แกร็บ ผู้นำซูเปอร์แอปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอกย้ำกลยุทธ์โมเมนต์มาร์เก็ตติ้ง ส่งแคมเปญ “GrabMart ส่งถึงใจใน 25 นาที” ต้อนรับเทศกาลแห่งความรัก ผนึกพันธมิตรร้านค้ายกทัพไอเท่มเด็ดเป็นตัวแทนสื่อรัก มาพร้อมส่วนลดสูงสุดถึง 25% พร้อมเผย 5 สินค้าขายดีในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์ พบดอกกุหลาบยังคงครองแชมป์ไอเท่มสื่อรักแทนใจด้วยยอดขายที่เติบโตกว่าช่วงปกติถึง 9 เท่า ขณะที่ถุงยางอนามัยขายดีในวันวาเลนไทน์กว่าปกติถึงกว่า 30%
นายพนมกร จิระเสถียรพงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด แกร็บ ประเทศไทย เผยว่า “พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของคนไทยในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ในปีนี้ ยังคงคึกคัก นับตั้งแต่ช่วงปีใหม่[1] ต่อเนื่องมาจนถึงเทศกาลตรุษจีน[2] แม้ว่าผู้บริโภคจะมีความระมัดระวังกับการใช้จ่าย แต่ก็มีแนวโน้มขยายตัว ด้วยอานิสงส์ของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ประกอบกับการโหมทำกิจกรรมการตลาดและส่งเสริมการขายของธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีก”
“สำหรับแกร็บ ปีนี้เรายังคงให้ความสำคัญกับกลยุทธ์โมเมนต์มาร์เก็ตติ้ง โดยเราได้ศึกษาอินไซต์และพฤติกรรมของผู้ใช้บริการในเทศกาลต่างๆ เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ในโมเมนต์นั้น ๆ ทั้งนี้ เทศกาลแห่งความรักถือเป็นอีกหนึ่งโมเมนต์พิเศษที่คนไทย โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z และมิลเลนเนียล ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง และมีพฤติกรรมการแสดงออกถึงความรักผ่านการมอบของขวัญ รวมถึงการพาคนรักหรือคนพิเศษไปทานอาหารนอกบ้าน เราจึงได้ผนึกพันธมิตรร้านค้าส่งแคมเปญ ‘GrabMart ส่งถึงใจใน 25 นาที’ ชวนผู้ใช้บริการมอบของแทนใจผ่านบริการแกร็บมาร์ทที่ส่งถึงไวในเวลา 25 นาที มาพร้อมส่วนลดสูงสุดถึง 25% เพียงใส่โค้ด VDAY (เมื่อซื้อสินค้าขั้นต่ำ 600 บาทขึ้นไป) ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์”
แกร็บยังได้เผย 5 ประเภทสินค้าที่ขายดีผ่านบริการแกร็บมาร์ทในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์ (ระหว่าง 1 – 14 กุมภาพันธ์) ซึ่งประกอบด้วย ช่อดอกไม้ ของขวัญ-กิฟต์เซ็ต ช็อคโกแลต ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม รวมถึงชุดไหว้-พวงมาลัย (สำหรับสายมู) โดย “ดอกกุหลาบ” ยังคงเป็นไอเท่มสื่อรักแทนใจที่ขายดีอันดับหนึ่งด้วยยอดขายที่เติบโตกว่าช่วงปกติถึง 9 เท่า[3] นอกจากนี้ ยังพบว่า “ถุงยางอนามัย” ถือเป็นอีกหนึ่งไอเท่มสุดฮอตที่ขายดีมากโดยเฉพาะในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ โดยมียอดขายสูงกว่าปกติถึง 30%[4]
“เพื่อสร้างสีสันให้กับแคมเปญนี้
[1] อ้างอิง ผลการศึกษา “พฤติกรรมและการใช้จ่ายของผู้
[2] อ้างอิง รายงานศูนย์วิจัยกสิกรไทย (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3451) ตรุษจีน ปี 2567 คนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่ม ท่ามกลางการจับจ่ายที่ใส่ใจสิ่
[3] เปรียบเทียบยอดการสั่งซื้อดอกกุ
[4] เปรียบเทียบยอดการสั่งซื้อถุ