ศศินทร์-SCGC-ธนาคารกสิกรไทย ร่วมปั้นสตาร์ตอัปในอนาคต ผ่านการแข่งขัน Bangkok Business Challenge @ Sasin 2025 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียธุรกิจตอบโจทย์สังคม

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin School of Management) หรือ
ศศินทร์ฯ สถาบันการจัดการระดับโลกที่ทำหน้าที่เสริมสร้างและสนับสนุนนิสิต นักศึกษา ให้กลายเป็นสตาร์ตอัปที่มีศักยภาพ ผ่านการจัดการแข่งขัน Bangkok Business Challenge @ Sasin 2025ที่จัดขึ้นต่อเนื่องปีที่ 23 โดยร่วมมือกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC และ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (Kbank) พันธมิตรสำคัญในการส่งเสริมแนวคิดธุรกิจสตาร์ตอัปของประเทศไทย วันนี้เราจะพาทุกคนไปถอดรหัสเกี่ยวกับการแข่งขันแนวคิดของธุรกิจสตาร์ตอัปภายใต้หัวข้อ “Growing Impactful Ventures” ที่ผลักดันแนวคิดด้านธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน และมีผลกระทบต่อสังคมถึงความสำคัญในโลกการทำธุรกิจ พร้อมทั้งบทบาทสำคัญของพันธมิตรสำคัญในการขับเคลื่อนการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นศศินทร์, SCGC และ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (Kbank)

เริ่มกันที่ ศาสตราจารย์ ดร. เอียน เฟนวิค ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ ที่มีการถ่ายทอดแนวคิดสำคัญในการจัดการแข่งขัน ความแตกต่าง และแนวทางการพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่ๆ

1.แข่งขัน Bangkok Business Challenge @ Sasin 2025 สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจของศศินทร์อย่างไร

ศศินทร์:การจัดการแข่งขัน Bangkok Business Challenge @ Sasin 2025 สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของศศินทร์อย่างชัดเจน เนื่องจากการแข่งขันนี้เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่สร้างแรงบันดาลใจ ให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่จากทั่วโลก เชื่อมโยงเครือข่ายของนักศึกษา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักลงทุน ที่มุ่งเน้นการสนับสนุนสตาร์ตอัปที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรมที่สำคัญต่ออนาคตของธุรกิจ นอกจากนี้การจัดการแข่งขันนี้ยังเป็นการการดำเนินงานภายใต้การอุปถัมภ์ของ Asian Family Enterprise & Entrepreneurship Center (AFEEC) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ที่ได้รับการประกาศใหม่ของศศินทร์ฯ นั่นคือ การเป็นสถาบันการจัดการชั้นนำระดับโลกสำหรับโลกแห่งอนาคต เรามุ่งมั่นที่จะสร้างผู้นำที่มีความรู้ความสามารถ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีจิตสำนึกต่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้นำในโลกอนาคต

2.การแข่งขันนี้มีบทบาทอย่างไรในการสร้างผู้นำทางธุรกิจรุ่นใหม่ในอนาคต

ศศินทร์:การแข่งขัน Bangkok Business Challenge @ Sasin 2025 มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างผู้นำทางธุรกิจรุ่นใหม่ เพราะเป็นเวทีบ่มเพาะทักษะที่สำคัญให้แก่สตาร์ตอัปรุ่นใหม่ ๆ นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางธุรกิจมาประยุกต์ได้ เนื่องจากนักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันจะได้สัมผัสประสบการณ์จริงในการเริ่มต้นธุรกิจ ตั้งแต่การระดมความคิด การทำงานเป็นทีม การเผชิญกับความท้าทาย และการรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นประสบ การณ์ที่มีค่าและไม่สามารถหาได้จากการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้การแข่งขันได้มุ่งเน้นไปที่ธุรกิจที่มีความยั่งยืนและนวัตกรรมเป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้าแข่งขันคิดค้นและพัฒนาแนวคิดธุรกิจใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด รวมถึงการได้รับคำแนะนำและแรงบันดาลใจจากผู้ทรงคุณวุฒิ เหล่านี้จะเป็นแรงผลักดันสำคัญให้ ผู้เข้าแข่งขันมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในอนาคตได้

3.ปัจจัยและคุณค่าที่ทำให้การแข่งขันนี้เป็นเวทีระดับโลกและเติบโตมายาวนานว่า 23 ปี

ศศินทร์:ปัจจัยที่ทำให้การแข่งขันเติบโตมายาวนานถึง 23 ปีนั้นประกอบด้วยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความมุ่งมั่นในการพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เป้าหมายหลักที่ชัดเจนของการแข่งขันคือการส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาที่มีศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการในอนาคต ความมุ่งมั่นนี้ไม่เคยเปลี่ยนแปลงและยังคงเป็นหัวใจสำคัญ นอกจากนี้การมีคณะกรรมการตัดสินที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ความโปร่งใสในการตัดสิน ทำให้การแข่งขันนี้ได้รับการยอมรับและความน่าเชื่อถือในระดับโลก รวมไปการมีเครือข่ายที่แข็งแกร่งเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าและเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้มีผู้เข้าร่วมและมีผู้สนใจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การสนับสนุนจากสถาบันและพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เช่น SCGC และ บมจ.ธนาคารกสิกรไทยทำให้การแข่งขันมีความมั่นคงและเติบโตได้อย่างยั่งยืน สุดท้าย คือ โอกาสในการเรียนรู้อย่างแท้จริง เพราะนอกเหนือจากการแข่งขันเพื่อชิงรางวัลแล้ว เรายังมอบโอกาสอันล้ำค่าให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้พัฒนาตนเอง ดังนั้น Bangkok Business Challenge @ Sasin จึงนับว่าเป็นเวทีแห่งการเรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจที่มุ่งมั่นในการพัฒนาผู้นำทางธุรกิจรุ่นใหม่ที่จะสร้างสรรค์โลกที่ดีขึ้น  ในอนาคต

พูดคุยกันต่อกับเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC หน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับแนวคิดธุรกิจที่ยั่งยืน และผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขันครั้งนี้

1.แนวคิดธุรกิจที่ SCGC มองหาจากนิสิต-นักศึกษา ที่เข้าแข่งขัน Bangkok Business Challenge @ Sasin ในครั้งนี้

SCGC: ดร. สุรชา อุดมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานปฏิบัติการและนวัตกรรม SCGC กล่าวว่า เรามุ่งมั่นสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันที่สามารถตอบโจทย์เมกะเทรนด์ควบคู่ไปกับความยั่งยืน การแข่งขันในเวทีนี้ถือว่าเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพ และนำเสนอแนวคิดที่สามารถต่อยอดสู่การสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้จริง ดังนั้นเราจึงมองหาแนวคิดที่ไม่เพียงแค่สร้างธุรกิจใหม่ แต่ต้องสามารถเสริมศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการขับเคลื่อนจากนวัตกรรม เทคโนโลยี และความเข้าใจในแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างแท้จริง

2.ตัวอย่างโครงการที่ SCGC ได้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมของสตาร์ตอัป

SCGC:สำหรับโครงการที่สะท้อนบทบาทของ SCGC ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและโซลูชันเชิงพาณิชย์ คือโครงการ Wake Up Waste สตาร์ตอัปด้านการจัดการขยะรีไซเคิลที่พัฒนาโดย SCGC เพื่อเสริมประสิทธิภาพระบบรีไซเคิล และสนับสนุนการหมุนเวียนทรัพยากรให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังมี CERT+สตาร์ตอัปที่นำนวัตกรรมการสำรวจระยะไกลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้ในการตรวจวัดคาร์บอนเครดิตจากป่าไม้ และบริหารจัดการการปลูกป่าอย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ รองรับการเติบโตของตลาดคาร์บอนเครดิตในอนาคต อย่างไรก็ตามทั้งสองโครงการสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางของ SCGC ในการสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์เมกะเทรนด์โลก และสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกอย่างเป็นรูปธรรม ตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร

3.สตาร์ตอัปที่ประสบความสำเร็จในมุมมองของ SCGC ต้องเป็นอย่างไร

SCGC:สตาร์ตอัปที่ประสบความสำเร็จในมุมมองของเรา ต้องสามารถผสานความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และความเข้าใจในเมกะเทรนด์ เพื่อพัฒนาโซลูชันที่สามารถขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง พร้อมทั้งรักษาความยั่งยืนเป็นหัวใจของการเติบโต ไม่ใช่เพียงเพื่อผลลัพธ์ในระยะสั้น แต่เพื่อสร้างคุณค่าในระยะยาวให้กับโลกใบนี้

ปิดท้ายกันด้วย บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (Kbank) ฟันเฟืองสำคัญอีกหนึ่งหน่วยงานในการจัดการแข่งขันแนวคิดธุรกิจที่ยั่งยืนในครั้งนี้

1.การแข่งขันนี้จะช่วยส่งเสริมระบบนิเวศสตาร์ตอัปในประเทศไทยอย่างไร

Kbank: นายรวี อ่างทอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบูรณาการความยั่งยืนองค์การ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การแข่งขัน Bangkok Business Challenge @ Sasin 2025ภายใต้แนวคิด “Growing Impactful Ventures” เป็นการจัดการแข่งขันสตาร์ตอัปในระดับนานาชาติ ที่มีส่วนสำคัญและเป็นกำลังในการช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ สร้างสรรค์ให้เกิดแพลตฟอร์มและนวัตกรรม ของการลงทุนและการเป็นผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน โดยประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้าด้วยกัน ส่งผลให้เกิดสตาร์ตอัปที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว เรามองว่าสิ่งเหล่านี้จะสามารถสร้างแรงจูงใจให้แก่นักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามาลงทุนในประเทศ รวมไปถึงการมีความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอันนำไปสู่การสร้าง Ecosystem ที่ยั่งยืน

2.ตัวชี้วัดของ บมจ. ธนาคารกสิกรไทยที่ใช้ในการประเมินความสำเร็จของโครงการสตาร์ตอัปที่เน้นความยั่งยืน

Kbank:ความสำเร็จและมูลค่าของโครงการที่ส่งผลชัดเจนเป็นรูปธรรม เรามองว่าผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้เทคโนโลยีที่สามารถสร้างนวัตกรรม เพื่อตอบสนองตลาดได้อย่างดี ควบคู่ไปกับการดำเนินการตามแนวทางความยั่งยืนมีแผนการที่เป็นไปตามกลยุทธ์ แนวทางที่กำหนดไว้และการกำหนดตัววัดผลตาม Deliverable ที่สามารถส่งต่อให้เกิดกระบวนการผลิต การตลาด ยอดขาย ภาพลักษณ์ในสายตาผู้บริโภค และสุดท้ายคือการทำ CRM เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับตลาดและลูกค้า เพื่อการต่อยอดธุรกิจในอนาคต

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม https://bbc.sasin.edu/2024และ FacebookPage: Bangkok Business Challenge หรือ www.facebook.com/bangkokbusinesschallenge