ปฏิเสธไม่ได้เลยว่างานพีอาร์ หรือการทำประชาสัมพันธ์องค์กรนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และจำเป็นมากกว่าเดิมถ้าหากจะทำธุรกิจในโลกยุคดิจิทัล เพราะทุกสิ่งเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วและงานประชาสัมพันธ์เป็นงานที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร ยิ่งต้องมีความตื่นตัวและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรถือเป็นหัวใจสำคัญ ที่ต้องอาศัยกลยุทธ์ที่รอบคอบ ต่อเนื่อง และรวดเร็วอยู่เสมอในการส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถสื่อสารไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จ
บริษัท Trailblaze Mission (เทรลเบลซ์ มิสชั่น) หรือ Trailblaze PR (เทรลเบลซ์ พีอาร์) หน่วยงานด้านประชาสัมพันธ์และสื่อสารชั้นนำในท้องถิ่น ที่ให้บริการด้านการสื่อสารแบบครบวงจร เปิดเผยว่าหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ได้คลี่คลายลง ธุรกิจไม่ว่ารายเล็กหรือรายใหญ่ ต่างก็ปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยเปลี่ยนวิธีคิด กลยุทธ์ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ โซลูชัน ให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โควิด-19 ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่เร่งให้องค์กรปรับกลยุทธ์และลงทุนในด้านดิจิทัลมากขึ้น ผู้บริโภคเน้นการใช้งานออนไลน์และเทคโนโลยีมากขึ้น โลกถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ที่มาทำลาย (Disrupt) รูปแบบธุรกิจแบบเดิม ไม่ว่าจะเป็นการมาของ metaverse, ChatGPT, AI และอื่น ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกกลยุทธ์หรือทุกเครื่องมือที่จะเหมาะกับทุกองค์กร องค์กรจึงต้องเลือกใช้มือให้เหมาะสมและตรงกับกลุ่มเป้าหมายจริงๆ
ดังนั้น จึงต้องมองให้ขาดว่าจะปรับธุรกิจอย่างไรให้ไปรอดและเติบโตต่อได้ อย่างเช่น ธุรกิจต้องมีจุดขายมากขึ้น เน้นสร้างประสบการณ์ สื่อสารกับผู้บริโภคให้มากขึ้นและให้ตรงจุดความต้องการได้ทันที หลักๆ ธุรกิจต้องเข้าใจลูกค้า ต้องมีการปรับปรุงรูปแบบให้เข้ากับพฤติกรรมใหม่ๆ หากสามารถรู้ใจลูกค้ารายบุคคลยิ่งเป็นเรื่องที่ดี การทำ Digital Transformation คือกลยุทธ์ที่จะสามารถสร้างประสิทธิภาพใหม่ๆจากความสามารถของธุรกิจ ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ใหม่ที่ดีกว่าการใช้งานหรือการรับบริการแบบเดิมๆ สามารถสร้างรูปแบบโมเดลทางธุรกิจหรือโมเดลการหารายได้ใหม่ๆ ที่เกิดจากการที่องค์กรมีความสามารถในการแข่งขัน ยกตัวอย่าง การนำเอาดาต้ามาใช้งานเพื่อพัฒนารูปแบบบริการสำหรับลูกค้า ตอบสนองต่อความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภคจริง ๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างถาวร
ยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา ปัจจุบันถือเป็นเรื่องปกติที่ผู้ประกอบการร้านอาหาร จะมีการขายผ่านออนไลน์ด้วย เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการซื้อ นอกจากนั้นยังมี AI ที่เริ่มเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ ทั้งการจัดงานสัมมนา ประชุม หรืออีเวนต์ที่ปัจจุบันมีทั้งรูปแบบออฟไลน์และเผยแพร่ทางออนไลน์ควบคู่กัน เพื่อขยายการเข้าถึง เช่น การจัดประชุมสัมมนาที่โรงแรม แต่ในขณะเดียวกันสามารถมอบประสบการณ์แบบไฮบริด Virtual Experience ในรูปแบบการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์หรือโซเชียลมีเดียอื่นๆ เพื่อเปิดโอกาสให้คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์มากขึ้นได้แบบเรียลไทม์ รวมถึง Podcast Radio Online หรือ Video Streaming เหล่านี้นักประชาสัมพันธ์เป็นผู้บุกเบิกและควรแนะนำองค์กรให้เป็นผู้ริเริ่มก่อนจึงได้เปรียบเพื่อดีไซน์ Digital Experience
การสื่อสารจากองค์กรสู่ลูกค้ายังเป็นเรื่องที่สำคัญเสมอมาและมากกว่าเดิม เพราะการทำ PR ในยุคดิจิทัลอย่างทุกวันนี้ไม่ใช่เพียงการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ (Press Release) แล้วส่งไปตามสื่อสำนักต่างๆ อีกต่อไป แต่ PR จะต้องรู้จักวิเคราะห์และใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ในการติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ รวมถึงเรียนรู้สื่อใหม่ๆ พร้อมทั้งพัฒนาความสัมพันธ์และวางกลยุทธ์ในระยะยาว นอกจากนี้ นักประชาสัมพันธ์ยังต้องเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่าง Customer Journey และบิ๊กดาต้ามากขึ้น เพื่อวางรากฐานที่แข็งแกร่งตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้ลูกค้าจากการเก็บข้อมูลและสังเกตพฤติกรรม ทำให้สามารถเข้าใจลูกค้าได้อย่างแท้จริง เพราะดาต้าในปัจจุบันสามารถวิเคราะห์ได้ลึกถึงระดับอารมณ์และความรู้สึก การย่อยข้อมูลและเลือกใช้ข้อมูลให้ถูกจุดจึงสำคัญต่อการพัฒนากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และแนวทางการดำเนินธุรกิจให้เกิดขึ้นได้จริงและสามารถวัดผลได้ ตอบโจทย์แต่ละบุคคล และสร้างยอดขายต่อไปได้
Trailblaze PR (เทรลเบลซ์ พีอาร์) เชี่ยวชาญในการนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจริงและมองเห็นเสียงตอบรับจริงของผู้บริโภคที่ถูกต้องแม่นยำ มาวิเคราะห์เพื่อจัดทำกลยุทธ์ PR โดยพัฒนาเป็นแผนงานที่สอดรับกับภาพลักษณ์ที่ควรสร้าง รวมถึงสิ่งที่ผู้บริโภคมองหาอย่างแท้จริง การเติบโตของการใช้งานบิ๊กดาต้าทำให้ผู้บริโภคเริ่มมองว่าบิ๊กดาต้าไม่ใช่เรื่องไกลตัว และพวกเขาต้องการเรียนรู้ เข้าถึงดาต้า หรือบิ๊กดาต้ามากขึ้น เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น ผู้บริโภคจึงมองหาบิ๊กดาต้าที่มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง และย่อยง่ายผ่านช่องทางต่างๆ นี่คือโอกาสของแบรนด์ที่ปรับเปลี่ยนการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ ผ่านบิ๊กดาต้าถึงผู้บริโภค จากการสร้างสตอรี่และข้อมูลอินไซท์ที่มีประโยชน์เผยแพร่สู่สังคมในวงกว้าง และแตกต่างจากคู่แข่งได้
ปัจจุบันหลายๆ แบรนด์เริ่มอัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบันแบบเรียลไทม์อยู่ตลอดเวลา ศึกษาและติดตามแนวโน้ม (Trend) ใหม่ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการลูกค้า และปรับกลยุทธ์สื่อสารได้อย่างเหมาะสม องค์กรใช้กลยุทธ์ประชาสัมพันธ์ออฟไลน์ผนวกดิจิทัลและโซเชียลมีเดีย นอกจากนั้น องค์กรยังต้องมีความพร้อมในการประสานงานกับสื่อ และสื่อสารเรื่องราวได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการใช้งานที่ต้องอาศัยเครื่องมือและอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี รวมถึงรูปแบบการสื่อสาร เช่น การสร้างสรรค์ Content, Key Message ผ่านการเล่าเรื่องราวที่กระชับ ชัดเจน เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กรและแบรนด์สินค้าได้ การสร้างคอนเท้นส์ปัจจุบันมีความ personalize มากขึ้นเช่นกัน เพื่อให้สื่อสารได้อย่างตรงโจทย์และตรงกลุ่มเป้าหมาย จึงเกิดเป็นการผสมผสานระหว่างการทำประชาสัมพันธ์ควบคู่กับการใช้สื่อออนไลน์ อาทิ โซเชียลมีเดีย อินฟลูเอนเซอร์ ฯลฯ ตลอดจนสื่อของตนเอง (Own Media) เช่น เว็บไซต์บริษัท, เพจ Facebook ที่กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้โดยตรง เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป การสร้างสรรค์คอนเท้นส์ผสมผสานกับรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย เช่น การอินโฟกราฟิกและคลิปวิดีโอ สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้มากยิ่งขึ้นจากการมีความคิดสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสถานการณ์สังคมปัจจุบัน ซึ่งรูปแบบของคอนเท้นส์ จะมีความแตกต่างกันไปตามแพลตฟอร์ม นำเสนอเนื้อหาเรื่องอื่นที่สร้างสรรค์ มุมมองในเชิงบวก และเป็นประโยชน์ต่อสังคมในสถานการณ์ปัจจุบันได้ จุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ต้องมีเรื่องราวที่ดี มีคุณภาพมากพอที่คนจะให้ความสนใจ ติดตาม ตัดสินใจ ติดตามซ้ำ และ สร้างยอดขายซ้ำๆ ได้ในที่สุดอย่างยั่งยืน
การสื่อสารกับสาธารณะผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน เพราะโซเชียลมีเดียสามารถเป็นเครื่องมือในการโต้ตอบกับผู้คนจำนวนมากทั้งในแง่บวก และแง่ลบได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การสื่อสาร นโยบาย มาตรการรองรับและสนับสนุนต่างๆ รวมถึงบรรทัดฐานความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ถือเป็นเรื่องที่ทางองค์กรต้องสื่อสารให้ผู้บริโภคได้รับรู้อย่างต่อเนื่องทั้งภายในองค์กรและนอกองค์กร อีกทั้งองค์กรยังสามารถใช้โอกาสนี้ในการแสดงออกถึงคุณค่าองค์กรในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมได้ เปิดโอกาสให้สังคม ผู้บริโภคและแบรนด์มีความเชื่อมถึงกันมากขึ้น เพื่อเป็นการความเชื่อมั่นและความผูกพันระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์
ภารกิจ “เปลี่ยนโลก” นั้นไม่ใช่เรื่องที่เพ้อฝันอีกต่อไป ตราบใดที่องค์กรกำลังแสดงถึงคุณค่าและเป้าหมายของพวกเขา การพัฒนาธุรกิจและภาพลักษณ์องค์กรในยุคดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งก็จริง แต่ในขณะเดียวกันต้องผสมผสานนวัตกรรมเข้ากับความยั่งยืนที่แท้จริงเข้าไปด้วย เพราะผู้บริโภคต่างหันไปหาแบรนด์ที่รู้สึกถึงความเป็นมนุษย์มากขึ้น มี empathy มากขึ้น เมื่อองค์กรนั้นมีทั้งความเข้าใจและใส่ใจ ผลที่จะสะท้อนกลับมา ย่อมเป็นผลเชิงบวกที่จะนำไปสู่ผลบวกทางธุรกิจอย่างแน่นอน