อิคาโน่ รีเทล ผู้ถือแฟรนไชส์อิเกีย นำเข้าสินค้าและของตกแต่งบ้านสัญชาติสวีเดนสู่ประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เม็กซิโก และฟิลิปปินส์ รายงานรายได้ในปีงบประมาณ 2567 รวมราว 4 หมื่นล้านบาท (1.09 พันล้านยูโร)
อิคาโน่ รีเทล เป็นหนึ่งในผู้ได้รับสิทธิ์อนุญาตแฟรนไชส์อิเกียจาก 12 รายทั่วโลก ปัจจุบันมีสโตร์รูปแบบออมนิชาเนล 14 แห่ง และสโตร์ภายในศูนย์การค้าอีก 5 แห่ง รายงานผลประกอบการที่เติบโตเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยมีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 1.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
สำหรับในประเทศไทย อิคาโน่ รีเทล เป็นเจ้าของและดำเนินธุรกิจผ่านช่องทางออมนิชาแนล หรือการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่หลากหลายช่องทาง พร้อมบริหารจัดการสโตร์อิเกีย 4 แห่ง ได้แก่ อิเกีย บางนา อิเกีย บางใหญ่ อิเกีย ภูเก็ต และอิเกีย สุขุมวิท ซึ่งเปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในตลาดประเทศไทยด้วยยอดขายที่โตขึ้น 3.9% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และปิดยอดปีงบประมาณ 2567 ณ วันที่ 31 สิงหาคม ด้วยรายได้รวมทั้งสิ้นกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท (ราว 286 ล้านยูโร)
“ธุรกิจทั่วโลกต่างเผชิญปีที่ยากลำบาก อิเกียก็เช่นกัน” มร.คริสเตียน รอยเคียร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อิคาโน่ รีเทล กล่าวยอมรับถึงผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้นที่กระทบการใช้ชีวติตของผู้บริโภค “แต่การรวมตัวกันเพื่อร่วมเปลี่ยนความท้าทายให้เป็นโอกาสใหม่ๆ คือแก่นแท้ของวัฒนธรรมองค์กร์ของอิคาโน่และอิเกีย” มร. รอยเคียร์ กล่าวเสริม
แม้ว่าแต่ละตลาดจะมีผลประกอบการที่แตกต่างกันไป บริษัทฯ ยังมุ่งมั่นลดราคาสินค้าตกแต่งบ้านที่จำเป็นและเป็น ไอเท็มขายดี รวมถึงสินค้าประเภทอาหารและบริการต่างๆ ”เราพร้อมสนับสนุนให้ผู้บริโภคประหยัดในวิถีทางที่ส่วนที่เราจะทำได้ เพราะเราเข้าใจดีว่าสถานการณ์เช่นนี้ยากลำบากแค่ไหนสำหรับครัวเรือนที่อาจมีกำลังซื้อน้อย” มร. รอยเคียร์ กล่าว
ในช่วงเวลาที่เงินเฟ้อและค่าครองชีพสูง อิเกีย ประเทศไทยเลือกที่จะอยู่เคียงข้างผู้คนจำนวนมาก ด้วยการลงทุนลดราคาสินค้าเพื่อช่วยให้คนไทยที่กำลังประสบปัญหาทางการเงินสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนที่สำคัญบริษัทฯ เดินหน้าประกาศลดราคาสินค้าอีกครั้งในปีนี้กว่า 2,400 รายการ โดยมากกว่า 85% เป็นสินค้าจำเป็นหรือสินค้าขายดีในประเทศ ตั้งแต่กล่องเก็บของขนาดเล็ก ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ชุดครัว นอกจากนี้ อิเกีย ประเทศไทยยังได้ลดราคาค่าบริการจัดส่งโดยรถบรรทุกเพื่อช่วยให้ลูกค้าได้ใช้เงินเก็บที่หามาอย่างยากลำบากให้คุ้มค่าที่สุด
สินค้าประเภทอุปกรณ์จัดเก็บยังคงตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มองหาวิธีจัดการพื้นที่ในการอยู่อาศัย สินค้าจากคอลเล็คชั่น MALM/ มาล์ม PAX/ พักซ์ และ BILLY/บิลลี่ ครองยอดขายสูงสุด 3 อันดับแรกตามลำดับ โดยคำนวณจากยอดขายรวมในอิเกียทั้ง 14 สโตร์ของอิคาโน่รีเทล เฉพาะอิเกีย ประเทศไทยเพียงประเทศเดียวมีลูกค้าซื้อชั้นหนังสือ BILLY/ บิลลี่ถึง 34,460 ชิ้น เนื่องจากมีความต้องการจัดระเบียบพื้นที่ภายในบ้านและที่ออฟฟิศเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกัน สินค้าและบริการด้านอาหาร ยังเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้บริโภคในทุกๆ ตลาด โดยในปีที่ผ่านมา อิเกียได้ต้อนรับผู้เข้าใช้บริการกว่า 14.5 ล้านครั้งในร้านอาหารอิเกีย คาเฟ่ บิสโทร และมุมอาหารและขนมสวีเดน ยอดขายอาหารรวมลดลง 3% ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากอุปทานอาหารทั่วโลกแต่ธุรกิจจะยังคงตอบสนองความต้องการลูกค้าที่มองหาตัวเลือกอาหารที่อร่อยในราคาที่เข้าถึงได้
นอกจากสโตร์อิเกียแล้ว อิคาโน่ รีเทล ยังพัฒนาที่ดินและลงทุนด้านการสร้างที่อยู่อาศัย สำนักงาน และโครงการมิกซ์ยูสต่างๆ ผ่านธุรกิจอิคาโน่ เซ็นเตอร์ ซึ่งมีการดำเนินงานภายในห้างสรรพสินค้า 5 แห่ง ที่ประเทศมาเลเซีย ประเทศ ไทย สถานที่เหล่านี้สร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร อีกทั้งยังเป็นแหล่งนัดพบของผู้คนในชุมชน
ในปีงบประมาณ 2566 ที่ผ่านมา เมกาบางนายังคงเป็นสถานที่เคาท์ดาวน์ยอดนิยมในกรุงเทพฯ โซนตะวันออกจากการจัดงาน Mega Countdown 2024 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 371,000 คน มาร่วมชมการแสดงสดบนเวทีนับถอยหลังสู่ปีใหม่และชมการแสดงพลุสุดตระการตา
“ต้องขอบคุณทีมอิคาโน่ รีเทลเป็นอย่างมากที่พาเราผ่านปีนี้มาได้ โดยช่วยทำให้องค์กรของเราทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัวยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยกระดับโมเดลธุรกิจออมนิชาแนลที่มีสโตร์เป็นศูนย์กลางของเราให้มุ่งเน้นความต้องการของลูกค้ามากกว่าที่เคย” มร. รอยเคียร์ กล่าวปิดท้าย
ข้อมูลที่น่าสนใจ
1 กันยายน 2566 – 31 สิงหาคม 2567
ราว 6.9 พันล้านบาท | ยอดขายอีคอมเมิร์ซรวมในตลาดของอิคาโน่ รีเทล เพิ่มขึ้น 6% จากปีงบประมาณปีที่แล้ว | ||
49.3 ล้าน | จำนวนมีทบอลเนื้อ มีทบอลไก่ และแพลนต์บอลที่ขายใน 5 ประเทศ โดย 27.3 ล้านชิ้นคือยอดขายในไทย | ||
5.54 ล้าน | จำนวนจานและชามจากซีรีส์ OFTAST/ ออฟตาสท์ ที่ขายได้ โดย 737,726 คือยอดขายในไทย | ||
4.93 ล้าน | จำนวนสมาชิก IKEA Family ในทุกตลาดของอิคาโน่ เพิ่มขึ้น 1.65% จากปีก่อนหน้า | ||
1.36 ล้าน | จำนวนสมาชิก IKEA Family ในประเทศไทย คิดเป็น 59% ของยอดขายในประเทศ | ||
550,000 | สมาชิก CRM ในศูนย์การค้าอิคาโน่ทั้ง 5 แห่ง เพิ่มขึ้น 22% | ||
4,942 | จำนวนพนักงานทั้งหมดใน อิคาโน่ รีเทล รวมถึง 1,066 คนในประเทศไทย |
รายได้ทั้งหมดจากสโตร์อิเกียของอิคาโน่ รีเทล เป็นส่วนหนึ่งของรายได้ทั้งหมดในรายงานผลประกอบการประจำปี ซึ่งจะประกาศในวันที่ 8 ตุลาคม โดย Inter IKEA Group เจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์อีเกียทั่วโลก ตารางข้อมูลด้านล่างแสดงรายได้จาก สโตร์ของอิคาโน่ รีเทลและเซ็นเตอร์
สโตร์อิเกีย และอิคาโน่ เซ็นเตอร์ในแต่ละประเทศ |
รายได้ปีงบประมาณ 2566
กันยายน 2566 – สิงหาคม 25667 |
||
สิงคโปร์
IKEA Alexandra IKEA Jurong IKEA Tampines |
9.1 พันล้านบาท
+0.6% จากปีที่แล้ว |
||
มาเลเซีย
IKEA Damansara + IPC Shopping Centre IKEA Cheras + MyTOWN Shopping Centre IKEA Tebrau + Toppen Shopping Centre IKEA Batu Kawan + Klippa Shopping Centre |
1.1 หมื่นล้านบาท
-4.2% จากปีที่แล้ว |
||
ไทย
IKEA Bangna + Megabangna Shopping Centre IKEA Bang Yai IKEA Phuket IKEA Sukhumvit |
กว่า 1 หมื่นล้านบาท
+3.9% จากปีที่แล้ว |
||
เม็กซิโก
IKEA Oceania IKEA Puebla |
3.9 พันล้านบาท
+20.8% จากปีที่แล้ว |
||
ฟิลิปปินส์
IKEA Pasay City |
5.2 พันล้านบาท
-2.0% จากปีที่แล้ว |
||
รวมทั้งอิคาโน่ รีเทล | 4 หมื่นล้านบาท
+1.3% จากปีที่แล้ว |