บี.กริม แจกรางวัลทุน “Herbert Link” แก่นิสิต นักศึกษา ที่เรียนเอกเยอรมัน และทุนการศึกษาวิชาดนตรีรวม 19 คน จาก 9 มหาวิทยาลัย ในงานมอบรางวัลเรียนดีแก่นิสิต นักศึกษาเอกเยอรมัน ประจำปี 2567 มุ่งสร้างกำลังใจ พร้อมส่งเสริมการเรียนภาษา วรรณคดีและวัฒนธรรมเยอรมันในระดับมหาวิทยาลัย สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ประเทศมากยิ่งขึ้น
นางสาวศิริวงศ์ บวรบุญฤทัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ – สายงานการเงินและบัญชี บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนในการแจกรางวัลทุน “Herbert Link” ให้แก่นิสิต นักศึกษารวม 19 คน จาก 9 มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในรางวัลที่มอบให้แก่นิสิตนักศึกษา ในงานมอบรางวัลเรียนดี แก่นิสิต นักศึกษา ที่เรียนเอกเยอรมัน ประจำปี 2567 โดยมี นายฮันส์-อูลริคช์ ซืดเบ็ก อุปทูต สถานเอกอัครราชทูต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กรุงเทพฯ เป็นประธานในงาน ร่วมด้วย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พรสรรค์ วัฒนางกูร นายกสมาคมไทย-เยอรมัน ผู้จัดงาน และดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง ผู้แทนจากคณะกรรมการบริหาร มูลนิธิวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน ร่วมเป็นเกียรติในงาน ณ ห้องประชุมสถาบันเกอเธ่อ ศูนย์ไทย-เยอรมัน เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567
พร้อมกันนี้ ในงานยังได้มีพิธีมอบรางวัล สมาคมไทย-เยอรมันและมูลนิธิวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน และรางวัลทุนการศึกษาด้านดนตรี “มาริยาเนอ ซอร์น” (Mariane Zorn-Preis) จากคุณมาริยาเนอ ซอร์น อดีตกงสุลกิตติมศักดิ์ของประเทศไทย ณ เมืองชตุทการ์ด หนังสือ และของรางวัลจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเยอรมนี และรางวัลจากโรงเรียนนานาชาติสวิส อีกด้วย
สำหรับนิสิต นักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาวิชาดนตรี ได้แก่ นิสิตดุริยางคศิลป์ตะวันตก (Music student) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิชาเอก ขับร้อง นางสาวปาลิตา ธรรมประโชติ ส่วนนิสิต/นักศึกษาที่เรียนเยอรมันเป็นวิชาเอก ได้แก่
· มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : นายฉัตรพิศุทธิ์ แจ้งประจักษ์ ชั้นปีที่ 3 และนางสาวภิญญดาทัยคง ชั้นปีที่ 3
· มหาวิทยาลัยขอนแก่น : นางสาวธนัชพร วิสุวัฒนะศักดิ์ ชั้นปีที่ 4 และนางสาวปณิตา พิมลลักขณากุล
ชั้นปีที่ 4
· จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : นายแสงตะวัน สุรการ ชั้นปีที่ 4 และนางสาวชญาภรณ์ อิทธิสมบูรณ์ ชั้นปีที่ 3
· มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : นางสาววิวรรณฉัตร ปะนัดโส ชั้นปีที่ 2 และนางสาวณัฐธยาน์ บุญยงค์ ชั้นปีที่ 2
· มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : นางสาวชลดา นกแก้ว ชั้นปีที่ 4 และนายภัทรกร พันธ์คล้า ชั้นปีที่ 4
· มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : นายพุทธบุตร สวัสดีประเสริฐ ชั้นปีที่ 4 และนางสาวบุญยวีร์ นิลประดับ ชั้นปีที่ 3
· มหาวิทยาลัยศิลปากร : นายพสุธา วงศ์ด้วง ชั้นปีที่ 4 และนางสาวชญาดา ศรีเสน ชั้นปีที่ 3
· มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : นางสาวณัฐญา อุ้ยอ้ำ ชั้นปีที่ 3 และนางสาวศุภมาศ เมฆศิรินภาพงศ์ ชั้นปีที่ 4
· มหาวิทยาลัยรามคำแหง : นายวรพจน์ ทิพย์ทวีชัย ชั้นปีที่ 2 และนางสาวพิชามญชุ์ จินตวง ชั้นปีที่ 4
การมอบรางวัลทุน “เฮอร์เบิร์ต ลิงค์” (Herbert Link – Prize) มีจุดเริ่มมาจากงานแจกรางวัลเรียนดี (Preisverleihung) แก่นิสิตนักศึกษาที่เรียนเยอรมันเป็นวิชาเอกและมีผลการศึกษาดีมากของสมาคมไทย-เยอรมัน (Thai-Deutsche Gesellschaft, TDG) งานนี้เป็นกิจกรรมเด่นของสมาคมไทย-เยอรมัน มีมานานตั้งแต่ทศวรรษที่ 60 แต่ได้หยุดไปกว่าสิบปี ระหว่างพ.ศ. 2543 – 2560 ซึ่งสมาคมไทย-เยอรมัน ได้รื้อฟื้นกิจกรรมนี้ขึ้นมาใหม่โดยได้รับการสนับสนุนจาก ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ และในปี พ.ศ. 2566 บี.กริม ร่วมกับ สมาคมไทย-เยอรมัน (Thai-Deutsche Gesellschaft, TDG) และมูลนิธิวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน (Thai-Deutsche Kulturstiftung, TDKS) ได้เริ่มการมอบรางวัลทุน “เฮอร์เบิร์ต ลิงค์” (Herbert Link – Prize) แก่นิสิต นักศึกษาไทยที่เรียนเยอรมันเป็นวิชาเอก จาก 9 มหาวิทยาลัย และทุนการศึกษาวิชาดนตรีแก่นิสิตที่มีผลการเรียนดีมาก เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมความสนใจในการเรียนภาษา วรรณคดีและวัฒนธรรมเยอรมันในระดับมหาวิทยาลัย เป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่นิสิตนักศึกษาที่เรียนเอกเยอรมัน เน้นให้ความสำคัญด้านภาษา วรรณคดีและวัฒนธรรมเยอรมันว่า มีความสำคัญในเวทีโลกปัจจุบัน การได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม รวมถึงประวัติศาสตร์เยอรมัน สามารถสร้างโอกาสทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การต่างประเทศ และเสริมสร้างความเข้าใจและกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันของคนไทยและคนเยอรมันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
“เฮอร์เบิร์ต ลิงค์” (Herbert Link) เป็นบุตรชายคนโตของนาย “อดอล์ฟ ลิงค์” (Adolf Link) เภสัชกรชาวเยอรมัน ผู้ร่วมก่อตั้งห้างสยามดิสเป็นซารี ซึ่งเป็นร้านปรุงยาตำรับตะวันตกแห่งแรกในสยาม ในปี พ.ศ. 2421 ต่อมา คุณอดอล์ฟ ลิงค์ ได้ขยายกิจการของ บี. กริม ให้ครอบคลุมธุรกิจในหลายสาขา จนถึงปัจจุบัน บี.กริม ดำเนินธุรกิจมานานกว่า 146 ปี ในธุรกิจที่หลากหลาย ประกอบด้วยสายธุรกิจหลัก 6 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจด้านพลังงาน, ธุรกิจอุตสาหกรรม (ให้บริการโซลูชันในการจัดการพลังงานและเชื่อมต่อระบบภายในอาคารและภาคอุตสาหกรรม), ธุรกิจสุขภาพ, ธุรกิจเทคโนโลยีดิจิตอล, ธุรกิจไลฟ์สไตล์ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้ปรัชญา “การดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี” มุ่งสร้างประโยชน์ให้กับผู้คนและสังคมอย่างยั่งยืน