การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้
นอกจากนี้ รายงาน Emerging Asia-Pacific Hybrid Cloud Market Report 2022 โดยฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน, องค์กรวิจัยตลาดชั้นนำ, เผยว่าหัวเว่ย คลาวด์ทำรายได้อันดับ 1 ในตลาดไฮบริดคลาวด์ในประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2566 หัวเว่ย คลาวด์ ทำรายได้ทั่วโลกประมาณห้าหมื่นห้าพันล้านหยวน โดยรายได้จากบริการคลาวด์สาธารณะนอกประเทศจีนเติบโตเพิ่มขึ้น 110% เมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้หัวเว่ยเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยหัวเว่ย คลาวด์ครองตำแหน่งผู้ให้บริการคลาวด์ที่น่าเชื่อถือสำหรับลูกค้าและพาร์ทเนอร์หลากหลายองค์กรในประเทศไทย
หัวเว่ย คลาวด์ขยายขอบเขตการดำเนินงานทั่วโลกผ่านคูเวิร์ส (KooVerse) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ระดับโลก โดยมุ่งมั่นให้บริการคลาวด์ประสิทธิภาพสูงที่มอบประสบการณ์ใช้งานที่มีความเสถียรให้แก่ผู้ใช้บริการทั่วโลก หัวเว่ย คลาวด์มุ่งดำเนินการตามพันธกิจ “บริการในท้องถิ่น เพื่อท้องถิ่น” (In Local, For Local) และนำเสนอเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมและบริการที่สอดรับกับความต้องการของลูกค้าในพื้นที่เพื่อปูทางสู่ยุคดิจิทัลสำหรับหลากหลายอุตสาหกรรม ปัจจุบัน หัวเว่ย คลาวด์มีศูนย์ข้อมูล (Availability Zone – AZ) 93 แห่ง พร้อมโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาค (Region) 33 แห่ง มอบบริการคลาวด์เปี่ยมประสิทธิภาพให้กับลูกค้าในกว่า 170 ประเทศ และดินแดนทั่วโลก
หัวเว่ยเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลกรายแรกที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย นับตั้งแต่การเปิดตัวหัวเว่ย คลาวด์ในไทยเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 บริษัทได้เปิดตัวบริการคลาวด์มากกว่า 100 รูปแบบ พัฒนาความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในท้องถิ่นมากกว่า 300 ราย และให้บริการลูกค้าหลายพันราย หัวเว่ย คลาวด์เปิดตัวศูนย์ข้อมูล (Availability Zone – AZ) จำนวน 3 แห่งในประเทศไทย โดยศูนย์ข้อมูลล่าสุดเริ่มดำเนินการในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2565 โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการดำเนินงานในประเทศไทยโดยสมบูรณ์ และรองรับการชำระเงินและการเรียกเก็บเงินในสกุลเงินท้องถิ่นอีกด้วย นอกจากนี้ หัวเว่ยยังจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม OpenLab ในประเทศไทยเพื่อผนึกกำลังกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในพื้นที่
หัวเว่ยวางรากฐานอันแข็งแกร่งในประเทศไทย เป็นเวลากว่า 25 ปี โดยมีพนักงานคนไทยเป็นจำนวน 77% ของพนักงานทั้งหมด หัวเว่ย คลาวด์ ในประเทศไทย ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์คลาวด์ในไทยกว่า 300 ราย และสตาร์ทอัพ 120 ราย เพื่อปลูกฝังอีโคซิสเต็มในท้องถิ่นที่เจริญรุดหน้า นอกจากนี้ หัวเว่ยยังผนึกกำลังกับมหาวิทยาลัยในประเทศ ไทยกว่า 40 แห่ง และฝึกอบรมนักพัฒนาคลาวด์กว่า 10,000 ราย โดยบริษัทมีเป้าหมายที่จะฝึกอบรมนักพัฒนาคลาวด์ให้ถึง 20,000 คนในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า เพื่อบ่มเพาะทักษะด้านเทคนิคที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย