CLP GROUP ภายใต้วิสัยทัศน์ของ วัชรา ลี้โกมลชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท CLP เน้นการพัฒนาเกษตรกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการสนับสนุนการปูพื้นฐานการศึกษาและการวิจัย ร่วมกับภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีผลต่อการยกระดับผลผลิตทางการเกษตรและความยั่งยืนในอนาคต
ในปี 2567 ธุรกิจของ CLP เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยรายได้รวมเพิ่มขึ้นถึง 400% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตนี้คือการพัฒนาการจำหน่ายเครื่องจักรกลทางการเกษตร ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่มีความต้องการสูงในการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรและการใช้เทคโนโลยีในการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
CLP มีแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจนสำหรับปี 2568-2569 ที่จะมุ่งขยายฐานลูกค้าและตลาดไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา นอกจากนี้ CLP ยังมุ่งเน้นการขยายการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรจากกลุ่มเกษตรกรชุมชนไปยังเกษตรกรในระดับย่อย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเช่น DEPA และ สวก. เพื่อพัฒนานวัตกรรมและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เกษตร
CLP ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกษตรกรและชุมชน ผ่านการสร้างศูนย์การเรียนรู้ “สวนพี่แดง” ที่มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้แก่เกษตรกรและผู้บริโภคเกี่ยวกับกระบวนการปลูก-แปร-ปรุง ผลิตภัณฑ์เกษตร ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการผลิตที่ยั่งยืน ศูนย์แห่งนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเกษตรกร ยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และเข้าใจเทคโนโลยีที่ใช้ในการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ
สวนพี่แดง มีความสำคัญทั้งในแง่ของการปลูกพืชที่ใช้วิธีการเกษตรที่ยั่งยืน รวมถึงการทำฟาร์มและสวนที่มีการใช้ เทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) เช่น การใช้ระบบน้ำหมุนเวียนหรือการใช้พลังงานจากธรรมชาติ เพื่อให้สวนสามารถดำเนินกิจการได้อย่างยั่งยืน
อีกหนึ่งโครงการสำคัญของ “สวนพี่แดง” คือ ค่าย Green Academy Leader โดยมุ่งเป้าหมายผู้เข้าร่วมทั้งจากกลุ่มเกษตรกร เยาวชน และองค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะได้เรียนรู้เทคนิคสร้างความยั่งยืน จาก สวนพี่แดง เช่น การศึกษาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างรายได้จากการเกษตรอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมด้านการใช้เทคโนโลยีในการเกษตร ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และ สร้างรายได้อย่างยั่งยืน
สำหรับ เกษตรกร การเข้าร่วมโครงการนี้จะช่วยให้สามารถปรับปรุงและพัฒนาวิธีการทำการเกษตรของตนให้ทันสมัยและยั่งยืนมากขึ้น ในขณะที่ เยาวชน ผู้เข้าร่วมจะได้รับความรู้และแรงบันดาลใจในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และอาจพัฒนาเป็นผู้นำในอนาคตที่มีความรู้ด้านการเกษตรที่ยั่งยืน ส่วน องค์กร หรือ บริษัทต่าง ๆ ที่เข้าร่วมจะได้เรียนรู้วิธีการนำ หลักการเกษตรยั่งยืน ไปปรับใช้ในธุรกิจของตน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับองค์กรและสังคม ซึ่งจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในไตรมาส 4 ปีนี้
โดยโครงการ Green Academy Leader และ “สวนพี่แดง” จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืนและการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งหวังที่จะสร้าง ผู้นำ ที่มีความรู้และความรับผิดชอบในการพัฒนาเกษตรกรรมไทยให้เติบโตในทิศทางที่เป็นมิตรกับธรรมชาติและสังคม
นอกเหนือจากนี้กลุ่มบริษัท ซี แอล พี (CLP Group) ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและการศึกษาวิจัยด้านการเกษตร โดยเฉพาะเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและนวัตกรรมเกี่ยวกับข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ ผ่านการมีส่วนร่วมในโครงการ “AGRITHON by ARDA Season 2” ซึ่งจัดโดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ ARDA ร่วมกับพันธมิตรภาคเอกชนรายใหญ่ สำหรับปีนี้ CLP Group ได้ทำการสนับสนุนโครงการนี้อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แล้ว โดยรับหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนหลักในหมวด Post-Harvesting & Future Rice ซึ่งมุ่งหวังผลักดันให้เกิดการต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ และส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและรายได้อย่างยั่งยืน ย้ำถึงบทบาทของ CLP ในการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเครื่องจักรเกษตร พร้อมเปิดโอกาสให้เยาวชน นักวิจัย และเกษตรกรรุ่นใหม่จากทั่วประเทศ ได้ร่วมแสดงศักยภาพและแข่งขันเพื่อชิงทุนสนับสนุนรวมกว่า 100 ล้านบาท เพื่อพัฒนาแนวคิดให้กลายเป็นนวัตกรรมที่ใช้ได้จริงในอนาคต
ในเรื่องการพัฒนานวัตกรรมทางการเกษตรและเครื่องจักรกลทางการเกษตรของ CLP เป็นการตอบโจทย์การยกระดับวิถีชีวิตของเกษตรกร ผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มคุณภาพและเพิ่มรายได้ ดังนั้นจึงต้องเป็นการใช้เครื่องจักรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะช่วยลดการใช้ทรัพยากรและช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น โดยเฉพาะในปีนี้ได้มีการพัฒนาเครื่องโม่แป้งที่จะเปิดตัวในไตรมาสที่ 3 ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เกษตร
ทางกลุ่มบริษัท ซี แอล พี (CLP Group) วางกลยุทธ์มุ่งการเติบโตระยะยาวด้วยการขยายตลาดไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา โดยเน้นการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ในกลุ่มเกษตรกรรายย่อย พร้อมพัฒนาโครงการ Smart Farmer เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีเพื่อทุกคน” CLP มุ่งสร้างระบบที่เปิดโอกาสให้ชุมชนทุกระดับสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีโดยไม่ต้องลงทุนสูง หนึ่งในโครงการสำคัญคือ โครงการ “ข้าวพันธุ์ชั่ง” โรงสีอัตโนมัติซึ่งให้บริการสีข้าวในชุมชนผ่านระบบ QR CODE โดยบริษัทเป็นผู้ลงทุนในเครื่องจักรและดูแลบำรุงรักษา ขณะที่ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อสร้างรายได้ ลดต้นทุน และแบ่งรายได้กับบริษัทตามข้อตกลง โครงการนี้ช่วยให้ชุมชนเริ่มต้นใช้เทคโนโลยีได้ทันทีโดยไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงด้านต้นทุน ทั้งยังสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นศูนย์การเรียนรู้ในอนาคต โดย CLP ตั้งเป้าหมายเปิดจุดให้บริการครบ 100 จุดทั่วประเทศภายในปี 2025 ครอบคลุมกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชน โรงเรียน วัด และกองทุนหมู่บ้านที่มีศักยภาพ
เกี่ยวกับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนในมุมมองของ CLP มีหลักการสำคัญสามประการ ได้แก่ เศรษฐกิจ, สังคม, และสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า 3 Pillars ที่ช่วยสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนและมีความสมดุลในระยะยาว การพัฒนาเกษตรกรรมที่ไม่เพียงแต่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียน และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ด้วยการพัฒนานวัตกรรมและกลยุทธ์ที่เน้นการขยายตลาดไปยังต่างประเทศและการพัฒนาเกษตรกรรมภายในประเทศอย่างยั่งยืน CLP ตั้งใจที่จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการเกษตรและเครื่องมือทางการเกษตร ที่สามารถพัฒนาเกษตรกรรมไทยให้แข็งแกร่งและยั่งยืนทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ทาง CLP Group มุ่งมั่นขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านโครงการ “Together We Rise” โดยยึดหลักการเริ่มต้นจาก “จุดศูนย์กลางของชุมชน” อย่างโรงเรียนและวัด ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้และหล่อหลอมคุณค่าทางสังคม โครงการนี้เน้นการเสริมสร้างศักยภาพด้านการศึกษา เกษตรกรรม และคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับฐานราก
โดยในปี 2025 CLP ตั้งเป้ามอบ เครื่องสีข้าวให้แก่โรงเรียนและชุมชนจำนวน 20 แห่ง เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้และเครื่องมือประกอบอาชีพ พร้อมทั้ง มอบวัวให้กับชุมชนอีก 15 แห่ง เพื่อสนับสนุนการสร้างรายได้และความมั่นคงทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น กิจกรรมที่ผ่านมา เช่น การส่งมอบเครื่องสีข้าวให้กับโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา และการมอบวัวให้กับเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด รวมถึงวัดในจังหวัดอ่างทอง ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโอกาสให้ชุมชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและทรัพยากรที่จำเป็น โดยไม่ต้องลงทุนเอง
ซึ่งทาง CLP เชื่อว่าการยกระดับชุมชนอย่างยั่งยืน ต้องเริ่มจากการเสริมพลังให้คนในพื้นที่มีเครื่องมือ มีความรู้ และมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
สำหรับงาน Farm Expo 2025 : Empowering A Better Life ในปีนี้ ถูกจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการ ร่วมถึงผู้คนผู้สนใจ ผ่านการนำเสนอ Total Solution ที่ครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูก การแปรรูป การปรุง และการขาย เพื่อยกระดับเกษตรกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยภายในงานปีนี้ CLP จะมีการมอบรางวัล CLP Awards ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมและการพัฒนาในด้านเกษตรกรรม ผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการผลิต
งานนี้ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงถึงความสำเร็จในอุตสาหกรรมเกษตรกรรม แต่ยังเป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ที่มีความสนใจในเทคโนโลยีทางการเกษตร ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาและขยายธุรกิจเกษตรกรรมในอนาคต
CLP ได้สร้าง Ecosystem ที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพจากแหล่งผลิตเกษตรกรไทยไปจนถึงมือผู้บริโภค โดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในกระบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นแนวทางของแบรนด์ Sisod ภายใต้การบริหารของ CLP Group ที่ตั้งเป้าหมายตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่มองหาผลิตภัณฑ์สดใหม่ มีคุณภาพ และเชื่อถือได้ โดยเริ่มต้นจากการคัดสรรวัตถุดิบที่ได้รับการรับรองมาตรฐานและการสนับสนุนเกษตรกรไทยที่ปฏิบัติการเกษตรยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงแค่ให้ราคาที่เป็นธรรมแก่เกษตรกร แต่ยังช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีความสดใหม่และคุณภาพสูงในทุกขั้นตอนของการผลิต
โดย Sisod ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น ข้าวสีสดใหม่, ไอศกรีมข้าว และน้ำนมข้าว ซึ่งทุกผลิตภัณฑ์ล้วนพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งกลุ่มลูกค้า B2B และ B2C ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังคำนึงถึงการผลิตที่ปลอดภัยและยั่งยืนระยะยาว ทั้งในด้านสุขภาพของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น น้ำนมข้าวที่สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น แต่ยังคงรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการอย่างเต็มเปี่ยม ซึ่ง Sisod จะมุ่งเน้นเป็นผลิตภัณฑ์หลักในปีนี้ เพื่อรองรับกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดย Sisod ตั้งเป้าหมายยอดขายในปี 2568 ที่ 100 ล้านบาท โดยการเติบโตนี้จะมาจากการพัฒนาและขยายตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการผลิตที่เพิ่มขึ้นและการขยายกลุ่มลูกค้าในช่องทางต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่หลากหลาย การเพิ่มกำลังการผลิตจะคำนึงถึงความต้องการของตลาดและการรักษาคุณภาพสินค้าที่มีมาตรฐานสูง และเพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาอย่างพิถีพิถัน
นอกจากนี้ การตลาดที่มุ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของข้าวสดใหม่และผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นและความภักดีจากลูกค้า ซึ่งการบรรลุเป้าหมายยอดขาย 100 ล้านบาทในปี 2568 จึงไม่เพียงแค่เป็นตัวเลข แต่ยังสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้บริโภคและการเติบโตอย่างยั่งยืนของแบรนด์ อีกด้วย