ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทาย ค่าครองชีพที่สูงขึ้นได้กลายเป็นหนึ่งในข้อกังวลหลักของผู้บริโภค รายงานของ Euromonitor ในปี 2023 เผยว่าแรงกดดันทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้ 44% ของนักช้อปให้ความสำคัญกับการประหยัดเงินมากยิ่งขึ้น[1] และเกิดเทรนด์ที่สำนักวิจัยการตลาดหลายแห่งทั่วโลกเรียกว่า Value Hacking[2] ซึ่งหมายถึงการใช้จ่ายได้อย่างคุ้มค่าสูงสุดในทุกบาททุกสตางค์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ราคาสอดคล้องกับงบที่ตั้งไว้ และสินค้าที่ตรงกับความต้องการจริง ๆ
เพื่อสนับสนุนให้ผู้ขายสามารถปรับตัวสู่การทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ได้ดียิ่งขึ้น ลาซาด้าได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยี AI ที่ทันสมัย พร้อมด้วยดิจิทัลโซลูชันต่างๆ สำหรับผู้ขายบนแพลตฟอร์ม โดยเครื่องมือเหล่านี้สามารถช่วยเพิ่มอัตราการมองเห็นและการเข้าถึง ซึ่งช่วยจูงใจให้นักช้อปเข้ามาซื้อสินค้าจากร้านค้าใหม่ ๆ ได้เพิ่มขึ้น และนี่คือ 5 เครื่องมือการตลาดอีคอมเมิร์ซที่ผู้ขายสามารถปรับใช้ เพื่อมอบความคุ้มค่าให้แก่นักช้อปได้ดียิ่งขึ้น
กระตุ้นยอดขายด้วยโปรเด็ด
โปรโมชันถือเป็นหนึ่งกลยุทธ์เพื่อดึงความสนใจผู้ซื้อที่ทรงพลังมากที่สุด และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในปัจจุบันมีการนำเสนอโปรโมชันให้แก่นักช้อปในหลากหลายรูปแบบที่ร้านค้าสามารถเลือกใช้ได้ เช่น คูปองส่วนลดสำหรับร้านค้า (Seller Voucher) และสินค้าราคาพิเศษในช่วงเวลาจำกัด (Flash Sale) ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มยอดขายแล้ว เครื่องมือส่งเสริมการขายเหล่านี้ยังเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างความภักดีต่อแบรนด์ได้อีกด้วย
เอาใจนักช้อปขาประจำด้วยรีวอร์ดพิเศษ
แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมักมีฟีเจอร์ที่ผู้ใช้งานสามารถสะสมเหรียญจากการช้อปครั้งก่อน ๆ หรือร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นส่วนลดในการช้อปครั้งต่อไป ฟีเจอร์รีวอร์ดเหล่านี้จึงเป็นอีกแนวทางที่ช่วยกระตุ้นการมีส่วนร่วมในกลุ่มนักช้อปขาประจำ ในขณะเดียวกันก็ยังช่วยเพิ่มการมองเห็นผลิตภัณฑ์ และยอดการเข้าชมร้านค้า สถิติที่น่าสนใจจากลาซาด้า พบว่า มีการแลกเหรียญ LazCoins เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในช่วงแคมเปญวันเกิดลาซาด้าในปี 2567 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคมีการใช้งานฟีเจอร์รีวอร์ดต่างๆ เพื่อช่วยให้ประหยัดเงินในกระเป๋ามากยิ่งขึ้น
ปิดการขายด้วยคูปองส่งฟรี
คูปองส่งฟรีเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยผู้ขายในการดึงดูดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพิ่มยอดการใช้จ่ายเฉลี่ย และลดอัตราการเปลี่ยนใจไม่ชำระเงิน โดยรายงานลาซาด้าที่จัดทำร่วมกับ Synagie และ GroupM เผยว่า การจัดส่งฟรีถือเป็น 1 ใน 4 ปัจจัยหลักในการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้า นอกเหนือจากการจัดวางผลิตภัณฑ์ รูปภาพ และดีลส่วนลด แบบสำรวจ[3] ยังพบว่า 46% ของนักช้อปที่กำลังเลือกชมสินค้ามักเลือกคลิกเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมของสินค้าที่มีข้อเสนอส่งฟรี
คุณเซน–ธัญญรัตน์ ตรีสุรมงคลโชติ เจ้าของร้าน She Knows แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นรักโลกที่มาแรงในกลุ่มผู้หญิงยุคใหม่ และมียอดขายโดดเด่นบนแพลตฟอร์ม กล่าวว่า “ทางร้านได้ใช้งานหลากหลายเครื่องมือบนแพลตฟอร์มลาซาด้า การเข้าร่วมโปรแกรมคูปองส่งฟรี ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่แบรนด์เลือกใช้ เพราะเห็นได้ชัดว่าส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจชำระเงินได้ง่ายขึ้น และช่วยให้แบรนด์ปิดการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
เจาะลูกค้ากลุ่มเป้าหมายด้วยเครื่องมือขั้นสูง
นอกจากความคุ้มค่าในรูปแบบของส่วนลด การแนะนำสินค้าที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ช่วยบริหารจัดการร้านค้าบนอีคอมเมิร์ซให้ประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว การใช้เครื่องมือโปรโมตสินค้าขั้นสูงสามารถช่วยเพิ่มการมองเห็นผ่านคำค้นหาและฟีเจอร์สินค้าแนะนำ รายงานลาซาด้าพบว่า นักช้อปราว 94% เลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากฟังก์ชัน ‘ค้นหา’ ในขณะที่นักช้อป 71% ซื้อสินค้าที่แสดงผลจากฟังก์ชัน ‘สินค้าแนะนำ'[4] ของลาซาด้า นอกจากนี้ ผู้ขายยังสามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายพันธมิตรสื่อและอินฟลูเอนเซอร์ (Affiliates) ซึ่งช่วยเพิ่มการเข้าถึงกลุ่มผู้ซื้อที่มีศักยภาพจำนวนมากนอกแพลตฟอร์มได้ควบคู่กันไป โดยในปี 2566 มีผู้ขายกว่า 600,000 รายทั่วภูมิภาคที่ใช้เครื่องมือโปรโมตสินค้าบนลาซาด้า[5] และได้รับผลตอบแทนการลงทุน (ROI) สูงถึง 10 เท่า[6]
คุณเกวลี อุดมสินโรจน์ E-Commerce Director, CPD, L’Oreal Thailand กล่าวถึงการใช้งานเครื่องมือโปรโมตสินค้าบนลาซาด้า (Sponsored Solutions) “ทางแบรนด์ ลอรีอัลปารีสได้ใช้โซลูชันทั้ง Sponsored Discovery และ Sponsored Affiliates บนแพลตฟอร์มลาซาด้าอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงเมกะแคมเปญ 3.3 หรือเซลใหญ่วันเกิดที่ผ่านมา เครื่องมือ Sponsored Discovery ช่วยเพิ่มการมองเห็นและทราฟฟิกให้กับแบรนด์ได้มากกว่าช่วงเวลาปกติถึง 2.5 เท่า ในขณะที่เครื่องมือ Sponsored Affiliates ก็ช่วยให้ทางลอรีอัลปารีสเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้มากขึ้นถึง 30% เมื่อเทียบระหว่างเดือนมีนาคม และกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา”
คว้าโอกาสทองด้วยแคมเปญ
การเข้าร่วมแคมเปญเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการมองเห็นในกลุ่มผู้บริโภคที่มีความตั้งใจซื้อสูง และช่วยเพิ่มยอดขายได้อย่างเป็นรูปธรรม ระหว่างแคมเปญ 12.12 เซลลดแรงส่งท้ายปีของลาซาด้า ในเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ผู้ขายทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถสร้างยอดขายได้เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าภายใน 12 ชั่วโมงแรกของแคมเปญ ในขณะที่ผู้ขายสินค้าในหมวดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มียอดขายเพิ่มขึ้น 9 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาปกติ
เครื่องมือเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของเครื่องมือจากลาซาด้าที่สามารถช่วยสนับสนุนธุรกิจบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของผู้ขายได้เป็นอย่างดี สำหรับผู้ที่สนใจติดตามเคล็ดลับและสาระความรู้ต่าง ๆ ลาซาด้ายังมีแหล่งข้อมูลฟรีสำหรับ ผู้ขาย อย่างเช่น Lazada University ซึ่งรวบรวมคอร์สออนไลน์ที่ออกแบบมาเพื่อเสริมทักษะและความรู้ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความพร้อมในการปรับตัว พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของตลาดอีคอมเมิร์ซในยุคปัจจุบัน
[1] Value hacker consumers finding clever ways to maximise budgets and afford quality purchases (2023) – Euromonitor International
[2] Here’s what consumers prioritize in Asia, according to WGSN’s latest report: cultural transformation, value-hacking, and more – Adobo Magazine
[3] Transforming Southeast Asia – From Discovery to Delivery report (2022) – Lazada Sponsored Solutions
[4] Transforming Southeast Asia – From Discovery to Delivery report (2022) – Lazada Sponsored Solutions ธันวาคม 2565
[5] –ข้อมูล Lazada Sponsored Solutions ในปี 2567
[6] ข้อมูล Lazada Sponsored Solutions เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2567