ความจริงจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ที่มีขนาดตั้งแต่ 500 ซีซีขึ้นไปหรือเรียกกันว่าBigbike เป็นความฝันของชายหนุ่มที่ชื่นชอบความเร็วบนรถ 2 ล้อ ซึ่งครั้งหนึ่งในชีวิตอยากจะสัมผัสแรงสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์ที่อยู่ใต้ขาสองข้าง สายลมที่พัดกรีดร่างกาย เพื่อทดสอบดูว่าพละกำลังของตัวเองนั้นรองรับได้มากขนาดไหน
ด้วยข้อจำกัดด้วยเรื่องภาษี กฎหมายต่างๆ ทำให้รถบิ๊กไบค์จากต่างประเทศถูกจำกัดไว้เฉพาะกลุ่มตลาดบนเท่านั้น การแพร่ขยายสู่ตลาดอื่นๆ ทำได้ยาก
ยอดขายรถยาม่าฮ่า ฟีโน่สัปดาห์เดียว ก็มากกว่ายอดขาย 1 ปี ของรถบิ๊กไบค์ทุกค่าย
กลุ่มคนรักบิ๊กไบค์ถูกปลุก และสร้างให้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ แม้จะไม่ตูมตาม แต่ก็น่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง
การขยายตัวของตลาดบิ๊กไบค์ทำให้ธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ เติบโตตามไปด้วย เช่น หมวกนิรภัย และรองเท้าบิ๊กไบค์
ปิยะ ซอโสตถิกุล ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์รองเท้าอาราชิ จากญี่ปุ่น ที่วางตำแหน่งเป็นรองเท้าสำหรับกลุ่มคนรักบิ๊กไบค์ ซึ่งเขาบอกว่าลูกค้าส่วนใหญ่ยอมรับการดีไซน์ที่ทันสมัย และที่สำคัญมีราคาย่อมเยา จนสามารถเพิ่มยอดขายผ่านตัวแทนจำหน่ายในเขตภาคตะวันออกและผ่านเว็บไซต์ www.arashigear.com สูงเกินกว่าที่คาดไว้
“ปัจจุบัน เราสามารถสร้าง Brand Awareness แก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างดี โดยในเริ่มแรกเราอาศัยเจาะผ่าน Social Network ต่างๆ และอาราชิ ถือเป็นแบรนด์แรกและแบรนด์เดียวในตลาดรองเท้ามอเตอร์ไซค์ของไทยที่เป็นกลุ่ม Mass ทำให้เรามีโอกาสที่สดใสมากในการเติบโต”
ขณะนี้อาราชิมีตัวแทนร้านค้ากว่า 50 ราย ทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็นในกรุงเทพฯ 20 ราย และต่างจังหวัดตามหัวเมืองใหญ่ๆ อาทิ เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น และภูเก็ต ซึ่งกำลังขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ
กระแสแนวโน้มการเกิดของบิ๊กไบค์ชัดเจนขึ้น จากการตั้งโรงงานในไทยของ 2 ค่ายบิ๊กไบค์อย่าง ดูคาติ และไทร์อัมพ์ และการนำเข้าจากค่ายญี่ปุ่นอย่างซูซูกิ ฮอนด้า ยามาฮ่า นอกจากนี้ยังมีรถจากจีน ไต้หวัน และมาเลเชีย ซึ่งมีรถขนาดตั้งแต่ 250 ซีซีขึ้นไป
ซึ่งล่าสุด ธนชาต ธนาดำรงศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มไบค์ มอเตอร์เซลส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ เอส วาย เอ็ม (SYM) จากประเทศไต้หวัน ก็บอกว่า ต้องการเป็นผู้ผลิตรายแรกที่ให้ความสำคัญกับบิ๊กสกู๊ตเตอร์ในไทย เน้นเรื่องการบริการ อะไหล่ และขอเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของผู้บริโภค และขอให้เปิดใจรับแบรนด์ใหม่ๆ ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับแบรนด์เก่า”
ตลอดปี 2555 เอส วาย เอ็ม เน้นกิจกรรมการตลาดแบบลงลึก เดินทำกิจกรรมทุกจังหวัด เน้นประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ ทั้งโฆษณา ทีวี เคเบิลทีวี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุท้องถิ่น และกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ ตอกย้ำภาพลักษณ์ของบิ๊กสกู๊ตเตอร์
บิ๊กไบค์จากของเล่นเศรษฐี กำลังถูกเปลี่ยนให้มาเป็นของเล่นคนทั่วไป ผ่านการปลุกเร้าความต้องการลึกๆ ของชายหนุ่มส่วนใหญ่ที่ต้องการเป็นเจ้าของบีกไบค์สักคันในชีวิต
ปัจจัยที่ทำให้ Bigbike เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น
1.อารมณ์-ความต้องการ สังคม ธรรมชาติของชายหนุ่มที่นิยมรถจักรยานยนต์ ต้องการเป็นเจ้าของบิ๊กไบค์ ชอบความเร็ว และต้องการเอาชนะคู่แข่ง มีกลุ่ม และคลับที่ชื่นชอบรถประเภทเดียวกัน
2.สินค้ามีมากขึ้น ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ทั้งยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน เข้ามาตั้งโรงงานและนำเข้ามาจำหน่าย
3.ราคาจับต้องได้ ระดับราคาของบิ๊กไบค์ที่ถูกต้องตามระเบียบ และกฎหมาย จับต้องได้ตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป
4.อุปกรณ์ป้องกัน และแฟชั่นมีแพร่หลาย รองเท้า เสื้อผ้า หมวกกันน็อก เพื่อคนใช้บิ๊กไบค์มีมากขึ้น และราคาถูกลง
5.ดารา-เซเลบฯ หันมาสนใจ กลุ่มดาราผู้ชาย นักร้อง หรือแม้แต่นางงามก็หันมาขับขี่บิ๊กไบค์
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
เดือน ต.ค. 2554
style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>รถ
style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>จำนวน
(คัน)
style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>ส่วนแบ่งตลาด
(%)