ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ยังไม่สามารถสรุปผลวิจัยความเสี่ ยงของการถ่ายทอดเชื้อทางโลหิ ตบริจาคในชายที่มีเพศสัมพันธ์กั บชายอย่างชัดเจนได้ เนื่องจากอาสาสมัครเข้าร่วมวิจั ยน้อยกว่าเป้าหมาย จำเป็นต้องหาแนวทางศึกษาวิจั ยเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ ชัดเจนและเชื่อถือได้ทางวิ ชาการสร้างความมั่ นใจในความปลอดภัยของโลหิตบริจาค
รศ.พญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่ งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ศูนย์บริการโลหิตแห่ งชาติ สภากาชาดไทย ตระหนักถึงหลักการความเท่าเที ยมกันของมนุษย์ และมาตรฐานสากลในการคัดเลือกผู้ บริจาคโลหิตที่ต้องคำนึงถึ งความปลอดภัยของผู้บริจาคและผู้ ป่วยที่รับโลหิตเป็นสำคัญในอุบั ติการณ์ของโรคติดต่อทางเพศสัมพั นธ์ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (Men who have sex with Men, MSM) เพื่อนำมาพัฒนาเกณฑ์การคั ดเลือกผู้บริจาคโลหิตของประเทศ เพิ่มโอกาสให้ชายที่มีเพศสัมพั นธ์กับชายมีโลหิตที่ปลอดภัยเข้ ามาเป็นผู้บริจาคโลหิตได้ โดยไม่ส่งผลกระทบกับผู้ป่วยที่ รับโลหิต
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จึงได้หารือร่วมกับ นายกสมาคมและเลขาธิการสมาคมฟ้ าสีรุ้งแห่งประเทศไทย เพื่อหาแนวทางวิจัยสถานการณ์ ในประเทศร่วมกัน โดยเปิดรับอาสาสมัคร คือชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่ มีคู่จากทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2566 – 15 กันยายน 2566 โดยตั้งเป้าหมายกลุ่มตั วอย่างจำนวน 1,250 คน
ทั้งนี้ มีผู้สมัครเข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 192 คน แต่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ เพียง 73 คน มีอายุระหว่าง 19 – 46 ปี แต่เนื่องจากการมี จำนวนอาสาสมัครน้อยกว่าที่ กำหนดไว้มาก คือ 73 คนเมื่อเทียบกับ จำนวน 1,250 คนที่กำหนดไว้ จึงไม่สามารถสรุปผลอย่างชั ดเจนและเพียงพอเพื่อมาพั ฒนาเกณฑ์การคัดเลือกให้ชายที่มี เพศสัมพันธ์กับชายเป็นผู้ บริ จาคโลหิตได้ จำเป็นต้องหาแนวทางศึกษาวิจั ยเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อสรุ ปที่ชัดเจนและเชื่อถือได้ในเชิ งวิชาการให้มีความมั่ นใจในความปลอดภัยของผู้รับโลหิ ตต่อไป
ติดตามรายละเอียดผลการวิจัยทั้ งหมดได้ที่ : https://shorturl.at/jyBJO หรือเฟซบุ๊กศูนย์บริการโลหิตแห่ งชาติ สภากาชาดไทย