บริษัท สยาม ควอลิตี้ สตาร์ช จํากัด (SOS) หนึ่งในกลุ่มบริษัท บริษัท เอส เอ็ม เอส (SMS Group) เปิดตัว “MODEL SMS 20R” โครงการ ขยายพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลัง เพื่อแจกจ่ายท่อนพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลัง พร้อมทั้งเชิญชวนเกษตรกรปลูก พันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลัง มุ่งหวังลดการระบาดของโรคในพื้นที่และเพื่อสร้างความยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมมันสําปะหลังของไทย
นายอนันต์ นาคนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธานเปิดงาน “MODEL SMS 20R” พร้อมด้วย นายธงชัย โอฬารพัฒนะชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ นางสาวกังสดาล ชาตกุล เกษตรจังหวัดชัยภูมิ ศาสตราจารย์ ดร.เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ รองศาสตราจารย์ ดร.วิจารณ์ วิชชุกิจ ตัวแทนจากมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสําปะหลังแห่งประเทศไทย แขกผู้มีเกียรติ และเกษตรกรเข้าร่วมงาน กว่า 300 คน โดยมี ดร.วีรวัฒน์ เลิศวนวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จํากัด และพนักงานบริษัทฯ ให้การต้อนรับ ภายในงานได้มีการส่งมอบ ต้นพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลัให้แก่ตัวแทนเกษตรกรจํานวน 10 ราย และเกษตรกรที่มาร่วมงานพร้อมทั้งนําชมแปลงทดลองและขยายพันธุ์ต้านทานใบด่างมันสําปะหลังของบริษัทฯ
ดร.วีรวัฒน์ เลิศวนวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จํากัด ได้เล่าถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของการดําเนินการ โครงการ MODEL SMS 20R เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสําปะหลังเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้แก่เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องเป็น อย่างมาก เนื่องจากอาการของโรคทําให้ใบของมันสําปะหลังเกิดเป็นด่าง และยังมีใบลักษณะที่ผิดรูป ส่งผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงและการ สะสมอาหารในหัวมันสําปะหลัง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตและเชื้อแป้งที่ลดลงนําไปสู่รายได้ที่ลดลงของเกษตรกร
บริษัทฯได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและมีการติดตามพร้อมทั้งร่วมแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2566 บริษัท สยามควอลิตี้ สตาร์ช จํากัด หนึ่งในกลุ่มบริษัท เอส เอ็ม เอส ได้รับการสนับสนุนต้นกล้า X20 พันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลัง (อิทธิ 1, อิทธิ 2 และ อิทธิ3) จากมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสําปะหลังแห่งปะเทศไทยจํานวน 133,000 ต้น บริษัทฯจึงได้ดําเนินการแจกจ่ายต้นกล้าดังกล่าวให้กับเกษตรกร จํานวน 21 ราย รวมพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 60 ไร่ นอกจากนี้บริษัทฯได้ดําเนินการจัดทําแปลงทดลองปลูกพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมัน สําปะหลังเพื่อทําการทดสอบผลผลิตและเพิ่มจํานวนท่อนพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลังเพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย
บริษัทฯ ได้ริเริ่ม MODEL SMS 20R โครงการขยายพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร ปลูกพันธุ์ต้านทานโรคฯ เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสําปะหลัง และจากการเก็บผลการทดลองจากแปลงทดลองระบบน้ําหยด พบว่าผลผลิตหัวมันสําปะหลัง
· พันธุ์อิทธิ 1 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 7 – 8 ตัน/ไร่ เชื้อแป้งเฉลี่ย 25 – 27%
· พันธุ์อิทธิ 2 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3 – 4 ตัน/ไร่ เชื้อแป้งเฉลี่ย 16 – 19%
· พันธุ์อิทธิ 3 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4 – 5 ตัน/ไร่ เชื้อแป้งเฉลี่ย 19 – 22%
ทั้งนี้บริษัทฯ มีแผนส่งเสริมและผลักดันเร่งขยายกระจายสายพันธุ์ต้านทานทั้ง 3 สายพันธุ์ไปยังเกษตรกรให้ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมันสําปะหลังในจังหวัดชัยภูมิ ตามโครงการ MODEL SMS 20R พร้อมตั้งเป้าหมายให้จังหวัดชัยภูมิเป็นจังหวัดที่มีแหล่งพันธุ์มันสะอาดและปลอดจากการระบาดของโรคใบด่างมันสําปะหลังภายใน 5 ปี เพื่อเป็นจังหวัดนําร่องและเป็นตัวอย่างให้จังหวัดใกล้เคียงและจังหวัดอื่นๆได้นําไปเป็นแบบอย่างต่อไป
นอกจากนี้ บริษัท สยามควอลิตี้ สตาร์ช จํากัด หนึ่งในกลุ่มบริษัท เอส เอ็ม เอส ได้ดําเนินการ “ระบบสมาชิกชาวไร่” (Farmer Membership) มาต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 31 ปี ตลอดจนให้การสนับสนุนและให้ความรู้กระบวนการเพาะปลูก การเพิ่มผลผลิต และการเก็บเกี่ยวหัวมัน สําปะหลัง รวมถึงร่วมแก้ปัญหาโรคระบาดมันสําปะหลังมาอย่างต่อเนื่อง เรามีความเชื่อมั่นว่า “การร่วมมือกับเกษตรกรถือเป็นหัวใจสําคัญของ การพัฒนาอุตสาหกรรมแป้งมันสําปะหลังให้เดินไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน ดร.วีรวัฒน์กล่าว
กลุ่มบริษัท เอส เอ็ม เอส ก่อตั้งมากว่า 40 ปี เป็นผู้นําในการผลิตแป้งมันสําปะหลังดัดแปรคุณภาพสูงของประเทศ ไทยและของโลก ตอบสนองความ ต้องการของอุตสาหกรรมที่หลากหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเป็นผู้ริเริ่มนําแป้งมันสําปะหลังซึ่งเป็นสินค้าสําคัญทางการเกษตรมาดัด แปรผ่านการวิจัยและพัฒนาด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่แป้งมันสําปะหลัง เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อาหาร ยา กระดาษ สิ่งทอ กาว อาคารและสิ่งก่อสร้าง รวมถึงพลาสติกชีวภาพ ปัจจุบันกลุ่มบริษัท เอส เอ็ม เอส มีโรงงานผลิตแป้งมันสําปะหลังดัดแปรทั้งหมด 3 แห่ง ในจังหวัดปทุมธานี ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ ซึ่งมีกําลังการผลิตรวมประมาณ 400,000 ตันต่อปี กลุ่มบริษัท เอส เอ็ม เอส ในฐานะผู้นําใน อุตสาหกรรมยังคงมุ่งเน้นการเป็นส่วนหนึ่งของ สังคม สิ่งแวดล้อมและชุมชน เพื่อความเติบโตและพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน