ชาร์ป จัดกิจกรรม “SHARP ELECTRIC FAN DESIGN COMPETTITION 2023

การประกวดออกแบบพัดลม ภายใต้แนวคิด”NEW USER EXPERIENCE” ภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างบริษัท เฟดเดอรัล อีเลคตริค จำกัด ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ SHARP ร่วมกับ ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม (Industrial Design) คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ (AAD) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL)

โดยในงานมี คุณ วิโรจน์ ทานัชฌาสัย ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (COO) บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด เป็นผู้มอบรางวัลและ คุณฤทธิไกร โภคะมณี ผู้อำนวยการโรงงาน บริษัท เฟดเดอรัล อีเลคตริค จำกัด (ในเครือ บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด) คุณกิตติศักดิ์ มิตรประทาน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมด้วย อ.สุรเชษฐ ไชยอุปละ รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ์สื่อสารองค์กร คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ร่วมเป็นสักขีพยานในการมอบรางวัล

งานดังกล่าวให้มีกิจกรรม Roadshow ทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ และคัดเลือก 7 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้า สู่รอบ Final Round และกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขา ร่วมเป็นกรรมการตัดสิน และยังได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ จาก บริษัท เฟดเดอรัล อีเลคตริค จำกัด เข้าร่วมกิจกรรมการตัดสินการประกวดในครั้งนี้เมื่อวันที่22 ก.ย. ที่ MUN SANDBOX โซน MUNx2 Seacon Square

ผลการตัดสินรางวัลต่างๆ มีดังนี้

รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1

ทีม Power of P
สมาชิก : นางสาวธัญจิรา แก่นสุวรรณ, นายเปรม นินานนท์, นายพิชญ์พศิน บูรณฤทธิ์ทวี
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2

ทีม ตัวตึง 1
สมาชิก : นาย สมรัฐ ลัดลออ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3

ทีม The survivors
สมาชิก : นาย บวรพจน์ อูปแก้ว คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง

ด้าน คุณฤทธิไกร โภคะมณี ผู้อำนวยการโรงงาน บริษัท เฟดเดอรัล อีเลคตริค จำกัด (ในเครือ บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด) เผยว่า ต้องขอบคุณทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ สจล. ทำให้มีกิจกรรมดีๆแบบนี้ โดยบริษัทไม่ใช่มีสินค้าเพียงแค่พัดลม ยังมีอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกหลายชนิดและที่สำคัญ โครงการนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะต่อยอดไปในอนาคตเพราะเห็นศักยภาพของนักศึกษาและอาจารย์ทุกท่านที่ช่วยกันระดมสมองเพิ่มมิติของพัดลมให้มีประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้งานต่อไป