บีซีพีจีจับมือกสิกรไทย ออกหุ้นกู้ “บอนด์พลัสคาร์บอนเครดิต” เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อการพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิ ตผ่านนวัตกรรมการระดมทุน โดยจัดจำหน่ายให้ผู้ลงทุนสถาบัน ด้วยมูลค่าบอนด์รวม 2,000 ล้านบาท ซึ่งหุ้นกู้ที่จ่ายดอกเบี้ยคงที่ และมีส่วนส่งเสริมการขายของหุ้ นกู้ ที่ผู้ลงทุนสามารถเลือกรับคาร์ บอนเครดิต (Carbon Credit) ที่ผ่านการรับรองจาก อบก. หรือเลือกรับใบรับรองเครดิ ตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) ซึ่งผ่านการรับรองตามมาตรฐาน I-REC
บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจผลิ ตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนระดั บแนวหน้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้รุ่ นอายุ 3 ปี และ 5 ปี แก่ผู้ลงทุนสถาบันชั้ นนำในประเทศ มูลค่ารวม 2,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567 มีธนาคารกสิกรไทย เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้ นกู้ในครั้งนี้ โดยหุ้นกู้ดังกล่าวมีความพิเศษ ที่นอกจากผู้ลงทุนจะได้รั บผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ เหมือนหุ้นกู้โดยทั่วไปแล้ว ยังมีส่วนส่งเสริมการขายของหุ้ นกู้ โดยสามารถเลือกรับเป็นคาร์ บอนเครดิต (Carbon Credit) ที่ได้ผ่านการรั บรองมาตรฐานตามโครงการลดก๊าซเรื อนกระจกภาคสมั ครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรื อนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) พัฒนาขึ้น หรือเลือกรับเป็นใบรับรองเครดิ ตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (I-REC) ซึ่งผ่านการรั บรองตามมาตรฐานของ The International REC Standard Foundation (I-REC) หรือ International Tracking Standard Foundation (I-TRACK Foundation) ทั้งนี้ผู้ลงทุ นสามารถนำ Carbon Credit หรือใบรับรองเครดิตการผลิตพลั งงานหมุนเวียนดังกล่าวที่ได้รั บจากบีซีพีจี ซึ่งผลิตจากโครงการโรงไฟฟ้าพลั งงานแสงอาทิตย์ ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมื อสำหรับการชดเชยการปล่อยก๊าซเรื อนกระจก (Offsetting) เพื่อมุ่งสู่ความเป็ นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตามแผนยุทธศาสตร์ ชาติด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปซื้อขายในตลาดรอง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุ นการพัฒนาสภาพคล่องของตลาดการซื้ อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยอี กด้วย
นายนิวัติ อดิเรก ประธานเจ้าหน้าที่บริ หารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริ ษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในขณะที่โลกกำลังให้ความสำคัญกั บความยั่งยืนมากขึ้น บีซีพีจีเองก็มุ่งมั่นที่จะเป็ นผู้นำในการบูรณการความรับผิ ดชอบด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับนวั ตกรรมทางการเงิน ธุรกรรมในครั้งนี้จึงเป็ นการตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะ “สร้างโลกสีเขียวที่ยั่งยืน” ตามวิสัยทัศน์ของบริษัท นอกจากนี้ บีซีพีจียังเป็นหนึ่งในผู้ร่ วมจัดตั้ง Carbon Markets Club เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ คาร์บอนเครดิตและมีแพลทฟอร์มที่ สามารถคำนวณการปล่อยปริมาณ Carbon และซื้อขายคาร์บอนเครดิต เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่ มีอุดมการณ์เดียวกันในการแก้ปั ญหาโลกร้อน สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์ บอนเครดิตกันได้ตามความสมัครใจ การให้คาร์บอนเครดิตแก่ผู้ลงทุ นในครั้งนี้ ยังเป็นการสนับสนุนให้ผู้ลงทุ นชั้นนำของไทยเข้าใจเรื่องการซื้ อขายคาร์บอนเครคิตในตลาดรองเพิ่ มมากขึ้น ในปัจจุบัน บีซีพีจีได้บรรลุเป้ าหมายหมายความเป็นกลางทางคาร์ บอน (Carbon Neutrality) ในประเทศไทยตั้งแต่ในปี 2565 และตั้งเป้าเป็นองค์กรที่ปล่ อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2593
นางณัฐริกา วายุภาพ นิติพน รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจั ดการก๊าซเรือนกระจก และรักษาการผู้อำนวยการองค์ การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ขอแสดงความชื่นชมกับบีซีพีจี ธนาคารกสิกรไทยและผู้ลงทุนทุกท่ านกับความสำเร็จของธุ รกรรมและความคิดริเริ่ มในการนำคาร์บอนเครดิตที่มี ความน่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้ วัดได้จริง มีมาตรฐานจากการทำโครงการ T-VER และผ่านการรับรองจาก อบก. มาเป็นส่วนเพิ่มเติมให้กับผู้ ลงทุน โดย อบก. ดำเนินการโอนคาร์บอนเครดิตจากบั ญชีของบีซีพีจีในฐานะผู้พั ฒนาโครงการ ไปยังบัญชีของผู้ลงทุนจำนวนรวม 21,600 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อบก. เชื่อว่าธุรกรรมนี้จะเป็นแรงส่ งทำภาคส่วนต่างๆ เห็นความสำคัญในเรื่องการมีส่ วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้เกิดโครงการลดก๊าซเรื อนกระจกเพิ่มมากขึ้น และนำพาให้ประเทศไทยบรรลุเป้ าหมายได้ในที่สุด
ปัจจุบัน ตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมั ครใจในไทย เห็นความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ อบก. ได้มีการผลักดันโครงการลดก๊ าซเรือนกระจกภาคสมั ครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ปัจจุบัน มีโครงการที่ขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER แล้ว 438 โครงการ ในจำนวนนี้มี 169 โครงการที่ได้รับการรับรองคาร์ บอนเครดิต และมี(คาร์บอนเครดิต)ปริมาณก๊ าซเรือนกระจกที่ลด/กักเก็บได้ รวมทั้งสิ้น 19,537,269 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยตั้งแต่ปี 2559 มีปริมาณการซื้อขายคาร์บอนเครดิ ตแล้ว 3,422,956 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า คิดเป็นมูลค่าราว 299 ล้านบาท อบก. เชื่อว่า นอกจากตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมั ครใจจะเป็นส่วนช่วยสนับสนุ นในการลดก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมทั้ งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น เพิ่มพื้นที่สีเขี ยวและความหลากหลายทางชีวภาพให้ กับชุมชน ลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มรายได้แก่ชุมชน เพิ่มมูลค่าของเสียหรือของเหลื อทิ้งทางการเกษตรและครัวเรือน เป็นต้น
นายพิพิธ เอนกนิธิ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารมุ่งมั่นสู่การเป็นผู้ นำด้าน ESG ของกลุ่มธนาคารในเอเชียตะวั นออกเฉียงใต้ โดยมีเป้าหมายหลักสำคัญ อาทิ การเป็นธนาคารที่ปล่อยก๊าซเรื อนกระจกสุทธิ จากการดําเนินงานของธนาคารเป็ นศูนย์ภายใน ปี พ.ศ. 2573 รวมถึงการให้บริการที่มากกว่ าบริการทางการเงิน เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊ าซเรือนกระจกในประเทศไทย โดยที่ผ่านมาธนาคารได้ร่วมเสริ มสร้างความยั่งยืนผ่านการสร้ างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ตลาดทุนที่ ร่วมส่งเสริมการลดการปล่อย GHG ของประเทศไทยมาโดยตลอดทั้งในรู ปแบบของการออกผลิตภัณฑ์การลงทุน ผลิตภัณฑ์การบริหารความเสี่ ยงและบริการระดมทุนผ่านหุ้นกู้ สำหรับการเข้าร่วมเป็นผู้จั ดการการจัดจำหน่ายและเป็นผู้ ลงทุนหลัก (Cornerstone Investor) ของหุ้นกู้บีซีพีจีครั้งนี้ ได้ทำให้ธนาคารได้ก้าวไปสู่เป้ าหมายสำคัญด้านความยั่งยืนอีกขั้ น โดยสามารถเชิญชวนให้ผู้ลงทุ นสถาบันต่างๆ เข้ามาเรียนรู้กระบวนการเปิดบั ญชีคาร์บอนเครดิตกับทาง อบก. แบ่งปันความรู้ทางด้าน ESG รวมถึงการจัดการด้านการบัญชี และภาษีที่เกี่ยวข้องคาร์ บอนเครดิตอีกด้วย ทั้งนี้ สำหรับคาร์บอนเครดิตที่ ทางธนาคารได้รับธุรกรรมดังกล่าว จะถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่ องมือในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรื อนกระจก (Offsetting) ของธนาคารต่อไป
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เปิดเผยว่า กบข. ให้ความสำคัญกับการบูรณาการปั จจัยด้าน ESG เข้ามาในการดำเนินงานขององค์ กรมาโดยตลอด และ กบข. ให้การสนับสนุนผู้ออกตราสารหนี้ ESG และนวัตกรรมใหม่ ๆ ในตลาดการเงินเสมอมา กบข. มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็ นส่วนหนึ่งของการนำธุ รกรรมการลงทุนในตลาดทุนและการพั ฒนาตลาดคาร์บอนเครดิตมารวมกั นไว้เป็นโครงการนวั ตกรรมทางการเงินด้วยกันเป็นครั้ งแรกของประเทศไทย ทั้งนี้ กบข. ยังได้นำคาร์บอนเครดิตที่ได้รั บมาไปขายต่อในตลาดรองซึ่งเป็ นการส่งเสริมสภาพคล่องให้กั บตลาดคาร์บอนเครดิ ตในประเทศไทยอีกด้วย
นายเสี่ยวปอ หลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) หนึ่งในกลุ่มไอซีบีซี ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำระดับโลก เปิดเผยว่า ธุรกรรมนี้ถือเป็นนวั ตกรรมของตลาดตราสารหนี้ และตลาดคาร์บอนเครดิต ไอซีบีซี (ไทย) พร้อมสนับสนุนการพัฒนาของตลาดทุ นและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกี่ ยวข้องกับ ESG อย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยทั้งบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ และผู้ลงทุนต่างต้องการสร้ างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม ธุรกรรมครั้งนี้จึงถือเป็นก้ าวแรกและก้าวสำคัญในการสร้างนวั ตกรรมใหม่ ควบคู่ไปกับการพัฒนาตลาดทุนให้ สอดคล้องกับเรื่อง ESG เพื่อให้บริษัทและผู้ลงทุ นในวงกว้างรับรู้และให้ ความสนใจในธุรกรรมการเงินแบบยั่ งยืนมากยิ่งขึ้น
นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมืองไทยประกันชีวิตเล็งเห็นถึ งความสำคัญที่จะนำแนวคิดการพั ฒนามาผสานกับเรื่องของการดำเนิ นธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืน ทั้งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (ESG) ในทุกกระบวนการ เพื่อส่งมอบคุณค่าระยะยาวแก่ผู้ มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยธุรกรรมการลงทุนในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่ นในการดำเนินงานของบริษั ทในการ บูรณาการแนวทางการพั ฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่ มโอกาสในการลงทุนของบริษัท และเป็นการสนับสนุนให้เกิดการพั ฒนาตลาดคาร์บอนเครดิ ตในประเทศไทยอีกทางหนึ่งอีกด้วย