แท้งบุตร อยากท้องใหม่ยากไหม? ข้อพิจารณาด้านอารมณ์และด้านการแพทย์

ปัญหาการมีบุตรยากมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดข้อสงสัยบางอย่างสำหรับผู้ที่มีปัญหา โดยในบทความนี้จะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการแท้งบุตร ว่าเกี่ยวข้องกับการมีบุตรยากหรือไม่ และสามารถท้องใหม่ได้ยากหรือง่ายแค่ไหน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับข้อพิจารณาด้านอารมณ์และด้านการแพทย์

“แท้งบุตรอยากท้องใหม่ยากไหม?”

แท้งบุตร คืออะไร?

แท้งบุตร คือ การสูญเสียทารกในครรภ์ช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ภาวะแท้งบุตรไม่ได้เกิดจากความผิดพลาด แต่เกิดจากสาเหตุที่อยู่เหนือการควบคุม ซึ่งทำให้ทารกหยุดการเจริญเติบโต 

แท้งบุตร อยากท้องใหม่ยากไหม?

หลังแท้งบุตรไปแล้ว มีข้อสงสัยว่าจะสามารถตั้งครรภ์ใหม่ได้หรือไม่ ความจริงแล้วหลังแท้งบุตรก็สามารถตั้งครรภ์ใหม่ได้ตามปกติ เพียงแต่ว่าบางรายอาจมีโอกาสแท้งบุตรได้มากกว่าคนที่ไม่เคยแท้งบุตรมาก่อน อัตราการแท้งบุตรคือ หลังการแท้งบุตร 1 ครั้ง ความเสี่ยงในการแท้งบุตรจะอยู่ที่ประมาณ 20% หากมีการแท้งบุตรติดต่อกันอีกครั้ง ความเสี่ยงในการแท้งบุตรจะอยู่ที่ประมาณ 25% และถ้าหากแท้งบุตรติดต่อกัน 3 ครั้งขึ้นไป อัตราความเสี่ยงของการแท้งบุตรจะเพิ่มขึ้นประมาณ 30% หรือ 40% 

ข้อพิจารณาด้านอารมณ์หลังแท้งบุตร

สำหรับคนที่ผ่านการแท้งบุตรมาและต้องการตั้งครรภ์ใหม่อีกครั้ง อาจมีภาวะทางอารมณ์ที่แปรปรวนเกิดขึ้น โดยในคนที่แท้งบุตรเมื่อมีการตั้งครรภ์ใหม่จะรู้สึกมีความสุขจากความหวังครั้งใหม่แต่ในขณะเดียวกันก็จะเกิดความกังวลและหดหู่เกิดขึ้นในจิตใจด้วยเช่นกันและถึงแม้จะคลอดบุตรที่แข็งแรงแล้วก็ตามแต่ความกังวลเหล่านั้นจะยังอยู่ทางที่ดีควรพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยบำบัดอาการเหล่านี้

ข้อพิจารณาด้านการแพทย์หลังแท้งบุตร

จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าหลังแท้งบุตรสามารถตั้งครรภ์ใหม่ได้ตามปกติ แต่อัตราความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งอาจสูงขึ้น ยิ่งถ้าหากมีการแท้งซ้ำ อัตราความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งก็จะสูงขึ้นอีก และถ้าหากกล่าวถึงข้อพิจารณาด้านการแพทย์หลังแท้งบุตร หากมีการแท้งติดต่อกัน 2 ครั้งขึ้นไปผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำว่าให้ทำการทดสอบเพื่อค้นหาสาเหตุก่อนที่คุณจะพยายามตั้งครรภ์อีกครั้งการทดสอบที่ถูกแนะนำบ่อยคือ

  • การตรวจเลือด เพื่อตรวจดูฮอร์โมนหรือระบบภูมิคุ้มกันว่ามีการทำงานที่ผิดปกติหรือไม่
  • การตรวจโครโมโซม คู่สมรสทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย เพื่อหาสาเหตุว่าเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแท้งบุตรหรือไม่ หรือหากพบเนื้อเยื่อจากการแท้งบุตร ก็อาจทดสอบเพิ่มเติมเช่นกัน

การป้องกันการแท้งบุตร

ผู้ที่เคยแท้งบุตรและตั้งครรภ์ใหม่ อาจต้องระมัดระวังระหว่างการตั้งครรภ์เป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการแท้งบุตรซ้ำ ดังนี้

  • รับประทานกรดโฟลิก อย่างน้อยวันละ 400 ไมโครกรัม โดยเริ่มรับประทานอย่างน้อย 1 – 2 เดือนก่อนการตั้งครรภ์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ไม่เครียดหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ไม่สูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงเครื่องแอลกอฮอล์
  • ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 1 – 2 แก้ว
  • หลีกเลี่ยงยาเสพติด
  • ฉีดวัคซีนที่จำเป็นให้ครบถ้วน

ผู้ที่มีปัญหาเคยแท้งบุตรและต้องการตั้งครรภ์ใหม่ สามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ แต่ต้องระวังภาวะแท้งซ้ำเป็นพิเศษ และถ้าหากเกิดการแท้งซ้ำติดต่อกันถึงสามครั้งแนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือสามารถปรึกษาได้ฟรีที่ Bangkok Central Clinic