ธีรศานต์ สหัสพาศน์ หรือ ไอซ์ ทายาทรุ่น 3 แห่งร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อเจ๊กเม้ง เจ้าของสโลแกน “หน้าไม่งอ รอไม่นาน” ผู้สร้างตำนานเจ๊กเม้งรุ่นใหม่หัวใจโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คพบว่า Instagram มีคุณอนันต์ต่อธุรกิจของเขามากกว่าการเป็นชุมชนแสดงภาพออนไลน์
พร้อมกันกับการเปิดตัวสาขาใหม่และรีแบรนด์ “ร้านเจ๊กเม้ง ก๋วยเตี๋ยวเนื้อต้นตำรับ” ให้เป็น “JM Cuisine” เมื่อ 2 เดือนก่อน แอพพลิเคชั่น Instagram ซึ่งบ่งบอก “สเตตัสด้วยภาพ” ของ Gadget ตระกูล i (iPad/ iPod/ iPhone) จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างการรับรู้ใหม่ของแบรนด์เจ๊กเม้งแก่ผู้บริโภคผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เมนูพิเศษที่เพิ่มขึ้นจากการ Re-positioning, ชาแนลใหม่ของร้านใน Youtube ฯลฯ
หน้าไม่งอ รอไม่นาน สวยกลับบ้านด้วย Instagram
ช่วงเวลาเพียงไม่นาน ร้านเจ๊กเม้งซึ่งเป็นเพียงร้านก๋วยเตี๋ยวในจังหวัดเพชรบุรีก็กลายเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว เมื่อธีรศานต์ลงมือประชาสัมพันธ์และทำ CRM ในระบบดิจิตอลเซอร์ราวนด์ผ่านทุกโซเชี่ยลมีเดีย โดยอาศัยฐานข้อมูลของลูกค้าที่ให้ไว้กับทางร้าน เช่น ชื่อล็อกอินใน Twitter, Facebook หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ เพื่อแสดงความขอบคุณด้วย “ภาพถ่าย” ของลูกค้าเองภายหลังจากพวกเขามาอุดหนุนอาหารที่ร้าน และเพื่อส่งต่อข่าวสารและโปรโมชั่นของร้านในอนาคต
เมื่อความนิยมในการจัดการภาพด้วย Instagram มาถึงเมืองไทย ธีรศานต์ในฐานะสาวกค่าย Apple จึงเริ่มใช้แอพฯ นี้เพื่อแนะนำสาขาใหม่และเมนูต่างๆ ของทางร้าน ด้วยการถ่ายภาพและอัพโหลดไปยังโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ ผ่าน iPhone4 ของเขา (ซึ่งกำลังรอรับ iPhone4s อยู่) และ iPad ของร้านจำนวน 8 เครื่อง
เขาตั้งข้อสังเกตว่าชาวสังคมออนไลน์ไม่ได้ต้องการเสพภาพที่มี “ความชัดขั้นเทพ” พวกเขาเพียงแต่ต้องการภาพที่สื่ออารมณ์หรือชวนให้รู้สึกว่า “สวย” ในกระบวนการที่ “รวดเร็ว” ซึ่ง Instagr.am ตอบโจทย์เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี
“ผมเคยเข้าไปดู Timeline ของคนที่โพสต์ภาพทุกอิริยาบถของตัวเองเวลาไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ มันทำให้เพจของเขาดูไม่น่าสนใจ คือถ้าไม่สนิทกันก็คงเบื่อที่จะดู ฉะนั้นรูปที่โพสต์ใน Account ของผมจึงเป็นรูปที่เป็นตัวแทนของแต่ละโมเมนต์มากกว่า เช่น กรุ๊ปทัวร์หนึ่งกลุ่มก็แชร์เฉพาะรูปเด็ดของพวกเขาแค่หนึ่งภาพ ผมไม่อยากทำตลาดแบบฮาร์ดเซลส์ แค่อยากสร้างการรับรู้ให้เกิดการซึมซับและนึกถึงแบรนด์ของเราในอนาคตก็พอ” นักธุรกิจหนุ่มผู้มุ่งมั่นในโซเชี่ยลมีเดียมาร์เก็ตติ้งเน้นย้ำ
มุมหนึ่งของร้านเจ๊กเม้งสาขา 2 หรือ JM Cuisine ได้รับการเซตให้เป็นฉากสำหรับถ่ายรูปเพื่อสนอง Need ของหนุ่มสาวผู้รักการ “แชะและแชร์” ด้วยอุปกรณ์ประกอบฉากที่เลียนแบบไอคอนต่างๆ ในโลกออนไลน์ เช่น พอยเตอร์ระบุพิกัดใน Foursquare ขณะเดียวกันธีรศานต์ยังเปิดกว้างให้ทุกคนเข้ามาถ่ายรูปภายในร้านได้โดยไม่จำเป็นต้องสั่งอาหาร เหตุผลหนึ่งเพื่อช่วยกระตุ้นลูกค้าที่นั่งรับประทานอยู่ให้อยากถ่ายภาพ ขณะเดียวกันเมื่อพวกเขาอัพโหลดและแชร์ภาพย่อมสร้างการรับรู้และบอกต่อได้โดยไม่ต้องใช้งบประชาสัมพันธ์ที่มากมาย
“สมัยก่อนที่ร้านเรายังเล็กๆ ใครมาที่ร้านผมก็จะถ่ายรูปให้ แต่ตอนนี้เป็นลักษณะว่าถ้าดูแล้วโต๊ะไหนอยากได้ภาพเป็นที่ระลึก ผมก็จะเข้าไปเสนอตัวเพื่อถ่ายรูปให้ หรือถ้าลูกค้าพาเด็กๆ มา ผมก็จะเข้าไปขอถ่ายรูป เพราะรู้สึกว่าถ้าเป็นน้องเป็นหลานเรา ก็คงอยากให้ถ่ายรูปเหมือนกัน พ่อแม่เด็กเขาก็จะตามมาดูรูป มากดไลค์ใน Fanpage ของเรา เพื่อ tag หรือเซฟรูปเด็กๆ ไป”
กดไลค์ให้ Instagram
“ผมรู้สึกว่าการถ่ายและอัพโหลดภาพด้วยทวิตเตอร์แบบเดิมมันไม่ค่อยรวดเร็วครับ บางทีก็แฮงค์ พอมาใช้ Instagr.am แล้วยังไม่พบปัญหาแบบนั้นเลย” ธีรศานต์เล่าต่อถึงเหตุผลอื่นๆ ที่เขาติดใจ Instagram อาทิ
– ฟังก์ชันการใช้งานที่ง่ายและรวดเร็วกว่าการถ่ายรูปด้วยแอพพลิเคชั่นอื่นๆ เช่น สามารถปรับแสง ใส่ฟิลเตอร์ที่มีให้เลือกหลากหลายได้ทันทีก่อนกดชัตเตอร์ โดยไม่ต้องผ่านโปรแกรมตกแต่งภาพ
– สามารถแชร์ไปยัง Flickr, Facebook, Twitter ของทางร้านได้ทันที
– ขนาดภาพที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส สะดวกต่อการจัดเลย์เอาต์เพื่ออัพโหลดเพจขึ้นเว็บบล็อก ให้ผู้อ่านเห็นภาพเต็มตาพร้อมคำบรรยายในหน้าจอเดียวโดยไม่ต้อง Scroll Down (แถมเหลือพื้นที่สำหรับโฆษณาด้านข้าง)
– News Feed ที่เป็นรูปภาพล้วนๆ ทำให้เห็นภาพรวมและเหมาะสำหรับคนที่ไม่อยากมานั่งอ่านข้อความเยอะๆ
สำหรับเหตุที่ธีรศานต์ใช้ชื่อเล่นของตัวเอง (Iczz) ในการสร้าง Account ทั้งของ Twitter และ Instagram แทนที่จะใช้ชื่อแบรนด์หรือชื่อร้านอย่างเป็นทางการก็เพราะโดยส่วนตัวเขาเห็นว่าการเรียกคนให้เข้ามา Follow เข้ามาคอมเมนต์หรือมาพูดคุยกับแบรนด์ขนาดเล็กและขนาดกลางนั้นน่าจะใช้ชื่อส่วนตัวเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกใกล้ชิดกับเจ้าของแบรนด์และสร้างอิมแพคที่มากกว่า เมื่อต้องการสื่อสารถึงแบรนด์จึงค่อย Tag คีย์เวิร์ดของแบรนด์ที่แมสเสจหรือภาพ ดังเช่นสองคีย์เวิร์ดที่ธีรศานต์ใช้คือ “JMcuisine” และ “Sodaprinting (ธุรกิจของขวัญ)” ลูกค้าที่ Follow ชื่อบัญชี Iczz เพียงบัญชีเดียวจะสามารถรับรู้เรื่องราวอัพเดทของทั้งสองแบรนด์ผ่าน News Feed ของพวกเขา นับว่าเป็นการสร้างช่องทางในการแนะนำอีกแบรนด์ไปในตัว
ทว่าเงื่อนไขสำคัญคือต้องไม่ Tag คีย์เวิร์ดที่ไม่เกี่ยวข้องเพื่อเรียกความสนใจ ซึ่งแม้จะเรียกคนมา Follow ได้มาก แต่ Feed นั้นจะเกร่อและขาดเอกลักษณ์ จนกลายเป็น Spam และทำลายตัวแบรนด์เองในที่สุด
ธีรศานต์รับว่าภาพที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือภาพที่มีดาราหรือคนดังมาอุดหนุนร้าน เช่น ตูน-บอดี้สแลม, วู้ดดี้-วุฒิธร, ศิลปินวง Sweet mullet ฯลฯ บุคคลเหล่านี้มีฐานแฟนคลับอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อคนหนึ่งเห็นเพื่อนกดไลค์ก็จะตามมากดไลค์ที่ภาพกันเป็นทอดๆ โดยเฉพาะถ้าศิลปินดังกล่าวเข้ามากดไลค์ด้วยตัวเองแล้วยิ่งเรียกความนิยมได้มากและรวดเร็ว ธีรศานต์เห็นว่าอย่างน้อยก็ทำให้ชื่อแบรนด์ JM Cuisine ผ่านตานักท่องโลกออนไลน์และอาจสร้างเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับแบรนด์ผ่านการรีโพสต์ ดาวน์โหลด แชร์ภาพ ตลอดจนตามมา Follow โซเชี่ยลมีเดียต่างๆ ของทางร้าน จนเริ่มเข้ามามี Activity กับแบรนด์ด้วยตัวเองในที่สุด
ในอนาคตอันใกล้ ธีรศานต์เตรียมออกแบบแอพพลิเคชั่นเฉพาะของ JM Cuisine ด้วยคอนเทนต์ซึ่งคาดว่าประกอบด้วยระบบการสั่งอาหารบน iPad, การจองและเช็กที่นั่งออนไลน์, การแชร์สูตรอาหารที่สร้างสรรค์ขึ้นมาโดยเขาและน้องชาย, เส้นทางท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี, การ์ตูนสั้นที่นำเสนอเรื่องราวของแบรนด์ (หลังจากไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ราเม็งที่ญี่ปุ่น ธีรศานต์ได้เริ่มนำแนวคิดการใส่คุณค่าด้วยเรื่องราวมาปรับใช้ เช่นเมนู “บะหมี่ไข่เจียวกรรเชียงปูราดซอสตาลโตนด” ที่เขานำเสนอเรื่องราวของตาลโตนดและปูแห่งผืนทรายเม็ดแรกของประเทศที่อำเภอบ้านแหลมจนได้รับรางวัลจากกระทรวงพาณิชย์) รวมถึงแกลอรี่ภาพซึ่งขาดไม่ได้
เพราะภาพหนึ่งสื่อถ้อยคำได้นับพัน ยิ่งภาพที่สวยงามแล้ว แม้มีเพียงหนึ่งก็สื่อความหมายสู่ความทรงจำได้ไม่รู้เลือน
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>การเปลี่ยนแปลง
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ตุลาคม
2554
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ปัจจุบัน
ธีรศานต์ สหัสพาศน์
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>Social
Media
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>Registered
Account
Twitter, Line
Flickr
Noodle
(Channel)
– เขาเข้าไปดู Instagr.am ของตี๋-Sweet Mullet บ่อยที่สุด
– ชมเรื่องราวความเป็นมาของร้านเจ๊กเม้งได้ที่คลิปรายการ SME ตีแตก (11-02-2011)
– เหตุที่ต้องรีแบรนด์เป็น JM Cuisine เนื่องจากคนจำนวนมากเข้าใจผิดว่าที่ร้านมีแต่เมนูก๋วยเตี๋ยวเนื้อ
– ราคาอาหารที่ JM Cuisine อยู่ที่ 35-100 บาทต่อเมนู
– JM Cuisine ต่อยอดไปสู่บริการจัดเลี้ยง และ Delivery ซึ่งลูกค้าในจังหวัดมีความถี่ในการใช้บริการมากกว่า แต่ยอดขายเฉลี่ยอยู่ที่ 100 บาท/ครั้ง ในขณะที่ลูกค้ากรุงเทพสร้างยอดขายต่อครั้งสูงกว่า เฉลี่ยที่ 2,000-5,000 บาท/ ครั้ง
– ธีรศานต์ทำธุรกิจของขวัญ (ภาพถ่าย) ภายใต้แบรนด์ Soda Printing ตั้งแต่ 8 ปีที่แล้วเพื่อส่งค่าเทอมให้น้องและตัวเองเรียนจนจบ ปัจจุบันยังคงมีออเดอร์ไม่ต่ำกว่าวันละหนึ่งร้อยรูป
– สตีฟ จ็อบส์ เป็นไอดอลของเขามาตั้งแต่เป็นผู้สร้าง Toy Story เขารู้สึกว่าสตีฟสะท้อนพลังบางอย่างออกมาอย่างขัดแย้ง คือเข้มงวดกับคนรอบข้าง แต่เอาใจและพุ่งชนผู้บริโภคอย่างสุดซึ้ง