ปัจจุบันปัญหาเรื่อง ‘โลกร้อน’ ได้เปลี่ยนผ่านมาเป็น ‘โลกเดือด’ เป็นที่เรียบร้อย แม้แต่กรุงเทพมหานครซึ่งแต่ ไหนแต่ไรคุ้นเคยกับอุณหภูมิสู งอยู่เป็นปกติยังพบว่าจากเดิมที่ ปี 2014 อุณหภูมิสูงสุดของกรุงเทพเคยอยู่ ที่ 37 องศา แต่ในปี 2024 นี้ อุณหภูมิสูงสุดได้ทะลุเกิน 40 องศาไปแล้ว ควบคู่ไปกับสภาพอากาศที่แปรปรวน เช่นกรณีการตกหลุมอากาศที่รุ นแรงของเครื่องบินสิงคโปร์แอร์ ไลน์ครั้งล่าสุด อันเป็นผลพวงจากอากาศที่ร้อนขึ้ น
ในจังหวะนี้ เห็นได้ชัดว่า ESG ได้ก้าวกระโดดจากเพียงแนวคิ ดของการทำความดีเพื่ออนาคต มาสู่ความมั่นคงในปัจจุบันต่อทั้ งธุรกิจและผู้บริโภค เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางภู มิอากาศสามารถเพิ่มต้นทุ นและความเสี่ยงที่จับต้องได้ และใกล้ตัวมากขึ้น และด้วยเหตุนี้ หากผู้เล่นคนไหนไม่สามารถชูเรื่ อง ESG ได้อย่างโดดเด่น อาจกลายเป็นธุรกิจนอกสายตาของนั กลงทุนไปโดยปริยาย
การเริ่มต้นผนวก ESG เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของทุ กกระบวนการในธุรกิจจึงเป็นเรื่ องที่ไม่อาจรีรอ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคิ นภัทร (KKP) จึงได้จัดงานสัมนา ‘KKP Shaping Tomorrow เราปรับ-โลกเปลี่ยน’ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ ESG และคำแนะนำในการเปลี่ยนผ่านสู่ ความยั่งยืนของแวดวงอสังหาริ มทรัพย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจหลั กของลูกค้าธนาคาร โดยได้รวบรวมผู้คร่ำ หวอดในวงการมานานร่วมสนทนา พร้อมชี้ให้เห็นมุ มมองและแนวทางการเปลี่ยนผ่านที่ น่าสนใจ
แวดวงอสังหาริมทรัพย์กับ ESG
หากมองจากมุมของธุรกิจสินเชื่ อของธนาคาร ที่วันนี้หันมาสนับสนุนธุรกิจที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นายสุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ประธานสายสินเชื่อธุรกิจ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ได้อธิ บายให้เห็นว่า กลุ่มธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรื อนกระจกมากสุดคือภาคพลังงาน ภาคการขนส่ง และการก่อสร้าง ดังนั้น ในเมื่อกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรั พย์เป็นผู้ดำเนินการและใช้วัสดุ ก่อสร้างโดยตรง และอาคารบ้านเรือนก็จำเป็นต้ องใช้ไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จึงมีส่ วนสำคัญกับการลดก๊าซเรือนกระจก ผู้ประกอบการในไทยจึงต้องให้ ความสนใจกับเรื่องนี้ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้ อมและความเสี่ยงทางธุรกิจก่อนที่ จะสาย นี่คือสาเหตุที่บ้านหรืออาคารยุ คใหม่เน้นเรื่องของการ ‘เลือกวัสดุ’ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน มีการติดตั้งพลังงานทางเลือก และการออกแบบให้อยู่สบายได้กั บธรรมชาติ เพื่อช่วยลดการใช้ไฟฟ้า
“จากตัวอย่างที่ เราลองคำนวนออกมา บ้านทาวน์เฮาส์ขนาด 2-4 ล้านบาทจะมีการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกราว 26 ตันต่อหลัง ถ้าเราปลูกต้นไม้หนาแน่นในที่ดิ นหนึ่งไร่ จะดูดซับคาร์บอนได้ปีละประมาณ 1.2 ตันเท่านั้นเอง จะเห็นได้ว่าบ้านพื้นที่ ประมาณเพียง 20 ตารางวา แต่ใช้เวลาเป็นสิบปี ต้นไม้หนึ่งไร่นั้นก็ยังดูดซั บคาร์บอนที่เกิดขึ้นได้ไม่หมด อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์จึงต้ องกลับมาพิจารณาเรื่องนี้ เพราะการเลือกวัสดุก่อสร้างที่ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำนั้น สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้ ถึง 10% โดยไม่เพิ่มต้นทุนในการก่อสร้าง แค่เราเลือกของให้ถูกต้อง ก็สร้างผลกระทบได้สูงอย่างยิ่ง”
นอกจากการเลือกวัสดุ นายสุรัตน์ยังเน้นถึงอีกเรื่ องสำคัญว่าโครงการต้องคำนวนให้ ชัดเจนว่าค่า Emission คิดเป็นจำนวนเท่าไหร่ เพราะไม่ใช่แค่ว่าหยิบจับวัสดุ รักษ์โลกมาแล้วจะกลายเป็น Green Project ทันที ถ้าคำนวนไม่ได้ก็บริหารจั ดการไม่ได้และไม่มีประโยชน์ การใช้เครื่องมือหรือโซลูชั นในการติดตามและวัดผลของอาคารจึ งเป็นเรื่องสำคัญ และจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นได้ ในอนาคตอันใกล้
ความต่างที่ชัดเจน
นายเจมส์ ดูอัน ประธานกรรมการและผู้ก่อตั้ง บริษัท คอรัล โฮลดิ้ง จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบการด้ านนวัตกรรมสีเขียว ชั้ นนำของประเทศไทยได้ยกตัวอย่ างจากประสบการณ์เพื่อให้เห็ นภาพถึงความเปลี่ยนแปลงที่วัสดุ และการออกแบบสามารถสร้างความต่ างได้ชัดเจน
“ถ้าดูจาก EUI (Energy Use Intensity หรือ อัตราการใช้พลังงานของกิจกรรม) การใช้พลั งงานในอาคารของประเทศไทยเฉลี่ ยอยู่ที่ประมาณ 280 กิโลวัตต์ต่อตารางเมตรต่อปี ส่วนสิงคโปร์ประมาณ 225 กิโลวัตต์ต่อตารางเมตรต่อปี แต่ตึกออฟฟิศของคอรัลที่สุขุมวิ ท 39 มี EUI อยู่ที่ 68 กิโลวัตต์ต่อตารางเมตรต่อปี อันนี้ยังไม่มีโซลาร์เซลล์ ถ้าเราใช้แนวคิดเรื่อง EUI ต่ำ ก็จะตอบโจทย์ในเรื่ องการลดการปล่อยคาร์บอน และลูกค้าก็จะสามารถประหยัดพลั งงานได้ด้วย
เรื่องความร้อน มีสองส่วนใหญ่ คืออาคาร กับเครื่องจักร (Mechanics) ที่อยู่ในอาคาร กรอบอาคารเราสามารถกันความร้ อนเข้ามาได้ประมาณ 70% ส่วนอีก 30% เป็นเรื่องของ Internal Heat Gains ซึ่งเป็นความร้อนที่เกิดจากเครื่ องใช้ไฟฟ้าภายในอาคารและคนในบ้ าน ที่ต้องประหยัดพลังงาน โดยปกติแล้ว พื้นที่ 1 ตารางเมตรจะใช้เครื่อง ปรั บอากาศขนาด 1,000 BTU แต่อาคารที่เราออกแบบจะใช้ ขนาดไม่เกิน 250 BTU เพราะว่าความร้อนไม่เข้ามา ตั้ งแต่ต้น”
‘สีเขียว’ แพงกว่า จริงหรือไม่?
ในขณะที่ตัวแทนจากเอสซีจี นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Smart System Solution Business บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ได้คลายข้อสงสัยว่า “ผู้ประกอบการ แน่นอนต้องคิดถึงต้นทุน แต่บ่อยครั้งเรามองแต่ต้นทุนเริ่ มต้น (Initial Cost) ไม่ได้มองถึงวงจรท้ายสุด (Last Cycle) พูดง่ายๆ ก็คือต้นทุนตอนสร้างกับ
ต้นทุ นตอนอยู่ ซึ่งจริงๆ แล้วตอนอยู่สามารถคืนทุนได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นอาคารที่เราใช้ เอง ดังนั้นอย่าไปมองการก่อสร้างเป็ นต้นทุนทั้งหมด แต่มองเป็นการลงทุนน่าจะคุ้มกว่ า คือทุกครั้งที่ลงทุน มั่นใจว่าจะสามารถประหยัดพลั งงาน ประหยัดค่าไฟที่คุ้มค่ากั บการลงทุนได้แน่นอน
ต้นทุนตอนสร้างมาจากการเลือกใช้ วัสดุ ซึ่งในช่วงหลังเทคโนโลยีการผลิ ตวัสดุรักษ์โลกบางตัวก็พัฒนาขึ้ น ทำให้ราคามีความสมเหตุสมผล อย่างปูนซีเมนต์ประเภทคาร์บอนต่ำ ตอนนี้ราคาเท่าปูนซีเมนต์ มาตรฐานทั่วไปแล้ว ดังนั้นวัสดุที่ทำเพื่อโลกนั้ นจึงไม่ได้แพงเสมอไป
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากคื อการวางแผน ถ้าไม่มีแผนงานเรื่องความยั่งยื นเป็นจุดเริ่มต้น แต่เป็นการค่อยๆปรับ หากต้องแก้หน้างาน ก็จะมีต้นทุนเยอะขึ้น ตรงกันข้าม ถ้าเราใช้เแนวคิดเรื่องอาคารสี เขียวตั้งแต่ต้นแทนที่จะมาอัดวั สดุรักษ์โลกใส่เข้าไปทีหลัง ต้นทุนอาจเพิ่มเพียงนิดหน่อยหรื ออาจไม่เพิ่มด้วยซ้ำ และยังตอบโจทย์การใช้งานของลู กค้ามากขึ้น”
นายวชิระชัยยังได้ย้ำถึงความเร่ งด่วนไว้ว่า “ถึงประเทศไทยจะปักธงไว้ปี 2065 แต่มันไม่ใช่เรื่องของปีนั้นอย่ างเดียว ตอนนี้เราอาจยังไม่เห็นเทรนด์ชั ดเจน แต่มันเป็นคลื่นใต้น้ำ โผล่ขึ้นมาแล้วผลกระทบใหญ่เลย”
‘ปรับตัว’ คือคำตอบเดียว
สำหรับผลกระทบที่อาจเกิดต่อคนที่ ยังไม่รีบปรับตัว นายสุรัตน์ได้ให้ข้อมูลว่า “ทางสหภาพยุโรป (EU) ได้เริ่มตั้ งกำแพงภาษีของสินค้าที่ปล่อยก๊ าซเรือนกระจกสูง ในสหราชอาณาจักรก็ประกาศเรื่ องภาษีคาร์บอนแล้ว ในด้านการลงทุน กองทุน Blackrock ซึ่งมีขนาดใหญ่มากๆ ของโลกก็ออกนโยบายชัดเจนว่า ESG เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งถ้าเราไม่ทำเรื่อง ESG นักลงทุนก็อาจจะไม่มาลงทุน แม้ดูจะเหมือนเป็นเรื่องไกลตั วสำหรับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ไม่ได้เน้นการส่งออกสินค้า แต่อุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ เยอะมากแล้ว จึงหนีไม่พ้นที่มาตรฐานการปล่ อย ก๊าซเรือนกระจกจะถูกใช้ในอุ ตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ด้วยเช่ นกัน
นี่คือสาเหตุที่ผู้ประกอบการธุ รกิจอสังหาริมทรัพย์หลายใหญ่ หลายรายได้ย้ายมาสู่ตลาดคาร์ บอนต่ำอย่างชัดเจน โดยมีการตั้งเป้าหมายทั้งเรื่ องปริมาณก๊าซเรือนกระจก เครื่องชาร์จรถอีวี พลังงานแสงอาทิตย์ วัสดุที่ยั่งยืน และการจัดการของเสีย คำถามที่เราควรถามคือ เราจะมีที่ยืนหรือถ้าเราไม่ ทำเรื่องนี้?”