เชฟรอน เปิดวิสัยทัศน์การพัฒนาพลังคนในโลกยุค AI ในงาน 4th Integrated STEM Leadership Summit in Asia

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนากำลังคนในสาขาสะเต็ม
สู่ตลาดแรงงานโลกในอนาคตในงาน 4th Integrated STEM Leadership Summit in Asia ภายใต้หัวข้อ “Navigating the AI Revolution: Equipping Asia’s Workforce and Learners for the Future” จัดโดย ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO STEM-ED) ร่วมกับภาคีภาคเอกชนและภาคการศึกษาเพื่อสานความร่วมมือระหว่างนักการศึกษา นักวิชาการผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำในภาคอุตสาหกรรม และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์เกี่ยวกับผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ที่มีต่อตลาดแรงงาน และกลยุทธ์ในการใช้ประโยชน์จาก AI ผนวกเข้ากับการศึกษาและการพัฒนาแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนางสาวพอพิชญ์ พงษ์พานิชรองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในฐานะตัวแทนบริษัทพลังงานชั้นนำ ได้แชร์กลยุทธ์ในการนำ AI และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะบุคลากร เพื่อตอบโจทย์การจัดหาพลังงาน ที่สะอาดขึ้น ปลอดภัย และเชื่อถือได้ให้กับประเทศอย่างยั่งยืนโดยในงานได้รับเกียรติจากผู้นำของหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งด้านพลังงานเทคโนโลยีทางการแพทย์ความมั่งคงปลอดภัยทางไซเบอร์รวมถึงมีตัวแทนภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนเข้าร่วมงาน ณ โรงแรมเรดิสัน บลู พลาซ่า กรุงเทพฯ

งาน 4th Integrated STEM Leadership Summit in Asia ประกอบไปด้วยเวทีเสวนาในประเด็นการขับเคลื่อนการศึกษาสาขาสะเต็มในยุค AI เพื่อพูดคุยถึงแนวทางในการพัฒนากำลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงานในอนาคต ซึ่งนางสาวพอพิชญ์ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นบนเวที Future STEM Careers พร้อมพูดถึงการเปลี่ยนผ่านในยุค AI ที่มีผลต่อภาคอุตสาหกรรมร่วมกับผู้บริหารจากบริษัท ไซเบอร์ดายน์จำกัด (มหาชน) , บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด, มูลนิธิ Pilipinas Shell และ Ateneo School of Government (ASoG)

“เชฟรอนเป็นบริษัทพลังงานที่ไม่เคยหยุดยั้งในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการจัดหาพลังงานที่เชื่อถือได้ มีราคาที่เหมาะสม และสะอาดขึ้น โลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในภาคพลังงานเองเรามองเห็นการเปลี่ยนผ่านอยู่สองส่วน ส่วนแรกคือ Energy Transition หรือ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเนื่องจากความต้องการทางพลังงานเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองต่อเศรษฐกิจที่เติบโตการมีพลังงานจากแหล่งที่หลากหลายจึงมีความจำเป็นทั้งพลังงานจากฟอสซิล หรือ Traditional Energy และพลังงานในรูปแบบใหม่ที่มีความสะอาดมากขึ้นธุรกิจพลังงานจึงต้องพร้อมที่จะปรับตัวและปรับเปลี่ยน พนักงานอย่างวิศวกรนอกจากมีองค์ความรู้เดิม ยังต้องเรียนรู้ถึงแนวทางลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในกระบวนการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย เพื่อให้การจัดหาพลังงานมีความสะอาดมากขึ้น ส่วนที่สองคือ การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี องค์กรจะต้องเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับโอกาสทางธุรกิจ และกล้าที่จะท้าทายในสิ่งที่เดิมโดยให้เริ่มต้นด้วยการมองถึงปัญหาทางธุรกิจที่เราต้องการแก้ไขแล้วจึงนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดที่เชฟรอน เรามองหาโอกาสในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้เสริมสร้างศักยภาพในการทำงานอยู่เสมอ โดยได้นำความสามารถของ AI Data Science, และ Machine Learning มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทำงานมาเป็นระยะเวลากว่าทศวรรษและนำร่องใช้ Generative AI สำหรับงานที่มีความซับซ้อนมายิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นนอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพของพนักงาน ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและเทคโนโลยีอยู่ตลอด” นางสาวพอพิชญ์ กล่าว

ทั้งนี้ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้ให้สนับสนุนการขับเคลื่อนสะเต็มศึกษามาตลอดตั้งแต่การส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ไปจนถึงการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนและประกอบอาชีพสาขาสะเต็มให้กับเยาวชน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันและนวัตกรรมของประเทศภายใต้โครงการต่างๆ มากมาย อาทิ โครงการ Chevron Enjoy Science ที่ดำเนินการในปีพ.ศ. 2558-2566 และได้ต่อยอดไปสู่โครงการ Southeast Asia Teacher Development Program เพื่อพัฒนาครูสาขาสะเต็มให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงโลกยุคใหม่ครอบคลุม 5 ประเทศทั้งในประเทศไทยคาซัคสถานอินโดนีเซียกัมพูชาและมาเลเซีย