อาหารคือหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ ที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จากเดิมที่เป็นแค่การบริโภคเพื่อดำรงชีวิตหรือเพื่อความอิ่มอร่อยเท่านั้นแต่ปัจจุบันอาหารยังต้องช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น และด้วยพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยของผู้บริโภค การพัฒนานวัตกรรมใหม่รูปแบบใหม่ให้ทันโลก และตอบโจทย์ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความยั่งยืน คือโจทย์อันท้าทายของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะธุรกิจอาหาร
เทรนด์การบริโภคอาหารสู่วิถีชีวิตสมัยใหม่ (Food Trend for Modern Lifestyle)
หากพูดถึงเทรนด์การบริโภคอาหารที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมของผู้คนกับการใช้ชีวิตสมัยใหม่ ในปัจจุบันการทำอาหารไม่ใช่แค่ทักษะการเอาชีวิตรอดอีกต่อไป แต่มองไปถึงการตอบโจทย์ต่อการใช้ชีวิต ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 เทรนด์ดังนี้
- อาหารบอกความเป็นตัวเองผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการทำอาหารในฐานะสุนทรียภาพของชีวิต การทำอาหารเป็นความสุข ความเพลิดเพลิน และบ่งบอกความเป็นตัวเองให้โลกรู้ เป็นช่วงเวลาที่ได้อยู่กับตัวเอง รวมถึงการได้แสดงตัวตนผ่านการประกอบอาหาร ตกแต่งหน้าตาอาหาร ออกไปสู่สายตาคนอื่นๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย
- อาหารสำหรับเติมเต็มสุขภาพกายและสุขภาพใจการใช้ชีวิตแบบคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันเน้นการมีชีวิตอยู่แบบยืนยาว (Living longer) จึงหันมาใส่ใจสุขภาพ ตั้งแต่อาหาร สภาพแวดล้อม และการใช้ชีวิต เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ ทั้งด้านสุขภาพและจิตใจ ไม่ใช่แค่กินเพื่ออิ่มอร่อย แต่ต้องอิ่มใจ ฮีลใจ กินแล้วรู้สึกดีกับตัวเองได้ด้วย ซึ่งในปี 2024 เทรนด์การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ Health Benefits ยังคงเป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณสมบัติเชิงหน้าที่ในการควบคุมหรือป้องกันโรค เพิ่มเติมจากประโยชน์ทางคุณค่าอาหาร Naturally Functional ดังนั้นส่วนผสมที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ จึงมีความสำคัญสำหรับการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมอาหารในปัจจุบัน
- อาหารมีไว้ช่วยให้โลกดีขึ้นผู้บริโภคปัจจุบันให้ความสำคัญในการทำให้สังคมรอบข้างมีคุณภาพดีขึ้น โดยเฉพาะความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม เช่น การทำให้ไม่มีของเสีย (Nothing Wasted) การลดปริมาณ Food Waste การใช้ Packaging ที่ย่อยสลายได้ รวมถึงกระแสการลด Carbon Footprint การหันกลับมาสนใจวัตถุดิบสด ธรรมชาติ Farming The Future อาหารที่ผ่านกระบวนการน้อย หรือใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การสนใจทำเกษตรกรรมบนตึกสูงกลางเมือง (Urban Farming) มีการทำการเกษตรในร่มแบบแนวดิ่ง (Indoor Agriculture) มีการปลูกพืชผัก Local อาหารที่ตอบโจทย์โมเดิร์นไลฟ์สไตล์จึงต้องดีต่อโลกด้วย
จาก 3 เทรนด์โมเดิร์นไลฟ์สไตล์ข้างต้นนี้ เป็นสิ่งที่ KCG เล็งเห็น และนำมาเป็นต้นธารในการพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์โมเดิร์นไลฟ์สไตล์ และเทรนด์การบริโภคอาหารอยู่เสมอ ซึ่งเคล็ดลับที่ทำให้ KCG ประสบความสำเร็จ ยืนระยะได้ยาวนานกว่า 60 ปี และขึ้นมาเป็นผู้นำทางธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์อาหารตะวันตก คือการพัฒนาแบบผสมผสาน (Fusion) เพื่อหานวัตกรรมใหม่
นาย ดำรงชัย วิภาวัฒนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KCG กล่าวว่า ถ้าย้อนไปดูตั้งแต่จุดเริ่มต้น สิ่งที่ KCG ทำมาตลอดคือ “Fusion” ตั้งแต่การนำวัตถุดิบอาหารตะวันตกเข้ามาในประเทศไทย มาจนถึงการเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบอาหารตะวันตกในประเทศไทยสำเร็จ สิ่งที่ KCG ทำคือการ Crossover ข้ามสายพันธุ์มาตลอด แต่ “Fusion” ในรูปแบบของ KCG ไม่เพียงแค่การนำอาหารต่างสไตล์มาประยุกต์รวมกันเท่านั้น แต่หัวใจของการคิดค้นรูปแบบ Fusion เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่คือที่รังสรรค์ และคัดสรรผลผลิตที่มีออกมาต่อยอดในหลากหลายมิติ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ KCG ใช้เป็นอาวุธสำคัญในการเป็นผู้นำด้านอาหารสำหรับโมเดิร์นไลฟ์สไตล์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต โดยมี 5 กลยุทธ์ในการพัฒนา Innovation ที่สำคัญดังนี้
KCG เผยกลยุทธ์ Innovation การผลักดัน “Fusion กินnovation”
- Scalable ฟิวชั่นกับ Sustainable
ปัญหาของ Global Food Crisis กระตุ้นให้หลายธุรกิจต้องหันมาใส่ใจในเรื่องของ Waste Management และ ESG มากขึ้น ซึ่ง KCG ให้ความสำคัญกับ Sustainable Development มาโดยตลอด และนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาและวิจัยนวัตกรรมตลอดจนการดำเนินธุรกิจ และไม่ว่า KCG จะดำเนินธุรกิจให้เติบโตขึ้นอย่างไร จะคำนึงถึงผลประทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรโลกอยู่เสมอ สิ่งที่ KCG ทำมาอย่างต่อเนื่อง คือการลด Food Waste มีการจัดการเรื่องการลด Carbon Footprint การปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงพัฒนา Packaging ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำมา Recycle ได้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่มาของแนวทางการพัฒนา Edible Cup แก้วกาแฟทานได้ของ KCG
“และในเร็วๆ นี้เราจะมีเปิดตัว KCG Logistics Park หรือศูนย์กระจายสินค้า และคลังสินค้าที่มีความทันสมัย และครบวงจรที่สุดอย่างเป็นทางการ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น รวมถึงโครงสร้างโรงงานเรามีแผนจะใช้ระบบพลังงานสะอาด (Solar Rooftop) โดยในปี 2566 บริษัทฯ มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 97,042.00 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ลดลง 14.8% จากปีฐาน 2564 อีกทั้งจะปรับระบบการขนส่งสินค้าโดยการนำ (EV Truck) เข้ามาเสริมศักยภาพ วางเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนเป็น 30% ของจำนวนรถขนส่งทั้งหมดของบริษัท เพื่อสร้างระบบนิเวศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”
- Tech ฟิวชั่นกับ Human
KCG ใช้การเติบโตทางเทคโนโลยีมาควบคู่กับการเติบโตของมนุษย์ KCG มีเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตและพัฒนาคุณภาพสินค้า แต่ขณะเดียวกัน อาหารเป็นเรื่อง Art & Science ที่ต้องมีมนุษย์เป็นตัวเชื่อม เพราะผู้บริโภคคือมนุษย์ เราจึงต้องใช้ความเป็นมนุษย์มาช่วยในการทำอาหารเพื่อให้ได้นวัตกรรมใหม่ๆ โดยในแง่ของการพัฒนามนุษย์ KCG มีโครงการที่พัฒนาทักษะของพนักงานอยู่เสมอ รวมถึงรูปแบบการทำงานของ KCG ที่ทำงานแบบ Cross-functional Team นวัตกรรมไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในห้องแล็บที่คิดค้นผลิตภัณฑ์ แต่เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคโมเดิร์นไลฟ์สไตล์ ภายในองค์กร KCG เองก็ต้องปรับตัวในการทำงานแบบข้ามแผนก เพราะการสร้างนวัตกรรมไม่ใช่เรื่องของแผนกใดแผนกหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของทุกคนทั้งองค์กร
- Localization ฟิวชั่นกับ Modernization
เมื่อก่อน Fusion ที่คนคุ้นเคยอาจจะหมายถึงการเอาอาหารตะวันตกกับตะวันออกมาเจอกัน แต่ปัจจุบัน Fusion ไปไกลกว่านั้น นั่นคือการผสมผสานระหว่างรสชาติท้องถิ่นดั้งเดิม (Localization) กับความทันสมัย (Modernization) ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นว่าผู้บริโภครุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับ Localization ผู้คนมีความภูมิใจในอาหารท้องถิ่นบ้านเกิด และอยากยกระดับอาหารเหล่านั้นให้เป็นที่รู้จัก หรือนำมาอยู่ในบริบทที่ทันสมัย ซึ่งทำให้ KCG เองที่เรามีวัตถุดิบที่รองรับโมเดิร์นไลฟ์สไตล์อยู่แล้ว การนำ Localization มา Fusion รวมกับ Modernization ให้ได้คือโจทย์ที่ท้าทายเรามาเสมอ และสิ่งนี้จะส่งผลไปถึง Brand Authenticity ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างแบรนด์ให้ยั่งยืน และยังเป็นส่วนสำคัญในการทำการตลาด เป็นการคิดค้น และทำในสิ่งที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ง่ายๆ หรือเคยทำมาก่อน
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ อาทิ Dairygold Yakicheesu สแน็กชีสพร้อมทาน และล่าสุด KCG ได้มีผลิตภัณฑ์ที่เรายังไม่เคยเปิดตัวมาก่อน คือ Dairygold Cheese Slices Ka Pao นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชีสสไลซ์แผ่นรสกะเพรา ซึ่งเป็นเมนู Local ยอดฮิตของคนไทย มาผสมผสานความ Modern แบบตะวันออกกับตะวันตกอย่างชีสแท้ เพื่อให้ได้รสชาติใหม่ๆ เป็นชีสกับกลิ่นหอมและรสชาติแบบไทยๆ ของใบกะเพราและความเผ็ดร้อนจัดจ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังไม่เคยมีที่ไหนทำ
- Tasty ฟิวชั่นกับ Healthy
เมื่อพูดถึงเรื่องการรับประทานอาหารความอร่อยมักเป็นขั้วตรงข้ามกับสุขภาพที่ดี แต่ด้วยเทรนด์การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ไปจนถึง Weight Wellness ทั้งสำหรับการออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนัก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เนย-ชีสที่หลายคนมักมองภาพความ Healthy ไม่ชัดเท่าไรนัก ทำให้แบรนด์ KCG เฟ้นหานวัตกรรมที่จะตอบโจทย์ในแง่ของรสชาติที่อร่อยและมาควบคู่กับการรักษาสุขภาพ
KCG คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพิ่มเติม หรือดัดแปลงส่วนผสมที่ใส่ใจต่อสุขภาพ ไปผสมผสานกับผลิตภัณฑ์เดิมที่เรามีอยู่ในมือจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์รสชาติอร่อย และเสริมสร้างสุขภาพที่ดีต่อผู้บริโภค เช่น Imperial Vegan Cheddar Cheese Slices ผลิตภัณฑ์ชีสของแบรนด์ Imperial นวัตกรรมโปรตีนจากพืช (Plant Based), Imperial Salad Cream สลัดครีมสูตรวีแกน ไม่มีส่วนผสมจากไข่ ปราศจากคอเลสเตอรอล, Allowrie MCT Butter เนยของแบรนด์ Allowrie ที่มีการเติมวิตามินและกรดไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสำหรับผู้บริโภคโดยเฉพาะกลุ่ม Keto, หรือ Allowrie Smart Kids ชีสแผ่นสำหรับเด็กที่มีส่วนผสมให้แคลเซียมสูงและมีโอเมก้า 3, และ Baker’s Choice Crackers ขนมแครกเกอร์ Baker’s Choice โดยส่วนผสมที่มีประโยชน์ เช่น ถั่วอัลมอนด์ ธัญพืช Whole Grain มีธาตุเหล็ก แคลเซียม สูตรน้ำตาล 0%
นอกจากนั้นในหลากหลายผลิตภัณฑ์ของ KCG ยังได้รับรางวัลการันตี Superior Taste Awards รางวัลการันตีด้านรสชาติมาตรฐานระดับโลก จากสถาบัน International Taste Institute ที่นับว่าเป็นเครื่องหมายการันตีรสชาติอาหารและเครื่องดื่มที่ผ่านการทดสอบและประเมินจากเชฟและผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องดื่มชั้นนำ ซึ่งในปี 2567 KCG ได้รับรางวัลประเภทผลิตภัณฑ์บิสกิต ได้แก่ ผลิตภัณฑ์คุกกี้เดนมาร์กได้รับรางวัล 2 ดาว และโรซี่แครกเกอร์ได้รับรางวัล 3 ดาวอีกด้วย
- ความง่าย ความสะดวก (Convenience) ฟิวชั่นกับ ความคราฟท์ละเอียดพิถีพิถัน (Aestheticity)
ปกติแล้วความง่าย ความสะดวก มักจะสวนทางกับความละเอียดพิถีพิถัน เพราะง่ายแปลว่าเร็ว แต่ถ้าพิถีพิถันต้องใช้เวลานาน แต่ปัจจุบัน ผู้บริโภคต้องการทั้งความง่าย แต่ให้ความง่ายมาช่วยให้เขาสามารถได้อาหารที่มีความพิถีพิถันได้ด้วย เพราะผู้บริโภคทุกวันนี้พิถีพิถันในการปรุงอาหารและรับประทานอาหารมากขึ้น เพราะมันบ่งบอกถึงไลฟ์สไตล์ของเขา Snackification เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่ KCG มองเห็นเสมอมา คือเพิ่มความง่ายและความสะดวกในการรับประทานผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในกลุ่มชีสและเนย ทำให้สามารถรับประทานได้ทุกช่วงเวลา ไม่ใช่แค่เพียงมื้อหลักเท่านั้น โดยเราคิดค้นนวัตกรรมอาหารที่ตอบโจทย์ ความง่าย ความสะดวก แต่ในขณะเดียวกันเรายังคงความละเอียดพิถีพิถันในผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นเสมอ
นอกจากเรื่องความสะดวกในการรับประทานแล้ว ความ Convenience จากการใช้เทคโนโลยีในการช่วยเตรียมอาหาร ชอปปิ้ง และคุกกิ้ง ได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ก็เป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคมองหา ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ อาทิ Allowrie Butter Squeeze ผลิตภัณฑ์เนยในรูปแบบหลอด, Allowrie Colored Cheese Mix การผสมผสานเอกลักษณ์ที่หลากหลายของชีสทั้ง 5 ชนิดมาไว้ด้วยกัน และ Imperial Pancake Shake แป้งแพนเค้กสำเร็จรูปบรรจุขวดที่แค่เติมน้ำแล้วเขย่าขวดก็สามารถนำมารังสรรค์เมนูแพนเค้กได้ง่ายๆ
นอกจากการเพิ่มความสะดวกสบายที่สร้างสรรค์ให้กับผู้บริโภค KCG ยังผลิตสินค้าที่เพิ่มความสะดวกสบาย (Convenience) และตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าอุตสาหกรรมที่ง่ายขึ้นด้วย และยังคงรักษาคุณภาพให้สม่ำเสมอ อย่างสินค้าประเภท Premixed Powder Ready to Use เช่น ผงวุ้นใบเตยสำเร็จรูป
จากกลยุทธ์ “Fusion กินnovation” สู่การขึ้นเป็นผู้นำทางธุรกิจ
จากกลยุทธ์ “Fusion กินnovation” ทำให้ผลประกอบการทางธุรกิจของ KCG เกิดการเติบโตขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตามอัตราการบริโภค ส่งผลให้ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2567 บริษัทฯ มียอดขายรวม 1,785.5 ล้านบาท ขยายตัว 4.5% และมีกำไรสุทธิ 71.6 ล้านบาท ขยายตัว 22.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปีที่ผ่านมา
โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม (Dairy Products) มียอดขาย 1,085.7 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 60.8% ผลิตภัณฑ์สำหรับการประกอบอาหารและเบเกอรี่และอื่นๆ (FBI) มียอดขาย 515.7 ล้านบาท สัดส่วน 28.9% และผลิตภัณฑ์บิสกิต (Biscuits) มียอดขาย 184.0 ล้านบาท สัดส่วน 10.3% สำหรับช่องทางการขายให้ผู้ประกอบการ (B2B) มียอดขาย 729.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 40.8% ช่องทางการขายให้ผู้บริโภค (B2C) มียอดขาย 991.8 ล้านบาท สัดส่วน 55.5% และช่องทางการส่งออกยอดขาย 64.5 ล้านบาท สัดส่วน 3.6%
KCG เติบโต-มั่นคง-ยั่งยืน พร้อมทุกสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง
ในฐานะผู้นำของ KCG นาย ดำรงชัย วิภาวัฒนกุล พูดถึงวิสัยทัศน์ในการพัฒนาให้องค์กรตอบโจทย์โมเดิร์นไลฟ์สไตล์ในอนาคตว่า เราวางแผนงานสานต่อความสำเร็จ ด้วยวิสัยทัศน์ ‘Transition Towards Sustainable Growth’ สร้างองค์กรสู่การเติบโต ที่มั่นคง ยั่งยืน พร้อมสู่อนาคตที่กำลังเปลี่ยนแปลง กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา 2 มิติ ได้แก่ ยุทธศาตร์ทางธุรกิจ (Business Strategy) ภายใต้การขับเคลื่อน 7 เสาหลักได้แก่ 1.) มุ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจ (Growth), 2.) การพัฒนาบุคลากร (People), 3.) การขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลและเทคโนโลยี (Innovation Data & Tech), 4.) การขยายตลาดส่งออก (Export), 5.) ยกระดับศูนย์กระจายสินค้าและคลังสินค้าที่ทันสมัยและครบวงจร (Supply Chain & Inventory), 6.) ยกระดับการผลิตโดยใช้ระบบอัตโนมัติ (Production& Automation) และ 7.) การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Sustainable Development) โดยควบคู่ไปกับยุทธศาสตร์ด้านวัฒนธรรมองค์กร (Cultural Strategy) เป็นตัวขับเคลื่อน โดยยึดหลัก “Heart – Driven – Expertise – Agile – Responsible – Teamwork” ด้วยความเชื่อมั่นว่าพนักงานเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะร่วมขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุสู่เป้าหมายสูงสุด
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ กล่าวย้ำปิดท้ายว่า “KCG มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจคำนึงถึง พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น และพันธมิตรอยู่เสมอ เราจึงเปลี่ยนแผนธุรกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดรับกับปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรในอนาคต และปัจจุบันเราดำเนินงานด้วยนโยบายการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์บนกรอบของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ในทุกกลุ่มสินค้า เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน และให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อตอกย้ำการเป็นผู้สร้างสรรค์ความรื่นรมย์ให้กับรสชาติอาหารที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมอย่างมีคุณภาพ”