รถอีวีก็ช่วยไม่ไหว! ผลวิจัยชี้ ‘จีน-อินเดีย’ ยังไม่ลดการใช้ ‘ถ่านหิน’ ทำให้ยังปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงสุดในเอเชีย

แม้ว่าทั้ง จีน และ อินเดีย จะมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ปัจจุบันทั้งสองประเทศยังคงพึ่งพาถ่านหินซึ่งเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ทำลายสิ่งแวดล้อมที่สุด เนื่องจากการใช้ถ่านหินนั้นประหยัดกว่า และตอบสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น

การศึกษาใหม่ระบุว่า จีนและอินเดีย ไม่ได้ลดการผลิตถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้า ซึ่งทำให้ทั้งสองประเทศกลายเป็นผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนรายใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยจากการศึกษาโดย Ember สถาบันวิจัยด้านพลังงาน พบว่า การผลิตไฟฟ้าทั่วโลกจากถ่านหินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจาก 5,809 เทราวัตต์-ชั่วโมง ในปี 2543 เป็น 10,434 TWh ในปี 2566 และการเพิ่มขึ้นสูงสุดมาจากประเทศจีน (+319 TWh) และอินเดีย (+100 TWh)

ความต้องการไฟฟ้าในประเทศเอเชียตะวันออก เพิ่มขึ้น 7 เท่า นับตั้งแต่ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ความต้องการถ่านหิน เพิ่มขึ้นมากกว่า 5 เท่า ในช่วงเวลาเดียวกัน โดย จีน ยังคงเป็นผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่ที่สุดของโลก ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 5,491 ล้านตัน จากการผลิตไฟฟ้าในปี 2566 ซึ่งมากกว่าข้อมูลการศึกษาของสหรัฐอเมริกา (1,570 MtCO2) และอินเดีย (1,470 MtCO2) อย่างน้อย 3 เท่า

แม้ว่าจีนจะประกาศว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ถึงจุดสูงสุดในปี 2573 และบรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นกลางในปี 2563 แต่การพึ่งพาถ่านหินยังไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม จีนก็พยายามพัฒนา พลังงานทดแทน ซึ่งนำไปสู่การชะลอตัวของอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 9% ต่อปีระหว่างปี 2544 ถึง 2558 เป็น 4.4% ต่อปีระหว่างปี 2559 ถึง 2566 กลุ่มคลังสมองด้านพลังงานกล่าว

ปัจจุบัน ไฟฟ้าสะอาดมีส่วนช่วยถึง 35% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของจีน ไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใหญ่เป็นอันดับสอง คิดเป็น 13% ของพลังงานไฟฟ้าส่วนนั้น ในขณะที่ ลมและแสงอาทิตย์ รวมกันแตะระดับสูงสุดใหม่ที่ 16% ในปี 2566 อย่างไรก็ตาม สถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม เตือนว่า จีนยังคงจำเป็นต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลรูปแบบอื่น ๆ ให้น้อยลง

“หากไม่มีการผลิตลมและพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2558 และความต้องการได้รับการตอบสนองจากถ่านหินแทน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็จะสูงขึ้น 20% ในปี 2566 โดยพลังงานสะอาดทั้งสองแหล่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอแก่ญี่ปุ่น” รายงานเน้นย้ำ

ภาพจาก Shutterstock

ส่วน อินเดีย ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก มีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น 5.4% เมื่อเทียบกับปี 2565 ซึ่งคิดเป็น 2 เท่า ของการเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยอินเดียตั้งเป้าที่จะลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลง 50% ของการผลิตไฟฟ้าภายในปี 2573 แต่การศึกษาของ Ember แสดงให้เห็นว่าแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากภัยแล้งผลักดันให้ประเทศผลิตไฟฟ้า 78% จากเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยที่ถ่านหินคิดเป็น 75% ของส่วนผสมนั้น

แต่ก็เหมือนกับจีน อินเดียก็มีความก้าวหน้าครั้งสำคัญในด้านพลังงานทดแทนรูปแบบอื่น ๆ โดยในปีที่ผ่านมา อินเดียแซงหน้าญี่ปุ่นจนกลายเป็น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์รายใหญ่อันดับ 3 ของโลก โดยในปีที่แล้ว การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ของอินเดียมีจำนวนทั้งสิ้น 113 เทราวัตต์-ชั่วโมง (TWh) เพิ่มขึ้น 145% นับตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งตามหลังจีน (584 TWh) และสหรัฐอเมริกา (238 TWh)

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ IEA ถ่านหินยังคงเป็นแหล่งพลังงานที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการผลิตไฟฟ้า โดยคิดเป็นการผลิต มากกว่าหนึ่งในสามของโลก โดยจะยังคงมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การผลิตเหล็ก

Source