NSM เปิดตัวพิพิธภัณฑ์เสมือนแห่งใหม่ “ScIAM Meta Museum (Beta)” ชวนทุกคนมาสัมผัสโลกแห่งการเรียนรู้วิทยาศาสตร์รูปแบบใหม่

ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานในงานแถลงข่าวเปิดตัวพิพิธภัณฑ์เสมือนแห่งใหม่ “ScIAM Meta Museum (Beta)” โดยมี นายนิติ บุณยเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและการผลิตสื่อ อพวช. พร้อมด้วย ดร.กรชนก สุตะพาหะ ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีบุณยานนท์มาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เสมือนรูปแบบใหม่ขึ้นมาและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้สำหรับการสอนในปัจจุบันพร้อมชวนทุกคนมาสัมผัสโลกแห่งการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านโลกเสมือน รองรับการพัฒนาเพื่อนำไปสู่ ระบบเมตาเวิร์ส (Metaverse) ในอนาคต ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า “NSM ได้มีแนวความคิดพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้สามารถเข้าถึงเด็ก ๆ เยาวชน และประชาชน ทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดสร้างโครงการพัฒนาระบบพิพิธภัณฑ์เสมือน ของ อพวช. (Virtual Museum) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวเชิงรุกให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ให้ สนใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยนำเสนอในรูปแบบโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) ที่ สามารถเข้าใช้งานได้ทุกเวลาที่ต้องการ โดยสามารถตอบสนองต่อความต้องการเรียนรู้เนื้อหาด้าวิทยาศาสตร์ ในรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมที่สามารถเข้าใจได้ง่าย พร้อมจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เสมือนด้านวิทยาศาสตร์แห่ง แรกที่รองรับการพัฒนาเพื่อนำไปสู่ระบบเมตาเวิร์ส (Metaverse) ได้ในอนาคต ซึ่งแพลตฟอร์มเมตาเวิร์สเป็น เทคโนโลยีใหม่ที่กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ ซึ่ง NSM ก็เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริม เด็ก ๆ เยาวชน และประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ความเข้าใจต่อเมตาเวิร์สแพลตฟอร์มโลกเสมือนเพื่อการเรียนรู้ เนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์ในอนาคตด้วย จึงเป็นที่มาของการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เสมือน ScIAM Meta Museum(Beta) ขึ้นมา”

นายนิติ บุณยเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและการผลิตสื่อ อพวช. กล่าวว่า “สำหรับ ScIAM Meta Museum (Beta) ได้ออกแบบเรื่องราวให้เป็นพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง (Virtual Museum) ที่อยู่ ภายใต้การดูแลของ NSM เนื่องจากที่ผ่านมาเคยเกิดสถานการณ์วิกฤตของการแพร่กระจายโรคติดเชื้อไวรัสโค โรนา 2019 (โควิด-19) ที่ส่งผลให้การใช้ชีวิตของทุกคนบนโลกเปลี่ยนไป ผู้คนในเมืองต่างพากันเก็บตัวอยู่ใน บ้านของตัวเองไม่สามารถออกไปข้างนอกได้เหมือนอย่างเคย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ทุก คนเข้ามาเรียนรู้ และทำการทดลองวิทยาศาสตร์ในแบบที่โลกจริงไม่สามารถทำได้ ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์ได้ ออกแบบห้องกิจกรรมเป็น 2 ห้อง (Pavilion) คือ ห้อง “กาลครั้งหนึ่งในอวกาศ” ซึ่งนำเสนอความรู้เกี่ยวกับ อวกาศและระบบสุริยะ ให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงและเข้าใจเนื้อหาด้านอวกาศและดาราศาสตร์ได้ง่ายยิ่งขึ้น และ ห้อง “โลกแห่งสิ่งแวดล้อม” ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถจำลองบรรยากาศและเหตุการณ์ที่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุ ผลกระทบ ระบบ นิเวศวิทยา และการเอาตัวรอดเบื้องต้น ที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้จากการอ่านหรือดูสื่อการสอนแต่เพียงอย่างเดียว มีการออกแบบโซนที่สามารถรองรับการสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานไม่ว่าจะผ่านระบบถาม-ตอบแบบเวลาจริง (Realtime Chat) เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นเมตาเวิร์ส (Metaverse) พร้อมออกแบบระบบการสะสม คะแนนเพื่อนำมาแลกรับของรางวัลอีกด้วย”

ดร.กรชนก ตะพาหะ ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีบุณยานนท์ กล่าวว่า “ปัจจุบันเทคโนโลยีเสมือนถือ เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์มาก ซึ่งระบบการศึกษาในปัจจุบันเองได้มีการนำเทคโนโลยีเสมือนจริงมาประยุกต์ ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาในชั้นต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ การเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่ไม่มีในตำราวิชาการ สำหรับ ScIAM Meta Museum เอง ก็เป็นสื่อที่ใช้ เทคโนโลยี เสมือนในการเรียนรู้ ทำให้เด็ก ๆ ได้พัฒนาทักษะ และเก็บประสบการณ์ความรู้ ที่มีเรื่องราว และกิจกรรม ที่หลากหลาย โดยสามารถเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับความสนใจตามแบบฉบับของตัวเอง มีส่วน ร่วม และลงมือศึกษาได้ทุกขั้นตอน จนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง บนนวัตกรรมทันสมัย”

ผศ.ดร.รวินฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ขอเชิญชวนให้ทุกคนได้เข้าไปทดลองเรียนรู้กับพิพิธภัณฑ์เสมือน ScIAM Meta Museum (Beta) ที่สามารถเข้าชมได้ทุกที่ทุกเวลา พร้อมเปิดประสบการณ์เสริมสร้างการเรียนรู้ ของเยาวชนและประชาชนทั่วไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ผ่านเว็บไซต์ sciam.nsm.or.th หรือ บนแอปพลิเคชัน ScIAM Meta Museum”