส ที่มีสาขากว่า 1,000 สาขาทั่วประเทศ เปิดตัวโครงการรับแลกของรางวัลสุดพิเศษจาก B.Duck ผลปรากฎว่าโครงการนี้มีผู้บริโภคเข้ามาร่วมรับแลกรางวัลเพิ่มขึ้นกว่าเดิมถึง 2 เท่า ซึ่งช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตแบรนด์ B.Duck อย่างมากในตลาดประเทศไทย และกลายมาเป็นการผลิตสินค้าที่ได้รับลิขสิทธิ์ที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ เครื่องนอน ของใช้ส่วนตัว ทิชชู่ เครื่องเขียน เครื่องใช้ในบ้าน นอกจากนี้ก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 B.Duck ยังได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ร่วมกับ Mistine แบรนด์เครื่องสำอางชั้นนำระดับประเทศอีกด้วย

อย่างไรก็ดี จากสำเร็จของแบรนด์ B.Duck ในประเทศไทยมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1. บริษัทมีการควบคุมเรื่องดีไซน์และคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ เมื่อนำไปจำหน่ายก็ทำให้เป็นที่รู้จักในตลาดท้องถิ่น 2. เมื่อบริษัทเข้าสู่ธุรกิจการออกใบอนุญาต  B.Duck ถูกเลือกให้มาจัดโปรโมชั่นกับรถเมล์สาย 8 ในกรุงเทพฯ เนื่องจากในภาษาไทยเลข “8” ออกเสียงเหมือนลูกเป็ด ผู้ที่มีใบอนุญาตจึงได้มีโอกาสตกแต่งเมล์สาย 8 ด้วย B.Duck ทั้งติดตั้งตุ๊กตา B.Duck บนหลังคา  ผลิตโฆษณาทีวี และ ตกแต่งร้านต่าง ๆ ทำให้ความนิยมของ B.Duck เพิ่มขึ้น และเป็นที่ต้องการในตลาด ขณะที่บริษัทที่ได้รับอนุญาตในประเทศไทยก็พัฒนาขึ้น มีการใช้นวัตกรรมการออกแบบใหม่ ๆ  เพื่อสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ จน B.Duck กลายเป็นแบรนด์ที่เพิ่มความดึงดูดใจและได้รับความนิยมอย่างมาก

Vincent Cheung กล่าวว่า กว่า 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทย เป็นตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เหมาะสมอย่างมากในการออกใบอนุญาตแม้แต่แอนิเมชั่นอเมริกันและญี่ปุ่นที่ใช้การออกแบบใบอนุญาตการผลิตในประเทศไทย
ก็ได้รับการตอบรับทั้งจากผู้ค้าและผู้บริโภคชาวไทยสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะประเทศไทยมีประชากรจำนวนมาก และเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว มีศิลปินที่มีชื่อเสียงด้านความคิดสร้างสรรค์ จึงทำให้เกิดอิทธิพลในการนำเทรนด์ B.Duck กระจายออกไปประเทศอื่น ๆ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

นอกจากนี้แล้ว หลังจากบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเมื่อช่วงปี 2565 บริษัทได้ขยายตลาดรวมกับตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย เพื่อจัดตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทยขึ้น เมื่อต้นปี 2566 ที่ผ่านมา เพื่อจะใช้เป็นศูนย์กลางขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มากขึ้น ขณะเดียวกันบริษัทยังได้เปิดธุรกิจอีคอมเมิร์ซ รวมถึงเปิดร้านค้าในช่องทางออนไลน์ เช่น  Shopee, Lazada และแพลตฟอร์มเกิดใหม่เช่น Douyin และ TikTok เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยอดนิยมของ B.Duck ไปยัง 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโปรโมทสินค้า B.Duck ไปยังตลาดอาเซียนทั้งหมด

วัตถุประสงค์สำคัญที่บริษัทเดินทางเข้ามาร่วมงานจัดแสดงสินค้า Think Business, Think Hong Kong (TBTHK ) ระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม ณ เซ็นทารา แกรนด์ และบางกอก คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิล์ด
เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า B.Duck เป็นแบรนด์ฮ่องกง เพราะจากบรรจุภัณฑ์ที่มีกลิ่นอายจากต่างประเทศและแนวทางที่ใส่ใจคุณภาพผลิตภัณฑ์เป็นหลัก ทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า B.Duck คือแบรนด์ที่มาจากยุโรปหรือญี่ปุ่น ดังนั้นเมื่อบริษัทได้รับคำเชิญจากองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (Hong Kong Trade Development Council: HKTDC) ให้เข้าร่วม TBTHK ก็เป็นโอกาสที่จะประกาศให้ทุกคนได้รู้ว่าจัก B.Duck เป็นแบรนด์ที่มาจากฮ่องกง อย่างแท้จริง

เนื่องจากขณะนี้จากผลการสำรวจ B.Duck เป็นแบรนด์ด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property : IP ที่ใหญ่สุดในตลาดจีน และมีรายได้จากการออกใบอนุญาตอยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก ดังนั้นเพื่อให้การไปร่วมงานของแบรนด์ B.Duck เป็นที่รู้จักมากขึ้นในงาน Think Business, Think Hong Kong  บริษัทศึกษาแนวทางสำหรับการติดตั้ง B.Duck ขนาดยักษ์เพื่อสร้างความดึงดูดใจให้กับผู้คนที่มาเข้าร่วมชมภายในงาน ประกอบกับบริษัทจะมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตครั้งแรกเมื่อปี 2554 ซึ่งเป็นงานนิทรรศการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตจากฮ่องกงที่จัดโดย HKTDC เพราะนี่คือจุดเริ่มต้นในการเติบโตของแบรนด์ B.Duck  ก่อนที่บริษัทจะขยายตลาดออกไปยังต่างประเทศมากขึ้น เช่น เซี่ยงไฮ้ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ ในงาน Think Business, Think Hong Kong ถือว่าเป็นงานส่งเสริมแบรนด์จากฮ่องกงให้มีโอกาสขยายการส่งออกไปสู่ทั่วโลกมากขึ้น ทางบริษัทเองซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก HKTDC ทั้งเรื่องการค้าเพื่อโปรโมท B.Duck ไปจนถึงการจับคู่ธุรกิจ นับว่าเป็นโอกาสสำหรับ B.Duck เพื่อการรุกขยายเข้าไปยังตลาดไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มมากขึ้น ที่ผ่านมา B.Duck ได้ขยายธุรกิจเข้าไปตลาดจีนแผ่นดินใหญ่แล้ว ซึ่งเป็นตลาดที่มีความซับซ้อนมากกว่าตลาดในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากต้องใช้ภาษาจีนกลางในการสื่อสารเท่านั้น รวมไปถึงความหลากหลายของตลาดจีน ดังนั้นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ใหม่ ๆ ของ B.Duck เชื่อว่าการหาผู้ที่มีความชำนาญในประเทศจีนจะช่วยทำให้เกิดการขยายตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า

ปัจจุบันทางบริษัทกำลังพัฒนาธุรกิจตัวแทนให้กับ Shew Sheep แบรนด์ไทยที่ได้ขยายไปสู่ตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อครั้งตอนที่ได้เข้ามาร่วมงานจัดแสดงที่เซี่ยงไฮ้  Licensing Exhibition เมื่อเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา โดยความคล้ายคลึงของ Shew Sheep กับ B.Duck คือการให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการมุ่งเน้นใช้สื่อโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ Shew Sheep ยังได้รับการยอมรับจากประเทศไทย เกาหลี และญี่ปุ่น จึงไปได้สูงที่จะรุกเข้าสู่ตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ ได้ นอกจากนี้ บริษัทวางแผนจะขยายธุรกิจ IP (ทรัพย์สินทางปัญญา) ไปยังหลาย ๆ ประเทศเช่นเดียวกับ Disney จากสหรัฐอเมริกา หรือ Sanrio จากญี่ปุ่น เพราะที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2554 บริษัทได้รับใบอนุญาตจาก Chupa Chups ในสเปน และMentos จากยุโรป การเป็นตัวแทนของ Esther Bunny จากเกาหลีใต้ เพื่อโปรโมทจีนแผ่นดินใหญ่ อีกด้วย