เมื่อความรักกำลังสุกงอม เราอาจมองข้ามและไม่เห็ นความสำคัญของการเตรียมพร้อมเพื่ อรับมือกับความขัดแย้งที่อาจเกิ ดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการจั ดการทรัพย์สิน จากที่ตอนแต่งงานเป็นเรื่ องของคนสองคนรักกัน แต่ถ้าเป็นเรื่องทรัพย์สินเงิ นทองที่ยิ่งมูลค่าหรือจำนวนทรั พย์สินมากขึ้นเท่าไหร่ จำนวนคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องนั้ นก็มากยิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้น KBank Private Banking ผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาด้ านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว ให้คำแนะนำว่าคู่ชีวิ ตควรวางแผนจัดการทรัพย์สินไว้ตั้ งแต่เนิ่น ๆ เตรียมพร้อมจัดการทรัพย์สิน หรือมีข้อตกลงร่วมกันไว้ตั้งแต่ ตอนที่ยังรัก เพราะหากเกิ ดความบาดหมางในอนาคตที่ไม่ อาจคาดเดาจนทำให้คู่รักกลายเป็ นคู่ร้าง การหันหน้ามาพูดคุยและจัดการเรื่ องต่าง ๆ ก็คงไม่ง่าย
นายพีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director, Wealth Planning and Non-Capital Market Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในฐานะผู้ให้บริการบริหารจั ดการทรัพย์สินครอบครัวว่า เมื่อคน 2 คน ตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน ก่อนอื่นควรทราบข้อกฎหมายเบื้ องต้นว่าทรัพย์สินส่วนไหนเป็นสิ นส่วนตัวหรือสินสมรส ซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนการจั ดการทรัพย์สินทั้งสองประเภทได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในแง่ของสินส่วนตัว คู่สมรสต่างฝ่ายต่างจัดการได้ เอง ในขณะที่ การจัดการสินสมรส คู่สมรสต้องจัดการร่วมกันหรื อได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย ดังนั้น หากเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่ างทรัพย์สินและผลของการจดทะเบี ยนสมรสแล้ว จะสามารถวางแผนในการรักษาทรัพย์ สินควบคู่ไปกับการมีชีวิตคู่ที่ ราบรื่นได้เช่นกัน
ในทางกฎหมาย ทรัพย์สินต่าง ๆ ของคู่สมรส จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
สินส่วนตัว หมายถึง ทรัพย์สินที่แต่ละฝ่ายมีก่ อนจดทะเบียนสมรส เช่น บ้าน ที่ดิน ยานพาหนะ เงินทอง และยังมีทรัพย์สินอื่นๆ ที่แม้ได้มาระหว่างสมรสแต่ก็ยั งถือเป็นสินส่วนตัว เช่น เครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เครื่องมือเครื่องใช้ ในการประกอบอาชีพ มรดกหรือของที่ได้รับโดยเสน่หา รวมไปถึงทรัพย์สินหรือเงินที่ ได้มาจากการนำสินส่วนตั วไปแลกเปลี่ยนหรือขาย ในขณะที่ของหมั้นตามกฎหมายจะถื อเป็นสินส่วนตัวของภรรยาเท่านั้ น
สินสมรส หมายถึง ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่ างสมรสกันตามกฎหมาย ได้แก่ (1) ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้ มาจากการทำงาน และสิทธิต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสมรส เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาจะซื้อจะขาย สัญญาเช่า เป็นต้น (2) ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่ างสมรสโดยการรับมรดกหรือการรั บให้โดยเสน่หา เฉพาะที่มีการระบุว่าเป็นสิ นสมรส (3) ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่ วนตัว ประกอบด้วย ดอกผลธรรมดา เช่น ผลไม้จากสวน ข้าวจากนาข้าว แม่วัว มีน้ำนม ลูกวัว และ ดอกผลนิตินัย เช่น ดอกเบี้ย ค่าเช่า เงินปันผล กำไร เป็นต้น
ซึ่งหากคู่สมรสเข้าใจแล้วว่าทรั พย์สินประเภทใดเป็นสินส่วนตั วหรือสินสมรส หากการสมรสสิ้นสุดลง ในด้านทรัพย์สินก็น่าจะไม่เกิ ดปัญหา ดังนั้น สิ่งที่คู่สามีภรรยาต้องพึงระวั งในการจัดการทรัพย์สินระหว่างกั น ได้แก่
1. การใช้ทรัพย์สินส่วนตั วในการทำธุรกิจร่วมกันเป็ นเวลานาน เมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยนผ่าน อาจเกิดความสับสนจนทำให้ทรัพย์ สินส่วนตัวกับทรัพย์สินธุรกิ จกลืนกันไปในที่สุด
2. การไม่ได้ระบุรายการทรัพย์สินส่ วนตัวของแต่ละฝ่ายเอาไว้ก่ อนสมรสไว้ ทำให้การตกลงแบ่งสินสมรสหลังหย่ าทำได้ยาก หรือทำไม่ได้เลยจนต้องพึ่ งกระบวนการทางศาล เพิ่มความบาดหมางระหว่างกั นมากขึ้น
3. การทำสัญญาก่อนสมรสต้องทำก่ อนจดทะเบียนสมรส (Prenuptial Agreement) มิเช่นนั้น จะกลายเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ บอกเลิกได้ระหว่างสมรสหรือภายใน 1 ปีหลังหย่า รวมทั้งต้องทำให้ถูกหลักเกณฑ์ และมีข้อตกลงที่ไม่ขัดกับกฎหมาย
4. แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นระหว่างอยู่ กินฉันสามีภรรยาก็ถือเป็นกรรมสิ ทธิ์ร่วมของทั้งสองฝ่าย ดังนั้น การไม่จดทะเบียนสมรสจึงอาจไม่ ใช่ทางออกอย่างที่หลายคนเข้ าใจกัน
ดังนั้น เพื่อให้ไม่เกิดปัญหาตามมาเมื่ อการสมรสสิ้นสุดลง KBank Private Banking แนะนำให้คู่สมรสวางแผน ดังนี้
1. ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิ นและผลของการสมรส ทำความเข้าใจให้ตรงกันว่าทรัพย์ สินใดเป็นสินส่วนตัว สินสมรส หรือเป็นทรัพย์สินที่ถือร่วมกั นเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ ทำทะเบียนทรัพย์สินและระบุ รายละเอียดการได้มา และควรแจ้งให้บุคคลที่ 3 ที่เชื่อถือได้/หุ้นส่วนธุรกิ จรับทราบตรงกัน
2. แบ่งแยกการถือครองสินส่วนตัวให้ ชัดเจน เช่น ไม่ใส่ชื่ออีกฝ่ายเป็นเจ้าของร่ วมในสินส่วนตัวของตน เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่ งยากในการทำธุรกรรมภายหลัง หรือหากต้องการให้อีกฝ่ายบริ หารจัดการให้ ก็ควรมีเอกสารชี้แจงชัดเจน
3. ทำสัญญาก่อนสมรส เพื่อระบุสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ ายและแนวทางจัดการทรัพย์สิ นระหว่างกันให้ชัดเจน หากข้อตกลงมีความซับซ้อน เช่น มีหนี้จากการทำงานร่วมกัน หรือมีทรัพย์สินของครอบครัวแต่ ละฝ่ายร่วมด้วย ควรปรึกษาทนายเพื่อให้มั่นใจว่ าสัญญาก่อนสมรสเป็นไปตามหลั กเกณฑ์และบังคับใช้ได้
4. ใช้เครื่องมืออื่นๆ เข้ามาจัดการทรัพย์สินแต่ ละประเภท เช่น การใช้ทรัสต์ช่วยบริหารทรัพย์สิ นครอบครัว การทำพินัยกรรมส่งต่อสินส่วนตัว หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิ ตเพื่อส่งต่อสภาพคล่องให้ ทายาทโดยตรง เป็นต้น
นายพีระพัฒน์ กล่าวในตอนท้ายว่า จากประสบการณ์การให้คำปรึกษาแก่ ลูกค้าสินทรัพย์สูงพบว่าการจั ดการทรัพย์สินระหว่างสามี ภรรยาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน สำหรับหลาย ๆ ครอบครัว และไม่ใช่เรื่องระหว่างสองคนเท่ านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่ต้องคำนึ งถึง เช่น ความแตกต่างของการจัดการทรัพย์ กงสีของครอบครัวแต่ละฝ่าย ความราบรื่นของธุรกิจที่ทำร่ วมกัน รวมไปจนถึงทรัพย์สินที่ต้ องการจะส่งต่อให้ทายาท เป็นต้น นอกจากนี้ การสิ้นสุดลงของการสมรส ไม่ได้เกิดจากการหย่าร้างเท่านั้ น แต่ยังรวมถึงการเสียชีวิตของฝ่ ายใดฝ่ายหนึ่งด้วย ดังนั้น สิ่งสำคัญเพื่อให้การจัดการทรั พย์สินระหว่างคู่สมรสเป็นไปอย่ างราบรื่น คือการวางแผนจัดการทรัพย์สินก่ อนที่จะเกิดความขัดแย้ง โดยเริ่มจากการทำข้อตกลงร่วมกัน วางแผนการถือครอง และเลือกใช้เครื่องมือที่ ตอบโจทย์ KBank Private Banking ในฐานะผู้เชี่ยว ชาญด้าน ‘บริการที่ปรึกษาด้านการบริ หารทรัพย์สินครอบครัว’ (Family Wealth Planning Service) พร้อมให้คำปรึกษาอย่างรอบด้ านและนำเสนอทางออกที่เหมาะสม จากองค์ความรู้และความร่วมมือกั บธนาคารพันธมิตร Lombard Odier มากว่า 10 ปี ให้ลูกค้าสามารถวางแผนบริหารทรั พย์สินครอบครัวได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ เป็นสากล และปฏิบัติได้จริง