Techsauce เผยกลยุทธ์ 4 THAI ผสานรัฐ-เอกชน เร่งไทยเป็น Tech Gateway ของภูมิภาค พร้อมยก Techsauce Global Summit เป็นศูนย์กลางงานเทคโนโลยีระดับโลกจากไทย

Techsauce ผู้ขับเคลื่อนระบบนิเวศเทคโนโลยีในไทย ตอกย้ำวิสัยทัศน์ขององค์กรในฐานะ Tech Ecosystem Builder ในประเทศไทย ได้จัดงาน Bridging Thailand to Global Impact ขับเคลื่อนไทยสู่เวทีโลก ตอกย้ำพันธกิจในการมุ่งผลักดันประเทศไทยสู่การเป็น “Tech Gateway” ศูนย์กลางของธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นประตูบานแรกสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้ผสานความร่วมมือร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมประกาศกลยุทธ์ 4 THAI ภายใต้ เป้าหมายหลักเพื่อเร่งผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Tech Gateway ของภูมิภาค โดยภายงานได้รับเกียรติจากคุณประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดในครั้งนี้

คุณประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ปัจจุบันการส่งเสริมการ พัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะ AI ในประเทศเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเท่าเทียมอุตสหกรรมของโลก ล่าสุดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้มีการดำเนินแผนการ The Growth Engine of Thailand ที่วางไว้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยไม่ว่าจะเป็น การสร้างแพลตฟอร์มการส่งเสริมสตาร์ทอัพไทย (Digital Startup Nation), การสร้างกองทุนดิจิทัลสตาร์ทอัพเพื่อสนับสนุนนักลงทุนในรูปแบบ Co-Investment กับภาคเอกชนส่งเสริมบัญชีบริการดิจิทัล ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนโครงการ Tech Gateway ของ Techsauce ที่ได้มีการทำความร่วมมือระหว่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตรในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Tech Gateway ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประตูแห่งโอกาส ที่จะช่วยทำให้เกิดการดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนไทย องค์กรระหว่างประเทศ และทุกภาคส่วน จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาดิจิทัลในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคตอย่างยั่งยืน

ภายในงาน Techsauce มีการร่วมมือกับภาคเอกชนในการผลักดันประเทศไทยเป็น Tech Gateway ของภูมิภาคอาเซียน โดยเผยแผนกลยุทธ์ 4 THAI ที่ประกอบไปด้วย เป้าหมายร่วมกันภายในปี 2030  ครอบคลุมทั้งการผลักดันด้านการลงทุนให้เกิดขึ้นในประเทศไทย (Inbound) และการดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถสูง (Talent) และนักลงทุนให้เข้ามาดำเนินธุรกิจภายในประเทศมากขึ้น รวมทั้งยังผลักดันการเติบโตของธุรกิจไทยออกต่างประเทศ (Outbound) ซึ่งจะเป็นประตูสู่โอกาสในการขับเคลื่อนประเทศไทยมาอยู่แถวหน้า พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและส่งผลให้เกิดเม็ดเงินการลงทุนหมุนเวียนอย่างยั่งยืนแก่ประเทศไทย เป็นประโยชน์ต่อทั้งภาครัฐบาล เอกชน ผู้ประกอบการ ตลอดจนภาคสังคมและประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีทั้งหมด

โดยกลยุทธ์ 4 THAI ประกอบไปด้วย เป้าหมาย Inbound และ Outbound มุ่งขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Tech Gateway ได้แก่

Inbound 4 เป้าหมาย : T H A I

T – Talent : ดึงบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ (Tech Talent) จากต่างประเทศเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้น เพื่อร่วมเสริมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีในภูมิภาค สร้างบุคลากรหัวกะทิและคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

H – Home base :  ขยายฐานการผลิตจากต่างประเทศสู่ประเทศไทย โดยการเพิ่มจำนวนบริษัทและโครงการในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีให้เข้ามาตั้งสำนักงานและฐานการผลิตในไทย

A – Asset movement : ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเทคโนโลยีโดยการนำเทคโนโลยีที่องค์กรไทยไปลงทุนจากต่างประเทศกลับมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถแก่ประเทศไทยในการแข่งขันในตลาดโลกและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปอย่างยั่งยืน

I – Investment : พิ่มการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามายังประเทศไทย เพื่อกระจายเม็ดเงินการลงทุนจากนักลงทุนหลากหลายประเทศ โดยเริ่มต้นในเดือนสิงหาคม 2024

Outbound 3 เป้าหมาย :  Thai Innovation, Thai Brand, และ Thai Tech Talent

Thai Innovation : ยกระดับนวัตกรรมของประเทศไทยและเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมให้กับธุรกิจไทย ด้วยการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมของคนไทยหรือ “ไทย – ใช้ – ไทย

Thai Brand : พาองค์กรด้านนวัตกรรมของไทย ให้เติบโตสู่ระดับภูมิภาค เพิ่มโอกาสให้ “แบรนด์ไทยโตได้”  องค์กรด้านนวัตกรรมไทย เติบโตสู่ระดับภูมิภาค

Thai Tech Talent : พัฒนาทักษะให้กับ tech talent ของไทยได้เติบโตสู่เวทีโลก และดึงดูด tech talent ไทยที่อยู่ในต่างแดนให้กลับมาช่วยกันพัฒนาประเทศ

ทั้งนี้การดำเนินงานโครงการ Tech Gateway เป็นความร่วมมือจากภาคเอกชนกับองค์กรชั้นนำได้แก่ บริษัท เบริล 8 พลัส จำกัด (มหาชน)สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)เอสซีจี – บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยบริษัท ทรู ดิจิทัล พาร์ค จำกัดบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) และ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (DITP) โดยทุกหน่วยงานมีอุดมการณ์ในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเพื่อมุ่งพัฒนาประเทศไทยร่วมกันให้สามารถบรรลุเป้าหมายในแต่ละหัวข้อ ตามแผนการในระยะยาวที่อยู่ในช่วงระยะเวลา ปี โดยคาดว่าจะดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์แบบครบทุกด้านในปี 2030 ซึ่ง Tech Gateway จะเป็นอีกหนึ่งประตูสู่การเปลี่ยนแปลงสำคัญของประเทศไทยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมไทยในการพัฒนา สร้างสรรค์เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์แก่ทุกภาคส่วนในสังคม

depa ประกาศลงทุนใน Techsauce

ในการขับเคลื่อน Tech Gateway ครั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)  ได้ประกาศลงทุนในบริษัท  Techsauce Media พร้อมขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ที่มีร่วมกัน โดยการที่ depa เข้าลงทุนใน Techsauce ซึ่งเป็น Tech Ecosystem Builder จะช่วยเกื้อหนุนการดำเนินงานของกันและกัน และยกระดับการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยและอุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศอย่างเข้มแข็งต่อไป

DITP ลงนาม MOI โครงการ Tech Gateway

ด้านของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ยังเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ Tech Gateway ของ Techsauce โดยได้มีการร่วมลงนามบันทึกแสดงเจตจํานง (MOI) ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ พฤษภาคม 2567 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการด้านเทคสตาร์ทอัพไทย (Tech Startup) ในการขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันภาคธุรกิจบริการเทคสตาร์ทอัพ การสร้างโอกาสทั้งในด้านการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และการแสวงหาการลงทุนจากต่างประเทศ

Techsauce ประกาศจัดงาน Techsauce Global Summit พร้อมยก “เป็นงานของประเทศ

นอกจากนี้ Techsauce ยังประกาศเดินหน้าจัดงาน Techsauce Global Summit 2024” ภายใต้ธีม ‘The World of Tomorrow With AI’ สานต่อมหกรรมด้านเทคโนโลยีสุดล้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย พร้อมยกทัพพาร์ทเนอร์ด้านเทคโนโลยีจากภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย และต่างประเทศกว่า 300 บริษัท และ 40 ประเทศทั่วโลก

คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด กล่าวว่า “การดำเนินการจัดตั้งโครงการ Tech Gateway ในปีที่ผ่านมา ได้ร่วมมือกับองค์กรชั้นนำระดับประเทศในการผลักดันไทยสู่การเป็นพื้นที่แห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงมุ่งยกระดับผู้ประกอบการไทยให้เข้าถึงแหล่งความรู้และโอกาสในการขยายธุรกิจในวงกว้าง โดยเมื่อปีที่ผ่านมา Techsauce Global Summit 2023 ได้สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจให้กับประเทศมูลค่าแล้วกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับอุดมการณ์ของ Techsauce ที่ต้องการกระตุ้นให้เกิด การลงทุนทางด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย พร้อมทั้งดึงดูดเม็ดเงินจากต่างประเทศให้เข้ามาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย (Inbound) และส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพไทยให้เติบโตและสามารถขยายออกไปนอกภูมิภาค (Outbound)  ทั้งนี้เพื่อเสริมแกร่งความรู้แก่คนวงการเทค รวมถึงผู้ประกอบการไทยในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในปีนี้ Techsauce เดินหน้าจัดงาน Techsauce Global Summit 2024 ที่ยกระดับการจัดงานด้วยอุดมการณ์ที่แข็งแกร่งกว่าเดิม โดยนอกจากงานนี้จะเป็นประตูแห่งโอกาสแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพไทยแล้ว ยังเป็นพื้นที่ในการเชื่อมโยงพันธมิตรด้านธุรกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเข้าด้วยกัน มุ่งสร้าง Tech Ecosystem ที่แข็งแกร่งขึ้น เพื่อเตรียมแข่งขันบนเวทีระดับโลกต่อไปในอนาคต

สำหรับในงาน Techsauce Global Summit 2024 มีผู้สนับสนุนหลักในการจัดงานครั้งนี้ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) , บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) , และบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) (SCBX) ซึ่งการร่วมมือกับทั้งภาครัฐบาลและเอกชนในครั้งนี้จะมีส่วนในการยกระดับการเติบโตด้านเทคโนโลยีของประเทศไทยได้อย่างก้าวกระโดด รวมถึงผลักดันเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตไปพร้อมกัน    ซึ่งจะสามารถดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนจากนักลงทุนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นพื้นที่แห่งการลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบเพื่อเปิดประตูแห่งโอกาสให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพไทยได้สร้างการเติบโตของธุรกิจบนเวทีโลกต่อไปโดยจะจัดขึ้นในวันที่ 7 – 9  สิงหาคม  2567 นี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์

อีกทั้งในปีนี้ Techsauce ยังเดินหน้าจัดงาน Techsauce Global Summit ที่ประเทศอินโดนีเซียในเดือนกันยายน และ Techsauce Global Summit ที่ประเทศเวียดนามในเดือนตุลาคม ร่วมกับ  บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ของการเป็น Tech Ecosystem Builder และเชื่อมโยงความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงมุ่งเดินหน้าสู่เป้าหมายการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็น Tech Gateway ของภูมิภาคอาเซียนต่อไป

สำหรับท่านที่สนใจเข้าร่วมงาน Techsauce Global Summit สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  https://summit.techsauce.co/ และยังสามารถดูรายละเอียดโครงการ Tech Gateway  ได้ที่ https://techgateway.asia/