กรุงเทพ,- ในงาน อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรัม (Intel Developer Forum – IDF) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองซานฟรานซิสโก แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สองผู้บริการจากอินเทล คอร์ปอเรชั่น คือ มร.บิล ซิว และ มร.ไมค์ ฟิสเตอร์ ได้กล่าวคำปราศรัยในงานโดยชี้ให้เห็นว่า ความหลากหลายของคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์อินเทล ตั้งแต่ระดับเครื่องลูกข่ายไปจนถึงแบ็กเอ็นด์เซิร์ฟเวอร์นั้น ช่วยให้องค์กรสามารถรองรับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงต่างๆ อย่างดีเยี่ยมในธุรกิจทุกขนาดได้อย่างไร
มร.บิล ซิว รองประธานและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มแพลตฟอร์มเดสก์ท้อปของอินเทล เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ “ดิจิตอล ออฟฟิศ” ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของอินเทลเพื่อเพิ่มผลผลิตและความคล่องตัวในด้านการประมวลผลที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้น อินเทลได้รับการยอมรับเป็นพิเศษในฐานะผู้ผลิตแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักซึ่งให้ให้สมรรถนะที่ตรงกับความต้องการขององค์กร ตลอดจนมีคุณสมบัติในการทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ คุณสมบัติด้านการทำงานแบบไร้สาย ด้านความปลอดภัย และด้านการจัดการ
“ดิจิตอล ออฟฟิศ” คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจต่างๆ และแผนกไอทีโดยมุ่งเน้นถึงความต้องการของทั้งคู่ อินเทลได้ปูทางให้องค์กรต่างๆ นำไอทีมาเป็นสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์โดยได้มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีมากมายที่สนับสนุนวิสัยทัศน์นี้
นวัตกรรมสำหรับดิจิตอล ออฟฟิศ
มร.ซิว ยังเปิดเผยถึงเทคโนโลยีแพล็ตฟอร์มที่สามารถทำงานข้ามระบบที่แตกต่างกันได้ ซึ่งอินเทล อินเทลกำลังพัฒนาและส่งออกสู่ตลาดอยู่ในขณะนี้เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ของตนเกี่ยวกับดิจิตอล ออฟฟิศ คอมพิวเตอร์ที่ใช้อินเทล? เพนเทียม? โฟร์ โปรเซสเซอร์ ที่สนับสนุนเทคโนโลยีไฮเปอร์-เธรดดิ้ง ซึ่งใช้เทคโนโลยีกระบวนการผลิตระดับชั้นนำของอุตสาหกรรมขนาด 90 นาโนเมตร (ชื่อรหัสเดิมคือ Prescott) และชิปเซ็ตรุ่นใหม่ของบริษัทซึ่งมีชื่อรหัสว่า Grantsdale เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยวางรากฐานให้กับดิจิตอล ออฟฟิศ
เทคโนโลยีไฮเปอร์-เธรดดิ้ง ให้สมรรถนะที่เยี่ยมยอดในการสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์มืออาชีพที่ต้องการใช้งานกับแอพพลิเคชั่นที่ซับซ้อนหลายตัวพร้อมๆ กัน ในอนาคต เทคโนโลยีไฮเปอร์-เธรดดิ้ง จะมีเทคโนโลยีมัลติ-เธรดดิ้ง ตามมา โดยรวมรูปแบบโปรเซสเซอร์ใหม่ที่มีแกนคู่ (ซิลิคอนแต่ละชิ้นต้องมีโปรเซสเซอร์ 2 ตัว)
นอกจากสมรรถนะของเทคโนโลยีที่สูงขึ้นแล้ว รูปแบบใหม่ของเดสก์ท้อปก็เริ่มจะมีมาให้เห็นกันแล้ว อินเทลได้วางแผนที่จะเปิดตัว Balanced Technology Extended หรือ BTX ซึ่งเป็นข้อกำหนดจำเพาะของรูปแบบเดสก์ท้อปแนวใหม่ที่มีการกำหนดขนาดและและการจัดวางชิ้นส่วนของมาเธอร์บอร์ด BTX จะช่วยให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์สามารถนำข้อกำหนดจำเพาะที่เป็นมาตรฐานดังกล่าวมาใช้ในการผลิตคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่มีสมรรถนะสูงในขนาดที่เล็กกระทัดรัดสำหรับดิจิตอล ออฟฟิศ ได้เป็นครั้งแรก
ในด้านความปลอดภัยของการประมวลผลนั้น อินเทลวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีไฮเปอร์-เธรดดิ้ง รุ่นใหม่ซึ่งเรียกว่า “No Execute” (NX) สำหรับปกป้องหน่วยความจำ และเทคโนโลยีที่มีชื่อรหัสว่า LaGrande (LT) เพื่อสร้างระบบรักษาความปลอดภัยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
คุณสมบัติของ NX ซึ่งมีอยู่ในอินเทล? ไอเทเนียม? ทู โปรเซสเซอร์ สำหรับเซิร์ฟเวอร์ จะถูกนำมาใส่ไว้ในโปรเซสเซอร์สำหรับเดสก์ท้อปในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2547 เทคโนโลยี Vanderpool (VT) ซึ่งเป็นชื่อรหัสของ ชุดฮาร์ดแวร์เพื่อเพิ่มสมรรถนะให้กับโปรเซสเซอร์และชิปเซ็ต ซึ่งจะส่งผลให้แพล็ตฟอร์มมีประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้และสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็วกรณีที่ระบบมีปัญหาเกิดขึ้น คาดว่า เทคโนโลยี Vanderpool จะทำให้ระบบการประมวลผลในออฟฟิศมีความสามารถด้านการจัดการได้มากขึ้น และถ้าหากนำมาใช้กับซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมแล้ว เทคโนโลยี Vanderpool จะทำให้เกิดลักษณะการทำงานที่หลากหลายและเป็นอิสระ (ที่เรียกว่า partitions) ภายในคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
แพล็ตฟอร์มที่สมดุล ซึ่งเกิดจากผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่าเดิมเมื่ออินเทลนำคุณสมบัติใหม่ๆ มารวมอยู่ในซิลิคอนระดับชั้นนำสำหรับเดสก์ท้อป จึงต้องมีเทคโนโลยีใหม่ๆ จากอินเทลตามมาอีกเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในส่วนแบ็คเอ็นด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานของดิจิตอล ออฟฟิศ
มร. ไมค์ ฟิสเตอร์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มแพล็ตฟอร์มสำหรับเอ็นเตอร์ไพรส์ ของอินเทล กล่าวว่า เซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชั่นที่มีระบบการทำงานที่สมดุล ซึ่งใช้เทคโนโลยีแพล็ตฟอร์มล่าสุด คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้โซลูชั่นองค์กรมีสมรรถนะที่เชื่อถือได้ มีความเสถียรและมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
โปรเซสเซอร์ในตระกูล ไอเทเนียม ทู ได้รับการตอบรับจากตลาดสูงขึ้นมากในปี 2546 โดยอินเทลได้จัดส่งโปรเซสเซอร์รุ่นนี้ให้แก่ผู้ผลิตกว่า 50 แห่งทั่วโลกไปแล้วกว่า 100,000 ตัว ระบบที่ใช้ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ สามารถใช้งานกับแอพพลิเคชั่นจำนวนกว่า 1,000 ชนิด บนระบบปฏิบัติการหลายระบบได้ อินเทลยังคงสร้างนวัตกรรมด้านสถาปัตยกรรมชั้นเยี่ยมในระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมด้วยแผนที่จะเพิ่มสมรรถนะของโปรเซสเซอร์ในตระกูล อินเทล? ซีออน? โปรเซสเซอร์ ให้มากกว่าเดิมได้สูงสุดถึงสองเท่าในราคาแพล็ตฟอร์มที่พอๆ กันได้ภายในปี 2550
นอกจากนี้ อินเทลยังได้เผยโฉมไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่สำหรับเครื่องที่ใช้โปรเซสเซอร์คู่ ในปี 2547 นี้ บริษัทได้เตรียมจัดส่งอินเทล ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ ความเร็ว 1.4 กิกะเฮิร์ตซ์และ1.6 กิกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งทั้งคู่มีแคชขนาด 3 เมกะไบต์ ตามด้วยโปรเซสเซอร์ที่มีชื่อรหัสว่า Millington ในปีหน้า ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ตัวแรกที่มีหลายแกนสำหรับเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชั่นที่ใช้โปรเซสเซอร์คู่ มีชื่อรหัสว่า Dimona จะเปิดตัวตามหลัง Millington
ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ แบบสองแกนตัวแรกมีชื่อรหัสว่า Montecito มีกำหนดเปิดตัวในปี 2548 และจะมีชิปเซ็ตเจนเนเรชั่นที่สามของอินเทลที่ช่วยเพิ่มสมรรถนะสูงสุดให้กับไอเทเนียมโปรเซสเซอร์ ภายใต้ชื่อรหัสว่า Bayshore เป็นตัวสนับสนุน Bayshore จะทำให้ฟรอนท์ไซด์บัสทำงานได่เร็วขึ้นและสามารถใช้กับ PCI Express และหน่วยความจำแบบ DDR2 ได้ นอกจากนี้ อินเทลยังได้แนะนำเทคโนโลยีใหม่ที่จะใช้กับ Montecito เพื่อทำให้การทำงานของแคชไว้ใจได้ มีสมรรถนะสูงเพื่อรองรับปริมาณงานมากๆ ได้ เทคโนโลยีเหล่านี้มีชื่อรหัสว่า Pellston และ Foxton ตามลำดับ
อินเทลยังได้เปิดตัว อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ความเร็ว 3.2 กิกะเฮิร์ตซ์ ที่มีแคชใหญ่ขึ้นเป็น 2 MB ทำให้สมรรถนะของโปรเซสเซอร์ดีกว่าอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ รุ่นก่อนหน้านี้ สำหรับซีออน โปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่ซึ่งมีชื่อรหัสว่า Nocona มีกำหนดออกสู่ตลาดในราวครึ่งปีแรกของปี 2547 และจะมีการจัดส่งรุ่นความเร็ว 3.6 กิกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งมีฟรอนท์ไซด์บัสขนาด 800 เมกะเฮิร์ตซ์และสนับสนุนหน่วยความจำ DDR2, PCI Express, และเทคโนโลยี 64 บิต
สำหรับเซิร์ฟเวอร์ในระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์นั้น อินเทลได้เปิดตัวเบลดเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ที่ใช้โปรเซสเซอร์ 4 ตัว คือ Intel? Server Compute Blade SBX44 ซึ่งใช้อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ เอ็มพี โดยอินเทลได้ร่วมกับไอบีเอ็มสร้างเบลดเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่นี้ขึ้น นอกจากนี้อินเทลยังได้เปิดตัวชิปเซ็ต Intel? E7210 ซึ่งมีประสิทธิภาพที่วางใจได้ยิ่งขึ้นสำหรับเซิร์ฟเวอร์ในระดับเริ่มต้นซึ่งใช้เพนเทียม โฟร์ โปรเซสเซอร์ เพื่อช่วยสร้างธุรกิจขนาดเล็กให้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
เทคโนโลยีใหม่ๆ จะยังคงเป็นตัวผลักดันให้ระบบเอ็นเตอร์ไพรซ์สามารถทำงานได้อย่างสอดคล้อง ลงตัวยิ่งขึ้น เทคโนโลยีใหม่ดังกล่าวได้แก่ fully-buffered DIMM (FB-DIMM), DDR2, และ PCI Express
ตัวอย่างของนวัตกรรมที่เป็นแรงผลักดันอุตสาหกรรมนี้ เป็นผลงานของบริษัท เดลล์ คอมพิวเตอร์ คอร์ปอเรชั่น เอชพี อินเทล และเอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น ซึ่งได้ออกมาประกาศข้อกำหนดจำเพาะของ Intelligent Platform Management Interface (IPMI) เวอร์ชั่น 2.0 เพื่อทำให้คุณสมบัติด้านการจัดการดียิ่งขึ้น มีระบบรักษาความปลอดภัยดีขึ้น และช่วยลดต้นทุน นอกจากนี้ยังมีบริษัทอีกกว่า 12 แห่งที่ร่วมกับอินเทล เดลล์ และเอชพี ในการจัดตั้ง Memory Implementers Forum ซึ่งเป็นชุมชนออนไลน์แห่งใหม่สำหรับบริษัทต่างๆ ที่ต้องการแบ่งปันข้อมูลกันเพื่อสร้างพัฒนาเทคโนโลยีหลักๆ ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น เช่น DDR2 และ FB-DIMM
รายละเอียดเกี่ยวกับงานไอดีเอฟ
อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรัม เป็นงานแสดงด้านเทคโนโลยีประจำปีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ซึ่งจัดขึ้นสำหรับนักพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ งานไอดีเอฟ เป็นเวทีที่บริษัทชั้นนำในวงการมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ล่าสุดที่เกี่ยวข้องกับพีซี เซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร และอุปกรณ์พกพาต่างๆ ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานไอดีเอฟ และเทคโนโลยีต่างๆ ของอินเทลได้ที่ http://developer.intel.com
อินเทลเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้นำในการผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ระบบเครือข่าย และอุปกรณ์สื่อสาร ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทอินเทล ได้ที่เว็บไซต์ http://www.intel.com/pressroom
* Intel และ Pentium เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของอินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์ ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ